ห้องเม่าปีกเหล็ก

ลงทุนหุ้นจีน ตอนที่ 2 เล่าหุ้นจีนแบบย่อๆ

โดย SiTh LoRd PaCk
เผยแพร่ :
50 views

ลงทุนหุ้นจีน ตอนที่ 2 เล่าหุ้นจีนแบบย่อๆ

อ่าน Part 1 ได้ที่นี้นะครับ >>> ลงทุนหุ้นจีน ตอนที่ 1 ลงทุนต่างประเทศครั้งแรก

#หุ้นจีน Part 2
.
ฮ่องกง เป็นสวรรค์ของคนเล่นหุ้นเพราะไม่เสียภาษีอะไรเลย ส่วนต่างราคาหุ้นหรือปันผล (อาจจะเพราะว่าภาษีนิติบุคคลของเขาเสียค่อนข้างสูงแล้ว พอจ่ายปันผลออกมาก็เลยไม่โดนเก็บภาษี) ไม่เหมือนของไทยที่ส่วนต่างไม่เสีย ภาษีปันผลเสีย 10% นอกจากนั้นก็มีรายละเอียดอีก เช่น เงินเข้าประเทศ = เงินออกนอกประเทศ ไม่เสียภาษี
ถ้าเงินเข้ามากกว่าเงินออกต้องเสียภาษีเพราะถือเป็นรายได้จากต่างประเทศ ต้องนำไปคำนวนกับฐานเงินเดือน คือ รายละเอียดค่อนข้างเยอะ แต่ถ้าศึกษาดีๆ เราก็สามารถลดหย่อนหรือไม่เสียอย่างถูกต้องตามกฏหมายได้เหมือนกัน


พอได้เห็นตลาดต่างประเทศ ก็ต้องยอมรับเลยว่าตลาดเมืองไทย มันเล็กจริงๆ ของเขาผันผวนสูงมาก ขึ้นลง 10-20% นี้เป็นเรื่องธรรมดา
หุ้นไทย +2% นี้ก็หรูแล้ว ของเขาเทรดกันตัวเดียวเม็ดเงินมากกว่าหุ้นไทยเทรดกันทั้งตลาด อย่าง China Mobile ตัวเดียวซื้อขายกัน 8 แสนล้านบาท ของไทยถ้าปริมาณซื้อขายสูงกว่าแสนล้านนี้ เป็น History เลย คือมันเล็กมาก เหมือนเรากระโดดไปอยู่อีกโลกหนึ่งที่ใหญ่กว่าเดิม

 


พอได้เข้าตลาดแล้วก็เริ่มต้นศึกษาหุ้น จริงๆ
... ส่วนตัวพยายามหลีกเลี่ยงหุ้นเทคโนโลยีเพราะรู้สึกว่ามันแพงมากในเชิงมูลค่า แต่ก็มีแอบเอารายงานประจำปีมาอ่านบ้างเก็บความรู้ไปเรื่อยๆ เช่น NetEase ผู้ผลิตเกม Mobile แบบ Free to Play แล้วให้คนเล่นไปซื้อของในเกม หมุนกาชากันมันส์เลย ถึงว่าทำไมเกมสมัยนี้ถึงนิยม In-app Purchase ขนาดว่าผู้บริหารของ Electronic Arts เคยประกาศว่า "เกมเล่นคนเดียวมันได้ตายไปแล้ว" Single Player is Dead ... ถ้าเทียบจาก Margin ก็เป็นอย่างนั้น
อันนี้พึ่งรู้ว่า กำไรขั้นต้นของพวก game mobile 60%++ กันเลย กำไรดีมาก แต่หุ้นก็พุ่งไปแล้วก็ได้แต่จับตาไว้
.
หุ้น Xiaomi ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนคุณภาพดี ราคาถูกเพื่อให้คนมาใช้ แล้วขายพวก EcoSystem ต่างๆ เอามาเชื่อมต่อกับมือถือของเขากลายเป็น IoT รู้พฤติกรรมของผู้ใช้อีก เป็น Big Data นำไปต่อยอด แถมลงทุนใน StartUp หลายแห่ง ตอนนี้มี 4 บริษัทกลายเป็นยูนิคอร์น IPO เข้าตลาดหุ้นไปเรียบร้อย


หุ้น Tencent & Alibaba มี WeChat กับ Alipay ที่กลายมาเป็น Super-App ให้บริการทางการเงิน รู้พฤติกรรมการใช้เงิน รู้กระทั่งเงินเข้าเงินออก เป็น Big Data ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อปล่อยสินเชื่อ โดยทำตัวเองเป็นคนกลาง กินค่าหัวคิวแบบไร้ความเสี่ยง ไม่ต้องกลัว NPL ไม่ต้องกลัวหนี้สูญ มาร์จิ้นดีมากๆ แต่ช่วงหลังมานี้ทางรัฐบาลจีนได้ให้ ANT Financial ลูกของ Alibaba ทำโครงสร้างธุรกิจมาใหม่ จะมาเป็นเสือนอนกิน ขายข้อมูลเพื่อปล่อยกู้อย่างเดียวไม่ได้ ต้องใช้สินทรัพย์ครึ่งหนึ่งของ Ant มาค้ำประกันด้วย ไม่งั้นปริมาณการปล่อยกู้มันจะใหญ่กว่าขนาดของเศรษฐกิจจีน ถ้าเกิดวิกฤตอะไรขึ้นมามันจะมีปัญหา ... ไม่ได้เกี่ยวข้องกับที่รัฐบาลจีนไม่ชอบ Jack Ma ที่ไปบอกว่าธนาคารของจีนล้าหลัง ... ส่วนตัวเชื่อแบบนั้นนะ


หุ้น AIA ประกันก็น่าสนใจ แต่ราคาแตะ New High ไปแล้วที่ 100 เหรียญ ก็ได้แต่มองๆ ยังมี PingAn อันนี้ก็น่าสนใจ แล้วก็ China Life Insurance ก็ศึกษาอยู่ แต่ธุรกิจประกันมีความซับซ้อน เข้าใจยาก

 


หุ้น JD นี้ก็พุ่งไป 200% ได้แต่มอง
หุ้นแฟชั่นจิโอดาโน ,บอสสินี่ อันนี้ก็ Listed ในตลาดฮ่องกง ราคาหุ้นตกต่ำมา 4-5 ปีแล้ว แต่ดูผลประกอบการก็ลดลงมาโดยตลอด สงสัยสินค้าจีนราคาถูกทะลักเข้ามา ธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นก็แย่ได้เหมือนกัน

 


หุ้นร้านเครื่องสำอางค์ SASA , Bonjour ราคาก็ตกต่ำมานานแล้ว ปิดร้านเพราะโควิด นักท่องเที่ยวหาย ดูอัตรากำไรก็ไม่ได้สูงนะ สงสัยแจกน้ำหอมซะเยอะ
.
หุ้นรองเท้ากีฬา Sportwear อย่าง หลีนิง(Li-ning) และ อันต้า(Anta) อันนี้กระแสดีมากๆ ราคาหุ้นก็พุ่งไปแล้วเหมือนกัน

 

Li Ning Only Made a Few Thousand of Dwyane Wade's Sneakers | Dwyane wade  shoes, Dwyane wade, Sneakersแบรนด์รองเท้า Li-ning เป็นแบรนด์ระดับโลกไม่แพ้ Nike หรือ Adidas เลย มีการให้ NBA Star อย่าง "ดเวน เวด" มาเป็นพรีเซ็นเตอร์รองเท้าอีกด้วย

 

หุ้นแบงก์ มองๆก็จะมีอยู่ 4 บริษัทใหญ่ คือ
ICBC แบงค์ใหญ่สุด
China Construction Bank
Aglicaltural Bank of China
Bank of China แบงค์เล็กสุด ... แต่สินทรัพย์ก็แตะระดับล้านล้านหยวน
ทั้ง 4 แบงก็ติดระดับโลกกันหมดพูดถึงความใหญ่และขนาดของ Asset ราคาหุ้นก็ทรงเดียวกับบ้านเรา คือ ลงแรง จนหุ้นถูกมากๆ P/E ประมาณ 4-5 เท่า ปันผลประมาณ 7-8% รายได้และกำไรแทบจะไม่ลดลงเลย อันนี้ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน คิดว่าคงกลัวกระแสความท้าทายจาก FinTech จะมาดิสรัปแบงก์ แต่ถ้าสังเกตดีๆสินทรัพย์ของแบงก์ใหญ่มาก แทบจะพัฒนาระบบ Fintech เอง หรือไม่ก็ไปร่วมลงทุนกับเทคโนโลยีนั้นๆ


อย่างของเมืองไทย Kbank ก็ไปก่อตั้ง KBTG ลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีให้กัยเครือ หรือ SCB ก็ก่อตั้ง SCB 10X ลงทุนในสตาร์ทอัพใหม่ๆ ก่อตั้ง Robinhood แอปส่งอาหาร ช่วงนี้คริปโตมาแรง ก็ไปทำ ICO Portal อีก คือมันเยอะมาก บางทีคนกลัวดิสรัป อีกแง่หนึ่งจะดิสรัปแบงก์มันก็ไม่ง่ายเหมือนกัน


แต่ข้อเสียของแบงก์จีนคือ ทั้ง 4 แบงก์เป็น State Owner --- ภาครัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ อะไรก็ตามที่รัฐบาลถือหุ้น คุณไม่ได้มีหน้าที่รวย แต่คุณมีหน้าที่ช่วยเหลือประเทศตามคำสั่งของรัฐบาล ดังนั้นจะคาดหวังอัตรากำไรสูงๆได้ยาก แต่ก็ดี คือ สถานะทางการเงินเข้มแข็ง (แน่นอนเพราะภาครัฐถือหุ้นใหญ่ ล้มไม่ได้)

.


ยาวอีกแล้ว ... เดียวจะมาเล่าถึง China Mobile บ้าง การเป็น State Owner มันดีและแย่อย่างไร


SiTh LoRd PaCk