มือใหม่ต้องอ่าน รวมคำศัพท์ที่นักวิเคราะห์ชอบใช้
Accumulative BUY แปลว่าอะไร และ TRADING BUY แตกต่างจากคำว่า BUY ตรงไหน วันนี้มีคำตอบครับ
เป็นธรรมดาที่นักลงทุนเข้าฟังสัมนาเกี่ยวกับหุ้น ฟังคลิปวิเคราะหุ้นจาก youtube หรืออ่านบทวิเคราะห์ของโบรคเกอร์แล้วจะได้ยินคำศัพท์ที่แปลกประหลาดออกไป ตีความไม่ออก ไม่เข้าใจความหมายว่าให้ทำอะไร ถ้าสมมุติว่าบทวิเคราะห์ใช้คำศัพท์ BUY, SELL, HOLD หรือ "ซื้อ" "ขาย" "ถือ" แบบนี้จะตรงประเด็นและเข้าใจมากกว่า แต่นักวิเคราะห์กลับเลือกใช้คำศัพท์ยาก เช่น Trading BUY , Accumulative BUY หรือ Outperform มันมีความแตกต่างกันหรือไม่
จริงๆแล้วความหมายไม่แตกต่างกันในเชิงวิเคราะห์ แต่แตกต่างกันในเชิง "การกระทำ" เช่น
Buy -- หมายถึง ซื้อ หมายถึงราคาหุ้นมี Upside มากกว่า 15% หรือราคาเป้าหมายของนักวิเคราะห์ยังสูงกว่าราคาตลาด ส่วนใหญ่นักวิเคราะห์จะเชียร์ "ซื้อ"
TRADING BUY -- มีความหมายว่า ซื้อเก็งกำไร มักจะใช้กับหุ้นที่ราคาตลาดใกล้เคียงกับราคาเป้าหมายของนักวิเคราะห์ที่ให้ไว้ และหุ้นมีความผันผวนมาก อาจจะทำให้ยืนราคาไม่ได้ในระยะสั้นจึงแนะนำ"ซื้อเก็งกำไร" ไว้ก่อน
ACCUMULATIVE BUY -- มีความหมายว่า ซื้อสะสม มักจะใช้กับหุ้นที่มี Upside มากกว่า 15% แต่หุ้น ณ ตอนนั้นมีข่าวร้ายเป็นปัจจัยกดดัน หรือไม่มีข่าวดีระยะสั้นสนับสนุน นักวิเคราะห์มักให้คำแนะนำ ซื้อสะสม เพื่อรอเวลาให้กลับมาขึ้นได้อีกครั้ง แต่ต้องใช้เวลาสักหน่อย
Hold -- มีความหมายว่า ถือ ราคาหุ้นกับราคาเป้าหมายของนักวิเคราะห์อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ยังไม่มีประเด็นอะไรใหม่ๆ ผลประกอบการยังนิ่งๆ จึงให้คำแนะนำ "ถือ"
Outperform ตลาด -- มีความหมายว่า วิ่งได้ดีกว่าตลาดโดยใช้ SET Index เป็นตัวเทียบ เช่น SET Index ขึ้นได้ 5% แต่หุ้นสามารถขึ้นได้ 15% เราจะเรียกนั้นว่า Outperform ตลาด คือวิ่งได้ดีกว่าตลาด เป็นหุ้นแข็งแกร่งกว่าตลาดนั้นเอง
Underperform ตลาด -- มีความหมายว่า SET Index วิ่งได้ดีกว่าตัวหุ้นนั้น หรือ หุ้นตัวนั้นไม่วิ่งเลย แม้ว่าตลาดจะขึ้นก็ตาม เราจะเรียกหุ้นนั้นว่า "หุ้นอ่อนแอ" ตลาดหุ้นขึ้นมันไม่วิ่ง แต่ถ้าตลาดหุ้นลง มันลงแรงกว่า
Sell -- มีความหมายว่า "ขาย" ความหมายตรงตัวคือ ราคาหุ้นมากกว่าราคาเป้าหมายที่นักวิเคราะห์ให้ห่างไกลมาก หรือราคาเกินพื้นฐานไปเยอะ นักวิเคราะห์จึงแนะนำขาย
อ่านจบ จะทำให้เราเข้าใจความหมายของบทวิเคราะห์มากขึ้น ฟังนักวิเคราะห์พูดในงานสัมนาเราก็จะเข้าใจแล้วว่าควร Take action อย่างไรครับ