“การบินไทย” โชว์งบไตรมาส 1/66
พลิกมีกำไรสุทธิ 1.25 หมื่นล้านบาท
หลังบุ๊กกำไรปรับโครงสร้างหนี้-ขายสินทรัพย์

.
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าบริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว ส่วนใหญ่เกิดจากกำไร จากการปรับโครงสร้างหนี้กำไรจากการขายสินทรัพย์ และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่งประเทศ โดยในไตรมาสที่ 1/66 มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว-สุทธิ เป็นรายได้รวม 2,987 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 945 ล้านบาท
.
ส่งผลให้บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ จำนวน 12,523 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีผลขาดทุน 3.24 พันล้านบาท โดยเป็นกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่12,514 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 5.73 บาท ในขณะที่ปีก่อนขาดทุนต่อหุ้น 1.49 บาท
.
โดยมี EBITDA หลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามเงื่อนไขสัญญาเช่าเครื่องบิน รวมค่าเช่าเครื่องบินที่คำนวณจากการใช้เครื่องบินที่เกิดขึ้นจริง (Power by the Hour) เป็นกำไรจำนวน 14,054 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 15,43 1 ล้านบาท
.
บริษัทฯ อยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจการบินของบริษัทฯ เพื่อลดภาระการขาดทุนจากการดำเนินการและแก้การขาดทุนสะสมที่เกินทุนจดทะเบียนของบริษัท ไทยสมายส์ แอร์เวย์ จำกัดซึ่งเป็นหนึ่งในการคำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการและแผนการปฏิรูปธุรกิจเพื่อการดำเนินธุรกิจต่อไปอย่างยั่งยืน
.
โดยผลที่ได้รับจากการปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจการบินของบริษัทฯ ได้แก่การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ฝูงบิน การขยายโอกาสการหารายได้จากเส้นทางและเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากอัตราเฉลี่ยการใช้อากาศยานที่ดีขึ้น
.
รวมถึงการขยายโอกาสสร้างรายได้ในเส้นทางบินระหว่างประเทศที่ให้ผลตอบแทนต่อหน่วยสูงและการแข่งขันไม่รุนแรงเท่าเส้นทางภายในประเทศ การบรรเทาปัญหาข้อจำกัดในการจัดหาอากาศยานในระยะสั้นซึงเป็นผลจากฟื้นตัวต่อเนื่องของความต้องการเดินทาง
.
ในขณะที่การขยายกำลังการผลิตของผู้ผลิตเครื่องบินเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขังมีข้อจำกัด ความเป็นเอกภาพในทางการตลาดและตำแหน่งตราผลิตภัณฑ์ การผนวกจุดแข็งด้านผลิตภัณฑ์และบริการ
.
อีกทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการต้นทุนด้านการจัดซื้อจัดจ้าง การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและบูรณาการทรัพยากร การลดค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อนไม่จำเป็น รวมทั้งการสนับสนุนนโยบาขส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใน ประเทศของภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น