ห้องเม่าปีกเหล็ก

โรงไฟฟ้าถ่านหินจะเกิดขึ้นอีกในเมืองไทยหรือไม่?

โดย ศักดิ์
เผยแพร่ :
53 views

ก่อนอื่น ผู้โพสต์ขอทบทวนกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งระบบในประเทศไทย ณ.สิ้นเดือน กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ 2561 ดังต่อไปนี้ คือ :

1) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย       15,757 M.W  ( 37% )

2) IPP                                                    14,949 M.W ( 36% )

3) SPP                                                     7,716 M.W ( 18% )

4) นำเข้าและแลกเปลี่ยน                            3,878 M.W (   9% )  

รวม                                                       42,300 M.W ( 100% )       

ส่วนความต้องการไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 28,338  M.W เมื่อวันที่ 24 เมษายน ปี พ.ศ 2561 หรือ คิดเป็น  28,338 / 42,300 =  67% ของกำลังการผลิตรวม หรือ มีกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองส่วนเกินอยู่ 33% ( เทียบกันกําลังไฟฟ้าสํารองสากลที่ 15% )

สำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ฯ และ เทพาฯ เดิมมีการบรรจุไว้ในแผน PDP 2015 แต่ได้มีการชะลอทั้งสองโครงการออกไปเนื่องจากมีผู้คัดค้าน ปัจจุบันกระทรวงพลังงานกำลังจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ( Strategic Environmental Assessment หรือ SEA ) ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นในช่วงปลายปีหน้าคือปี พ.ศ 2562 ส่วนแผน PDP 2018 กําลังจะเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพลังงานชาติในช่วงเดือนตุลาคม ปี พ.ศ 2561 นี้ แล้วจึงจะประกาศใช้ในช่วงปลายนี้คือปี พ.ศ 2561 

ส่วนการประมูลแหล่งก๊าซบงกช และ เอราวัณ ก็มีเอกชนยื่นเอกสารการประมูลไปแล้วตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน ปี พ.ศ 2561 และ คาดว่าจะทราบผลประมาณปลายปีนี้ คือ ปี พ.ศ 2561 อย่างไรก็ตาม แหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศพม่า มีปริมาณลดลงมากและคาดว่าหมดลงในอนาคตอันไกล้นี้ รัฐบาลไทยจึงมีแผนการนําเข้าก๊าซ LNG มาชดเชยที่มากขึ้นเรื่อยๆในอนาคต ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าราคาก๊าซ LNG เมื่อนํามาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าจะมีต้นทุนสูง ( อย่างน้อย 4.23 บาท ต่อหน่วย ) ซึ่งสูงกว่าเชื้อเพลิงถ่านหินมาก ( 2.65 บาท ต่อหน่วย ) ตามรายละเอียดที่จะได้กล่าวถึงต่อไป

สำหรับภาพรวมกำลังการผลิตสำรองและอัตราการใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันในส่วนอื่นๆของประเทศไทยถือว่าไม่ขาดแคลน โดยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองส่วนเกินมากถึง 33% แต่เฉพาะในภาคใต้ของประเทศไทยนั้น ถือว่าขาดแคลนประมาณ 500-600 M.W และ มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็วเพราะภาคใต้ของไทยมีอัตราความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงกว่าภาคอื่นๆในประเทศไทย เพราะฉะนั้นความเป็นไปได้ของแหล่งพลังงานสำหรับภาคใต้มีดังนี้ :

1) Non-Firmed Energy  ได้แก่ : Solar, Wind และ ชีวมวล  ซึ่งมีต้นทุนดังนี้คือ :

                     1.1)    Solar และ Wind =  3.80 – 4.12 บาท ต่อ หน่วย ( ต้นทุนโดยเฉลี่ยทั่วไปจากการรับซื้อของ EGAT ) และ ล่าสุดนักลงทุนไทยไปชนะการประมูล Solar Farm ที่เวียดนามด้วยราคา 3.30 บาท ต่อหน่วย 

                    1.2)    Solar หลังเขื่อน =  2.44 บาท ต่อ หน่วย ( EGAT และ SCC )

                    1.3)    ชีวมวล = 2.40 บาท ต่อ หน่วย ( จากการเฉลี่ยของการประมูล SPP ครั้งล่าสุด )

2)  Firmed Energy ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และ ถ่านหิน ซึ่งมีต้นทุนดังนี้คือ :

          2.1) ก๊าซธรรมชาติ = 4.23 บาท ต่อ หน่วย ( จากการประมูล IPP ครั้งที่ 4 และ Gulf ได้ไป 2 โรง จำนวน  5,000 MW.)

          2.2) ถ่านหิน = 2.65 บาท ต่อหน่วย ( จาก EGAT  )

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น เนื่องจาก ​Non-Firmed Energy ไม่ถือว่าเป็นแหล่งพลังงานที่เป็น Base  Load เพราะ ไม่มีเสถียรภาพทางด้านการผลิต ส่วนก๊าซธรรมชาตินั้นก็มีราคาแพงเกินไป เพราะฉะนั้น โรงไฟฟ้าถ่านหินจึงถือว่าน่าจะเหมาะสมที่สุดที่จะสร้างเพื่อเป็นกำลังสำรองไฟฟ้าในภาคใต้ที่จะขาดแคลนต่อไปในอนาคต

ในส่วนของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มี NGO ออกมาคัดค้านนั้น ผู้โพสต์คิดว่าน่าจะสามารถบริหารจัดการได้โดยการใช้ถ่านหินที่มีคุณภาพดี และ ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ BLCP และ The Glow ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด, ประเทศไทย รวมถึงโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศมาเลเซีย, ไต้หวัน, เกาหลีใต้  และ ญี่ปุ่น เป็นต้น

หรือถ้ามีปัญหาและจําเป็นต้องล่าช้าไป ก็จะต้องรอให้ไฟฟ้าดับทั่วภาคใต้ โรงไฟฟ้าถ่านหินจึงจะเกิดขึ้นได้!

 หมายเหตุ : ที่มาจาก ( www.egat.co.th ) และ โปรดติดตามรายละเอียดการลงทุนใน สภาวะตลาดกระทิง และ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขาขึ้นรอบใหญ่ได้ใน longtunbysak.blospot.com

 


ศักดิ์