วงการหุ้นประสานเสียง เตือนรัฐเก็บภาษีขายหุ้น หวั่นได้ไม่คุ้มเสีย-ฉุดสภาพคล่องวูบ

"สมาคมโบรกฯ - ทีดีอาร์ไอ - ดร.นิเวศน์" ประสานเสียง ชี้รัฐเก็บภาษีขายหุ้นได้ไม่คุ้มเสีย ฉุดสภาพคล่อง -นลท.ต่างชาติหายกว่า 80-90% กระทบการระดมทุนของบริษัทใหญ่ในอนาคต ชี้ปัจจุบันมีภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินปันผลที่เก็บอยู่เกือบ 3 แสนลบ.อยู่แล้ว
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร นายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน เปิดเผยภายในงาน FETCO Capital Market Outlook เสวนาพิเศษ “ภาษีขายหุ้น…คุ้มหรือไม่” ว่าเห็นด้วยว่ามาตรการเก็บภาษีขายหุ้นของภาครัฐที่จะออกมาคงได้ไม่คุ้มเสีย เพราะมาตรการดังกล่าวอาจกระทบต่อปริมาณสภาพคล่องในตลาดหุ้นไทยให้ปรับตัวลดน้อยลง โดยเฉพาะปริมาณการซื้อขายหุ้น (วอลุ่มเทรด) ของนักลงทุนต่างชาติที่ปัจจุบันมีสัดส่วนกว่า 50% ของมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน ซึ่งประเมินว่าหากมีการเก็บภาษีขายหุ้นจริงจะทำให้วอลุ่มเทรดต่างชาติหายไปประมาณ 80-90% โดยเฉพาะกลุ่มผู้ลงทุนต่างชาติที่เน้นเทรดเร็วๆจะหายไปเกือบทั้งหมด เนื่องจากต้นทุนการเทรดที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้มองว่าปัจจุบันรัฐบาลมีการเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากบริษัทจดทะเบียนไทย (บจ.) ทั้งหมด 800 บริษัท ประมาณ 200,000 ล้านบาทต่อปี จากภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เก็บได้ทั้งหมด 800,000 ล้านบาทต่อปี และยังมีภาษีเงินปันผลจากตลาดหุ้นอีกราว 60,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งนับรวมกันเกือบ 300,000 ล้านบาท แต่ต้องมาแลกกับการเก็บภาษีขายหุ้นที่ประเมินไว้เพียงแค่ 16,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่คุ้มค่ากับโครงสร้างที่จะเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะผลกระทบจากสภาพคล่องที่จะหายไปอย่างแน่นอน รวมถึงแนวโน้มผลกระทบต่อบริษัทขนาดใหญ่ที่จะเข้ามาระดมทุนได้ยากในอนาคตหรือหันไปเลือกระดมทุนตลาดอื่นๆแทน
อ่านต่อที่นี้ : http://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?release=y&ref=M&id=ekh5aFBZcHJabTQ9
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย