ห้องเม่าปีกเหล็ก

พีอี เรโช (P/E Ratio) คืออะไร และ คำนวนอย่างไร

โดย dave
เผยแพร่ :
63 views

พีอี เรโช (P/E Ratio) คืออะไร และ คำนวนอย่างไร

 

สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาแนวทางการลงทุนประเภทเน้นคุณค่าแล้ว คงจะได้ยินคำว่า พีอี เรโช (P/E Ratio) เป็นประจำ ในวันนี้เรามาเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยกันดีกว่า

พีอี เรโช (P/E Ratio) หรือ Price-Earnings Ratio คือ อัตราส่วนราคาต่อกำไร เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดมูลค่าหุ้นที่เก่าแก่มากและได้รับความนิยมสูง

P ย่อมาจาก Price ซึ่งก็คือ ราคา ,ส่วน E ย่อมาจาก Earning ซึ่งก็คือกำไร  การหาค่า P/E Ratio ทำได้โดยเอา ราคาหุ้นมาตั้งแล้วหารด้วยกำไรของกิจการ

พีอี เรโช

โดยส่วนมากแล้ว กำไรต่อหุ้น (EPS) ที่นำมาใช้คำนวน ค่า P/E จะได้มาจาก 4 ไตรมาสล่าสุด ซึ่งก็คือ ผลกำไรในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมานั่นเอง ค่า P/E ที่คำนวนเช่นนี้ ถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Trailing P/E”

อย่างไรก็ตาม นักการเงินบางท่านก็อาจใช้ กำไรต่อหุ้น (EPS)  2 เดือนล่าสุดมารวมกับ EPS อีก 2 เดือนในอนาคต ที่ได้จากการประเมิน มาคำนวนค่า P/E ซึ่งจะทำให้ค่าที่ได้ออกมาแตกต่างกันไป แม้จะแตกต่างไม่มาก แต่ก็ทำให้เราตระหนักได้ว่าค่าที่ได้จากการคำนวนไม่ได้เที่ยงตรงแม่นยำเสมอ ไป

สำหรับบริษัทที่ไม่มีผลกำไร หรือ การดำเนินงานขาดทุน ค่า P/E ที่ได้นั้น มีความเห็นจากนักวิชาการต่างกันไป บางคนบอกว่า เป็นค่าติดลบ ,บางคนบอกว่า P/E เป็น 0 และบางคนก็บอกว่าไม่มี P/E

 

การนำค่า พีอี เรโช (P/E Ratio) มาใช้วิเคราะห์

ค่า P/E จะช่วยบอกให้ทราบว่า นักลงทุนต้องจ่ายเงินเท่าไรเพื่อให้ได้กำไร 1 บาท , ยกตัวอย่างเช่น
หุ้น A ราคา 100 บาท  บริษัทมีผลกำไรต่อหุ้นใน 4 ไตรมาสล่าสุดอยู่ที่ 20 บาท
ค่า P/E ที่คำนวนได้จะเท่ากับ 100/20 = 5
แสดงว่า นักลงทุนต้องจ่ายเงิน 5 บาท เพื่อให้บริษัทได้กำไร 1 บาท ต่อปี

 

ใช้พีอี เรโช (P/E Ratio) มาหาว่าหุ้นถูก หรือ แพง

ในมุมมองของนักลงทุนเน้นคุณค่า หุ้น A ราคา 100 บาท ไม่ได้หมายความว่าแพงกว่า หุ้น B ราคา 50 บาท เพราะหาก ค่า P/E ของหุ้น A คำนวนได้ 10 ในขณะที่หุ้น B คำนวนออกมาได้ 20 นั่นหมายความว่า หุ้น A ราคาถูกกว่าหุ้น B

จะเห็นได้ว่า ค่า P/E ยิ่งต่ำ ยิ่งดี

 

สองปัจจัย ที่ควรนำมาคำนึงถึงในการคำนวน P/E

1. อัตราการเติบโตของบริษัท : เนื่องจากค่า P/E เป็นการนำข้อมูลในในอดีตมาใช้ แต่สำหรับบางบริษัทที่มีอัตราการเติบโตสูงนั้น จำเป็นต้องคิดคำนึงถึงเปอร์เซ็นต์การเติบโตด้วย เพราะหากใช้ P/E ในอดีต จะดูเหมือนว่า หุ้นนั้น ๆ มี P/E ที่สูงมาก ไม่น่าลงทุน ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้ว ราคาของหุ้นยังน่าลงทุนอยู่

วิธีที่ดีในการคาดการณ์ราคาที่เหมาะสมด้วยสูตร P/E สำหรับหุ้นบริษัทที่มีการเติบโตสูง คือ ใช้ EPS ที่ได้จากการคาดการณ์การเติบโตมาใช้

2. กลุ่มอุตสาหกรรม : เนื่องด้วยแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม มีการเติบโตที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค จะมีการเติบโต ต่ำกว่า หุ้นบริษัทเทคโนโลยี

ดังนั้น หากท่านนำค่า P/E ของบริษัท 2 บริษัท ที่อยู่คนละกลุ่มอุตสาหกรรม มาเทียบกัน ก็จะได้รับข้อมูลค่าเคลื่อน ยกตัวอย่าง เช่น

หุ้น A อยู่กลุ่มสื่อสาร มีค่า P/E  20  ในขณะที่หุ้น B อยู่ในกลุ่มโรงพยาบาล มีค่า P/E 15  หากเปรียบเทียบกันแล้ว หุ้น B จะดูน่าลงทุนมากกว่า

แต่เมื่อไปเทียบในกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจสื่อสารแล้ว พบว่า P/E เฉลี่ย มากกว่า 30
ในขณะที่กลุ่มโรงพยาบาล P/E ส่วนใหญ่ อยู่ที่ 5
แสดงให้เห็นว่า ในกลุ่มสื่อสาร หุ้น A ยังน่าลงทุนอยู่ ในขณะที่หุ้น B นั้นมีค่า P/E สูงกว่าบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน

 

ปัญหาของการนำค่า P/E มาใช้
- ควรระมัดระวังตัวเลข : กำไรต่อหุ้น ที่อาจไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น บริษัทมีกำไรเฉพาะกาลจากการขายสินทรัพย์ ไม่ใช่การดำเนินธุรกิจตามปกติ หากเรานำตัวเลขกำไรในไตรมาสนั้นมาร่วมใช้คำนวน ก็จะทำให้ค่า P/E ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

– นอกจากนั้นในสภาวะที่อัตราเงินเฟ้อสูงอย่างรวดเร็ว ก็ทำให้ธุรกิจที่มีสินค้าคงคลังจำนวนมาก ดูเหมือนจะมีค่า P/E ต่ำ เพราะ EPS สูง แต่เมื่อสินค้าดังกล่าวหมดไป แนวโน้ม EPS ในอนาคต ก็อาจจะลดลง ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

– การตีความหมาย : หุ้นที่มีค่า P/E ต่ำ ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นหุ้นที่อยู่ในช่วงราคาที่เหมาะสมต่อการลงทุนเสมอไป เพราะบางบริษัทที่ถูกคาดการณ์ว่าจะมีอัตรากำไรในอนาคตที่ต่ำลง ราคาหุ้นก็จะลดลงก่อน ทำให้ P/E ต่ำ

 

หวังว่าบทความเรื่อง พีอี เรโช (P/E Ratio) นี้ คงจะมีประโยชน์แก่นักลงทุนชาวไทยมือใหม่บ้าง ไม่มากก็น้อย

 

 

ขอบคุณที่มาข้อมูลจาก

setmai.com


dave