เจาะโมเดลธุรกิจ ICHI กับ ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล และดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในรายการ Business Model เราสรุปสาระสำคัญมาให้อ่านกันง่ายๆเลยครับ.
** เผยแพร่เมื่อ 30 มี.ค. 2016 **
ขอบคุณภาพจากรายการ Business Model ทางช่อง Money Channel
- เครื่องดื่มของอิชิตันมีคู่แข่งถึงแม้ว่ามาร์เก็ตแชร์ของ ichi ค่อนข้างดี และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จไปแล้ว สิ่งที่ต้องมองคือ การบริโภคภายในประเทศเป็นอย่างไร
- บริษัทใช้การตลาดนำ ต้องมีโปรโมชั่นในการขายของ
- แคมเปญที่จะออก ออกทุกหน้าร้อน และโปรค่อนข้างหนักหน่วยเช่นแจกคอนโด แจกเบนซ์ เป็นต้น
- การบริโภคภายในปีนี้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้ลดลง สิ่งที่ต้องนึกว่าจะกระทบกับบริษัทมากเท่าไรเพราะสินค้าที่บริษัทขายเป็นสินค้าที่ไม่ได้จำเป็นในชีวิตประจำวัน
- โปรโมชั่นคิดเป็นรายจ่ายประมาณ 7%
- ธุรกิจเครื่องดื่มชาเขียวอาจจะเรียกได้ว่าเป็น"ธุรกิจอิ่มตัว" ได้ผ่าน Stage ของ Growth phase ไปแล้ว ธุรกิจอาจจะอิ่มตัวและต้องขับเคลื่อนด้วยแรงจูงใจทางการตลาด
"ใช้ตัวเองเป็นพรีเซ็นเตอร์มีส่วนได้ส่วนเสีย ถ้าเราจ้างดารามาโฆษณาครั้งละ 10 ล้าน ทำ event อีกครั้งละ 2-3 แสน ผมเป็นพรีเซนเตอร์เองประหยัดได้เยอะ คุยได้ จับมือได้ ถ่ายรูปได้ ทำกี่วันก็ได้ ผมทำด้วยความเต็มใจ" ตัน ภาสกรนที
- การรุกต่างประเทศอย่างอินโดนีเซีย ตลาดอินโดเป็นตลาดที่ไม่มีใครครองอย่างจริงจัง ตั้งเป้าหมายไว้ว่ายอดขายพันล้าน ในขณะที่เมืองไทยมียอดขายอยู่ 6 พันล้าน ถ้าเปรียบเทียบแล้วถือว่ายังน้อย ต้องใช้ระยะเวลาอีกสักระยะหนึ่ง แต่อย่างน้อยอินโดนีเซียก็ยังถือว่าไม่อิ่มตัวและแข่งขันสูงเท่าเมืองไทย
- ที่น่าสนใจคือ การตลาดที่อินโดนีเซียจะเป็นอย่างไร ต้องจับตากันต่อไป
- ตอนนี้ตลาดอินโดนีเซียเป็นการจ้าง OEM คือจ้างผลิตเพื่อวางขาย แต่ถ้ายอดขายแตะมากกว่าพันล้าน อาจจะมีการสร้างโรงงาน ผลิตเอง ขายเองในนั้น
- อิชิตันต้องทำการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคของประชากรอินโดีเซียว่าเป็นอย่างไร ซึ่งอาจจะแตกต่างจากคนไทย
- ต้องยอมรับว่าคุณตันเป็นคนเก่ง เป็นคนมีความสามารถมาก มูลค่าแบรนด์อิชิตันกับตัวคุณตันเอง นักลงทุนจะต้องให้มูลค่ากับมันด้วย
- ในแง่ราคาหุ้นค่อนข้างตึงไปนิดนึง และการเติบโตก็ยังจำกัดอยู่
- ประเด็นสำคัญ คือ ยอดขายพันล้านที่อินโดนีเซียถือว่าน้อยไป แต่นักลงทุนก็ต้องติดตามดู
" "ไบ่เล่" ภาพลักษณ์ยังดูเก่า การจะนำมาฟื้น ทำให้กลับมามันไม่ง่ายเลย จะปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ยังไงให้ดูทันสมัย ถูกใจคนรุ่นใหม่ ตรงนี้เป็นคำถามสำคัญ " ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากรณ์
-- ผลิตภัณฑ์ทางชาเขียวเป็นสินค้าที่ไม่มีความแตกต่างในแต่ละค่าย รสชาติก็เหมือนๆกันสามารถทดแทนกันได้ เป็นสินค้าที่ไม่สามารถสร้างความโดดเด่น ดังนั้นยอดขายในแต่ละปีมาจากโปรโมชั่นที่เข้มข้น มันอาจจะไม่ใช่ความต้องการซื้อที่แท้จริง
-- เมื่อก่อน ชาเขียวอาจจะไม่นิยม อาจจะมีแค่เจ้าเดียว มันเลยดูแปลก สินค้าเลยขายได้เพราะคนอยากลองชิม แต่พอเวลาผ่านไปคนเห็นว่ากำไรดี มาร์จิ้นดี เริ่มมีการแข่งขัน ตลาดก็เลยรู้สึกว่าอิ่มตัว คนไม่กินก็ได้ หรือจะกินก็ได้
-- จริงๆคนไทยไม่ควรกินน้ำตาลเยอะขนาดนั้นนะ คนที่อยากกินชาไม่ได้กินเพราะอยากกิน กินเพราะอยากลุ้น อยากได้ของรางวัล ตรงนี้เป็นจุดเสี่ยง
-- ที่ผานมา บริษัทก็ไม่ได้โตมาก อาจะเรียกว่าอิ่มแล้ว
-- ต่อไปจะมีประเด็นเรื่องภาษีน้ำตาลเข้ามาเกี่ยวข้อง
-- มองเฉพาะตลาดไทย ผมคิดว่าตลาดไม่น่าจะโตไปกว่านี้แล้ว มันอิ่มตัวไปแล้ว
-- สินค้ามีคาเฟอีน ทำให้คนดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น ดื่มแล้วติด คนที่ติดชาเขียวก็ติดกันจริงๆจังๆ
-- "ไบเล่" สินค้ามีภาพลักษณ์ที่ดูเก่า มันดูล้าสมัยหรือเปล่า การฟื้นโปรดักส์แบบนี้ไม่ง่ายเลยเพราะต้องปรับแต่งให้เข้ากับยุคสมัย
-- ในระยะยาว เราต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่าจะใช้ "คน" เป็นการนำทุกอย่าง รันทุกอย่างเองหรือแม้กระทั่งเป็นแบรนด์ จำเป็นจะต้องมีโครงสร้างธุรกิจให้มันเดินไปได้ด้วยตัวเอง
-- ผลิตภัณธ์ชาเขียว เป็นการยากมากที่จะสร้างนิสัยให้คนไทยมาดื่มกันเป็นชีวิตประจำวัน
-- คุณตันอาจจะย้ายไปทำธุรกิจกาแฟไหม ? ... ผมคิดว่าถ้าเปลี่ยนไปทำเครื่องดื่มกาแฟ มันก็มีเจ้าตลาดอยู่แล้ว แข่งขันกันสูงยิ่งกว่าชาเขียวอีก
-- เรื่องของอินโดนีเซีย อาจจะมีโอกาสฮือฮา แจ๊คพอร์ตเหมือนเมืองไทยก็ได้นะ อาจจะติดตลาด คน 200 กว่าล้านคนมหาศาลมาก ใหญ่กว่าเมืองไทย แต่นั้นแหละมันไม่ง่ายเลย แต่ถ้าทำได้ ก็.....(อย่างที่รู้ๆกัน)
-- ผมยังไม่ให้มูลค่ากับธุรกิจในอินโด เพราะยังไม่เห็นภาพอะไรมาก ต้องรอไปก่อน
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : รายการ Business Model ช่อง Money channel
สรุปโดย: SiTh LoRd PaCk
ใครสนใจดูคลิปเต็มมีทั้งหมด 2 ตอนครับ
ตอนที่ 1
ตอนที่ 2