ห้องเม่าปีกเหล็ก

โรงกลั่นตัวไหน...จะเป็นผู้ชนะ

โดย ฮ นกฮูก
เผยแพร่ :
50 views
 
#investment ผู้ผลิตต้นน้ำ – โรงกลั่นเป็นผู้ชนะเนื่องจากการลงทุนช่วง 2H65 มีความเสี่ยงจากความเปราะบางของเศรษฐกิจมหภาค และผลกระทบที่ยัง ไม่แน่นอนของสงคราม (ติดตามสถานการณ์ในวัน Victory day ของรัสเซียที่ 9 พ.ค.) และมาตรการตอบโต้ รัสเซียของชาติตะวันตก เชิงกลยุทธ์ให้น้ำหนักกับกรอบการลงทุนระยะสั้นมากกว่า ซึ่งบนสภาพแวดล้อม ข้างต้นมองว่าอุตสาหกรรมขั้นกลาง – ปลาย (ปิโตรเคมี โรงไฟฟ้า) จะยังถูกกดดันจากต้นทุนวัตถุดิบ และ ต้นทุนพลังงานแพง (รวมทั้ง PTT และสถานีบริการน้ำมันยังถูกถ่วงจากนโยบายช่วยเหลือด้านพลังงานของ ภาครัฐ)
.
.
13 บริษัทในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีที่บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ศึกษาคาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 1Q65 รวม 8.8 หมื่นล้านบาท +23% QoQ สาเหตุหลักมาจากการคว่ำบาตรอุตสาหกรรมพลังงานของรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตพลังงานรายใหญ่ของโลก ทำให้อุปทานน้ำมันดิบ สำเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินในตลาดตึงตัว หนุนให้
.
.
1) ผลประกอบการของหุ้นโรงกลั่น (SPRC TOP BCP) ได้ประโยชน์จากการพุ่งขึ้นของค่าการกลั่น (ค่าการกลั่น สิงคโปร์เฉลี่ย US$8.0/bbl +31% QoQ และ +353% YoY สูงสุดรอบ 17 ไตรมาส) และมีกำไรสต็อกน้ำมัน จำนวนมาก (คาดทั้งกลุ่มฯ มีกำไรสินค้าคงคลัง 4.1 หมื่นล้านบาท +149% QoQ และ +16% YoY) .
.
2) ผลการดำเนินงานหลักของหุ้นพลังงานต้นน้ำ (BANPU PTTEP) ได้ประโยชน์ทางตรงจากราคาขายที่สูงขึ้น
.
.
3) ปัจจัยบวกเฉพาะตัวของหุ้น IVL (การปรับสัญญาราคาขาย และโรงงานที่หยุดซ่อมกลับมาผลิต) อย่างไรก็ตามหากเทียบกับ 1Q64 คาดกำไรสุทธิลดลง -7% YoY กดดันจากผลการดำเนินงานหลักที่อ่อนแอของ หุ้นปิโตรเคมี (IRPC PTTGC SCC) เพราะ Margin ถูกกดดันจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น, ฐาน Spread ปิโตรเคมีสูงผิดปกติใน 1Q64 จากเหตุการณ์ Polar Vortex ทำให้เกิดปัญหาการผลิตในสหรัฐฯ, ขาดทุน Hedging จำนวนมาก, และผลกระทบจากนโยบายแทรกแซงราคาพลังงานของภาครัฐ (PTT PTG OR) นโยบายคว่ำ บาตร ผลักดันภาวะราคาพลังงานแพงลากยาว สำหรับช่วงที่เหลือของปี แม้ความต้องการใช้พลังงานเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก และผลกระทบการแพร่ระบาดของจีน
.
.
อย่างไรก็ตาม บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) คาดว่าภาวะราคาพลังงานแพงมีความเป็นไปได้จะว่า ลากยาวไปอีกหลายเดือน เพราะ
.
.
1) ผลกระทบจากนโยบายคว่ำบาตรรัสเซียจะทยอยเข้มข้นมากขึ้น (Self-sanction ของบริษัทพลังงานเอกชน และนโยบายแบนการนำ เข้าน้ำมันดิบภายใน 6 เดือน น้ำมันสำเร็จรูปภายในสิ้นปีของ EU)
.
.
2) OPEC+ ยังคงเดินหน้าเพิ่มปริมาณผลิตแบบค่อยเป็นค่อยไปที่ 432 kbd ในแต่ละเดือน จนถึงเดือนก.ย.
.
.
3) ประเทศที่มีSpare capacity ศักยภาพเพิ่มปริมาณผลิต เช่น ซาอุฯ UAE สหรัฐฯ ยังไม่เร่งเพิ่มปริมาณผลิต
.
.
4) ปริมาณสินค้าคงคลังทั่วโลกยังอยู่ระดับต่ำ ส่งผลให้2QTD ราคา น้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยที่ US$103/bbl (+8% QoQ, +54% YoY) ราคาถ่านหินเฉลี่ยที่ US$297/bbl (+15% QoQ, +178% YoY) ราคาก๊าซธรรมชาติเฉลี่ยที่ US$6.9/mmbtu (+50% QoQ, +131% YoY) ค่าการกลั่น เฉลี่ยที่ US$19.3/bbl (+140% QoQ, +855% YoY)
.
.
ทั้งนี้ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) มองว่าหุ้นพลังงานต้นน้ำ - โรงกลั่นจะเป็นผู้ชนะในสถานการณ์ดังกล่าว เพราะสินค้าในตลาดตึงตัวจากอุปทานของรัสเซียที่หายไป รวมทั้งประมาณการกำไรยังมี Upside จากสมมติฐานราคา ผลิตภัณฑ์ และกำไรสินค้าคงคลัง ตัวเลือกหลักของกลุ่มฯ เราชอบ
.
.
1) PTTEP เพราะโมเมนตัมกำไร 2Q65 ดีต่อเนื่อง และสมมติฐานราคาน้ำมันมี Upside
.
.
2) BANPU สามารถเก็งก าไรงบ 1Q65 ที่โดดเด่น, 2Q65 ดี ต่อจากราคาถ่านหิน - ก๊าซ (สูงสุดรอบ 13 ปี) และ NAV จากแผน Spin off ของ BKV
.
.
3) TOP คาดกำไร สุทธิ 2Q65 เด่นกว่ากลุ่มฯและมูลค่าหุ้นยังไม่แพง
 
 

ฮ นกฮูก