ห้องเม่าปีกเหล็ก

รู้เท่าทัน D/E กับหุ้น Top 10 ความเสี่ยงต่ำ

โดย Financial Investor
เผยแพร่ :
244 views

เพื่อนๆ นักลงทุนเวลาจะเลือกหุ้นเข้าพอร์ต ย่อมต้องวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของบริษัท ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ คือ อัตราส่วนทางการเงินสัดส่วนหนี้สินต่อหุ้น D/E หรือ Debt to Equity ratio ที่นักลงทุนน่าจะคุ้นเคยและรู้จักกันเป็นอย่างดี และแม้แต่นายธนาคารก็ใช้อัตราส่วนนี้เอง ในการพิจารณาวงเงินเครดิตสินเชื่อด้วยเช่นกัน เช่น บางธุรกิจที่มีสัดส่วนค่า D/E มากกว่า 4 เท่า จะขอวงเงินสินเชื่อกู้จะยากมากขึ้น   

แล้วนักลงทุนวิเคราะห์ดูค่า D/E ในการเลือกหุ้นยังไงดีล่ะ ?

 

D/E คืออะไร ?

เป็นสัดส่วนหนี้สิน (เงินกู้) หารด้วย ส่วนของผู้ถือหุ้น (ส่วนเงินของเจ้าของ) ดังนั้น บริษัทที่มี D/E ยิ่งต่ำจะยิ่งดี เช่น D/E มากกว่า 1 เท่า ใช้พิจารณาความเสี่ยงทางการเงิน ยิ่งมีค่าสูง บริษัทก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้น โอกาสที่เจ้าหนี้จะให้กู้ก็น้อยลง

 

 

ข้อสังเกตของ D/E

จากตารางกลุ่มอุตสาหกรรม D/E ของกลุ่มค้าปลีก (Consump) จะมีอัตราส่วนค่าที่ต่ำกว่ากลุ่มการเงิน (Fincial) ดังนี้ 

ธุรกิจค้าปลีก อาทิ CPALL, BIGC, MAKRO ธุรกิจกลุ่มนี้มักจะมีหนี้สินเป็นส่วนมาก แถมยังเป็นหนี้สินประเภทหมุนเวียน ซึ่งบริษัทจะไม่ค่อยซีเรียสนัก เพราะหนี้ในส่วนนี้มักเป็นรายการเจ้าหนี้การค้า หรือ หนี้ชั้นดี นั้นเอง เนื่องจากว่าไม่มีอัตราดอกเบี้ย ดังนั้นการวิเคราะห์ควรจะนำหนี้สินระยะยาวที่มีอัตราดอกเบี้ยมาคำนวณใน D/E แทน 

 

แต่สำหรับธุรกิจธนาคารและประกันชีวิต กลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้มักจะมีค่า D/E ที่สูงประมาณ  7-10 เท่า เพราะว่าลักษณะของธุรกิจเป็นการก่อหนี้ด้วยการรับเงินฝาก หรือรับเบี้ยรับเป็นรายปี เพื่อจะนำเงินไปปล่อยกู้หรือลงทุนต่อไป โดยปกติกลุ่มนี้มักจะใช้ Camels Ratio ในการพิจารณามากกว่า

 

Top 10 หุ้น D/E ต่ำใน SET 50 (ข้อมูล 3/10/59)

 

สรุป 

การเลือกหุ้นความเสี่ยงต่ำ โดยพิจารณาจากค่า D/E โดยเฉลี่ยปกติแล้ว ไม่ควรเกินกว่า 2 เท่า หรือง่ายๆ หนี้สินไม่ควรมากกว่าส่วนทุนเจ้าของเกิน 2 เท่า ไม่อย่างงั้นเวลาเจอวิกฤตธุรกิจ บริษัทจะมีปัญหาด้านสภาพคล่องได้ จนนำซึ่งปัญหาบริษัทล้มละลายหรือต้องปิดกิจการลง ! 

หากบริษัทใดมี D/E สูงมากกว่า 2 เท่า ย่อมจะยิ่งมีความเสี่ยงมากกว่า แล้วทำให้กู้เงินจากธนาคารยากเพิ่มขึ้น หากมีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียน ยังเสี่ยงโดนเรียกเพิ่มทุน และยังเสี่ยงเจ๊งอีกด้วย แต่ยังไงก็ตาม นักลงทุนต้องดูงบการเงินอย่างอื่นประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็น รายได้, กำไรสุทธิ, EBITDA, Net Profit Margin เป็นต้น 

 

 

ขอบคุณแหล่งข้อมูล : SETSMART, ASPEN, หนังสือ 100 คำตอบต้องรู้ดูหุ้นพื้นฐาน (ของคุณนิ้วโป้ง Fundamental VI)

หมายเหตุ : ข้อมูลในนี้เป็นข้อมูลไว้ใช้ในการประกอบการตัดสินใจลงทุนเท่านั้น เป็นทัศนะความคิดส่วนตัวของผู้เขียนเอง มิได้มีวัตถุประสงค์เชิญชวนหรือชี้นำหลักทรัพย์โดยเฉพาะแต่อย่างใด โดยที่ข้อมูลนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ภายหลังวันดังกล่าวนี้

 

..............................
คอร์ส "ติวหุ้น วีไอ by นิ้วโป้ง" เลือกหุ้นดี ดูฟันโฟล์ว อ่านงบการเงินเป็น วาง Portfolio ขุดหุ้น Good Stock และ Good Price วัดมูลค่าหุ้น ผมสอนเอง 2 วันเต็มอย่างเข้มข้น เสาร์-อาทิตย์ 8-9 ต.ค.นี้ ที่ Stock2morrow สีลมคอมเพล็กซ์ สนใจ คลิกนะ http://www.stock2morrow.com/course/seminar_courses_list.php?id=3 

 


Financial Investor