ภาคบริการ: ความหวังเศรษฐกิจไทย ในวันที่การค้าอาจไปไม่ถึงฝัน
หลังจากเจ็บหนักตั้งแต่โควิด… ภาคบริการไทยกำลังฟื้นตัว
ดุลบริการปี 2567 ขาดดุลเพียง 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เทียบกับปี 2564 ที่เคยขาดดุลสูงสุด 32.5 พันล้านดอลลาร์ฯ
และในไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา ไทยเริ่มกลับมา “เกินดุล” ได้อีกครั้ง
หนุนให้ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเป็นบวก
ในวันที่ “ดุลการค้า” เริ่มแผ่วจากปัจจัยลบทั่วโลก

บริการด้านรับ: ฟื้นตัวจากท่องเที่ยว แต่ยังไม่เต็มที่
ปี 2567 ไทยมีรายรับจากบริการรวม 72.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เติบโตถึง 27.2%
• รายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็นเกือบ 60% ของทั้งหมด
• แต่ยังไม่ถึงระดับก่อนโควิด สะท้อนการฟื้นตัวที่ชะลอโดยเฉพาะจาก “นักท่องเที่ยวจีน” ที่กลับมาช้ากว่าคาด
• รายได้จากค่าขนส่ง และ ค่าบริการทางธุรกิจโตต่อเนื่อง เป็นพลังใหม่ของภาคบริการไทย
บริการจ่าย: สูงสุดเป็นประวัติการณ์
ปี 2567 ไทยจ่ายค่าบริการสูงถึง 73.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เติบโต 12.2%
• ค่าใช้จ่ายหลักล้วนต่างเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุด
และมีแนวโน้มต้องจ่ายเพิ่มมากขึ้นทุกวัน:
- การท่องเที่ยวต่างประเทศของคนไทย
- ค่าทรัพย์สินทางปัญญา (Royalties)
- ค่าประกัน และค่าบริการธุรกิจ
ความหวังที่โดนสกัด
ความหวังว่าการท่องเที่ยวจะเป็น “พระเอก”
กลับโดนสกัดดาวรุ่งจากหลายปัจจัย
ทำให้ “เครื่องยนต์บริการ” ของไทยยังฟื้นไม่เต็มกำลัง
• ข่าวแก๊งหลอกลวงนักท่องเที่ยวต่างชาติ
• เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ไม่มีใครคาดคิด
• นโยบายจีนที่สนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ
จะรักษาความหวังนี้ไว้อย่างไร?
สร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว
– ยกระดับมาตรการความปลอดภัย
– วางแผนรองรับกรณีฉุกเฉิน
– สื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องและตรงกลุ่มเป้าหมาย
สนับสนุน “ไทยเที่ยวไทย”
– ลดเงินไหลออก
– กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น
– ใช้ช่วงบาทอ่อนสร้าง demand ภายในประเทศ
บทส่งท้าย: ภาคบริการ…คือพื้นที่หายใจของเศรษฐกิจไทย
แม้ภาคการค้าจะผันผวนจากภาษีและความไม่แน่นอน
แต่ถ้าไทยสามารถพลิกดุลบริการให้เกินดุลได้สำเร็จ
เรายังพอมีพื้นที่หายใจ ไม่ให้ดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบ
และนั่น…อาจเป็นเส้นบาง ๆ ที่กั้นระหว่าง
“เสถียรภาพ” กับ “ความเปราะบาง” ของประเทศ
.
เรื่องและภาพ: สราลี วงษ์เงิน Economist, Bnomics
════════════════
ขอบคุณเนื้อหาที่มาจาก… Bnomics by Bangkok Bank