ห้องเม่าปีกเหล็ก

คอนโดมิเนียม...“ซื้อ” หรือ “เช่า” ดีกว่ากัน

โดย poomai
เผยแพร่ :
74 views

คอนโดมิเนียม...“ซื้อ” หรือ “เช่า” ดีกว่ากัน

 

 

ในยุคที่คอนโดมิเนียบูมมากๆ มักจะได้ยินคำพูดประโยคที่ว่า “ซื้อดีกว่าเช่า” หรือไม่ก็ “ผ่อนแบงก์เท่ากับเช่า” เพื่อปลุกกระแสให้คนเห็นว่า การเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในปัจจุบันไม่ยาก และอัตราการผ่อนก็ใกล้เคียงกับค่าเช่าหอพักหรืออพาร์ทเมนท์เลย โดยเฉพาะคอนโดฯ ต่ำกว่าล้านใกล้ๆ แหล่งงาน และสถานศึกษา ซึ่งผ่อนแบงก์ก็ใกล้เคียงกับค่าเช่าเลยทีเดียว ในขณะเดียวกันเมื่อราคาคอนโดมิเนียเริ่มแพงขึ้นมากและจับต้องได้ยากขึ้น ประโยคซื้อดีกว่าเช่า ก็ดูเหมือนจะมีพลังน้อยลง

สำหรับใครที่อยู่ระหว่างตัดสินใจหาที่อยู่อาศัย ระหว่างซื้อ หรือเช่า ดีกว่ากันนั้น สิ่งสำคัญอยู่ที่ความ “พร้อมทางการเงิน” เป็นหลัก เพราะแม้ว่าอัตราการผ่อนแบงก์จะใกล้เคียงกับค่าเช่า แล้วยังได้กรรมสิทธิ์ แต่การเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ก็มีค่าใช้จ่ายมากกว่า เรียกว่ามีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป จึงขอสรุปไว้เป็นทางเลือก ดังนี้

เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ระหว่างการซื้อและการเช่า

ข้อเปรียบเทียบ ซื้อ เช่า
1. การเตรียมเงินก้อนล่วงหน้า

- ต้องมีเงินผ่อนดาวน์ ถ้ากรณีที่ที่อยู่เดิมต้องเช่า อาจจะต้องผ่อน 2 ทาง

- กรณีที่กู้ แล้วได้วงเงินไม่ตามเป้าหมาย ต้องมีเงินสำรองในการจ่ายส่วนต่าง

- ควรมีเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในการรับโอนกรรมสิทธิ์ต่างๆ ประมาณ 2-3% ของราคาที่อยู่อาศัย เช่น ค่าโอน 1% ค่าจำนอง 1% ค่าใช้จ่ายจิปาถะ

- เงินจ่ายค่าเช่าล่วงหน้า 1-2 เดือน หรือบางแห่งให้จ่าย 3 เดือนล่วงหน้า

- เงินประกันทรัพย์สิน

2. ค่าใช้จ่ายในการตกแต่ง ซื้อเฟอร์นิเจอร์

- โครงการส่วนใหญ่ไม่ได้ตกแต่งพร้อมอยู่ ควรเตรียมเงินอย่างน้อย 10% ของราคาห้องชุดในการตกแต่ง

 

- บางโครงการพร้อมอยู่ ก็ไม่ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายส่วนนี้

- ที่พักให้เช่าส่วนใหญ่มีเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าพื้นฐานให้ครบ อาจจะยกเว้น ทีวี ตู้เย็น ที่บางแห่งมี บางแห่งไม่มี อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้เช่าจะซื้อ หรือไม่ซื้อมาใช้งาน
3. อัตราการผ่อนแบงก์ ในทำเลเดียวกัน - ค่าผ่อนอาจจะสูงกว่าราวๆ 20-30% แต่คุณภาพชีวิต ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย สิ่งอำนวยความสะดวก ดีกว่า - ค่าเช่าอาจจะถูกกว่าเล็กน้อย แต่ที่พักให้เช่าส่วนใหญ่ไม่ได้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมาก ความปลอดภัยอาจจะมีน้อยกว่า ขึ้นอยู่กับการบริหารงานของเจ้าของที่พัก
4. ค่าส่วนกลาง - คิดค่าส่วนกลางตามพื้นที่ใช้สอย ส่วนใหญ่จ่ายล่วงหน้าปีละ 1-2 ครั้ง คือ ทุก 6 เดือน หรือทุก 12 เดือน ขึ้นอยู่กับการบริหารงานของแต่ละนิติบุคคล - ส่วนใหญ่แล้วจะคิดรวมกับค่าเช่าที่พัก แต่บางโครงการอาจจะคิดเพิ่มอีกเล็กน้อย
5. ค่ากองทุนส่วนกลางในอนาคต - อาจจะมีการจัดเก็บกองทุนส่วนกลางใหม่อีกครั้งในทุก 5 ปี หรือ 10 ปี เพื่อใช้เป็นค่าบำรุงรักษาลิฟต์ และทาสีอาคาร - ไม่มี เจ้าของอาคารเป็นผู้รับผิดชอบ แต่อาจจะใช้วิธีขึ้นค่าเช่า
6. โอกาสลงทุนปล่อยเช่าต่อ - มี เพราะเป็นเจ้าของเอง ถ้าไม่อยู่ ก็ปล่อยเช่า - ไม่มี
7. โอกาสทำกำไรจากการขายต่อ - มี เพราะเป็นเจ้าของเอง ถ้าไม่อยู่แล้วก็ขายต่อ คล่องตัวกว่าขายบ้าน - ไม่มี
8. ความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนที่อยู่อาศัย - อาจจะน้อยกว่าการเช่า เพราะกว่าจะประกาศขาย กว่าจะขายได้ อาจต้องใช้เวลา ยกเว้นอยู่ในทำเลที่มีความต้องการสูงมากๆ และปล่อยขายในราคาไม่สูง - ยืดหยุ่นสูง หากต้องเปลี่ยนงาน หรือจำเป็นต้องโยกย้าย ก็แจ้งยกเลิกเช่าล่วงหน้า 1 เดือน แล้วย้ายได้เลย
9. การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน - กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ สามารถใช้วิธีรี-ไฟแนนซ์ แล้วกู้เกินตามเท่าที่สามารถทำได้ เพื่อนำวงเงินส่วนต่างมาใช้จ่าย จะคล้ายกับนำเงินที่ผ่อนแบงก์ไปแล้ว กลับมาใช้ประโยชน์อีกรอบ - ไม่มี ค่าเช่าจ่ายแล้ว จ่ายเลย
10. ภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์สินในอนาคต

- ค่ากองทุนส่วนกลาง (อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับการบริหารงานของแต่ละโครงการ

- ค่าซ่อมบำรุงอุปกรณ์ข้าวของภายในห้องของตัวเองให้ยังอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน เช่น สุขภัณฑ์ รอยยาแนวหลุด กระเบื้องเริ่มแตก ประตู หน้าต่าง เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ

- ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ถ้ามีการประกาศใช้จริง กรณีที่คุณมีทั้งบ้านชานเมือง และคอนโดมิเนียมไว้อยู่ระหว่างทำงาน จะต้องเสียภาษีให้กับที่อยู่อาศัยหลังที่ 2

- ไม่มี

จากตารางข้างบนนี้จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะ “ซื้อ” หรือ “เช่า” ก็มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป หากให้สรุปสั้นๆ ได้ใจความก็ คือ คนที่ประเมินแล้วว่าเราจะมีความมั่นคงในสถานที่ทำงาน ทำงานย่านนี้ อยู่อาศัยย่านนี้ไปยาวๆ และมีความพร้อมทางการเงิน ก็ตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยได้เลย น่าจะคุ้มกว่า

ในขณะที่ใครที่ยังไม่แน่ไม่นอน ยังไม่รู้ว่าจะทำงานที่นี่นานหรือไม่ อาจจะเปลี่ยนงานเร็วๆ นี้ หรือลักษณะงานไม่อยู่กับที่ จะอยู่เหนือ หรือล่องใต้ก็ยังไม่รู้ หรือไม่ก็คอนโดฯ ในทำเลที่อยากได้ก็แพงเกินกำลัง “เช่า” ก็ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

ส่วนคนที่อยากจะซื้อที่อยู่อาศัย แต่ก็รู้สึกว่าอาจจะต้องเดินทางบ่อยๆ ไม่ได้อยู่กับที่ แต่ก็ยังอยู่ในกรุงเทพฯ ให้เลือกทำเลกลางๆ ใกล้รถไฟฟ้า เผื่อต้องเปลี่ยนงานตามแนวรถไฟฟ้าก็ยัง ก็ยังเดินทางสะดวก

 

 

ที่มา...


poomai