AAI ICT ท้องฟ้าเริ่มแจ่มใส
ยอดส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงรายเดือนของไทย (แผนภาพ 6-8) ยอดส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยเดือน ก.ค. อยู่ที่ 181 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (-15.3% YoY และ +5.6% MoM) ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน มูลค่าการส่งออกอยู่ในระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.2565 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นของรอบการสั่งซื้อใหม่ ในบรรดาตลาดที่มีสัดส่วนรายได้อย่างมีนัยสำคัญของ ITC และ AAI จุดหมายที่มีมูลค่าปรับดีขึ้นมากที่สุดเชิง YoY คือ สหราชอาณาจักร (+40% YoY) และในเชิง MoM คือ จีน (+52% MoM)
แนวโน้มวัตถุดิบ สัญญาณของแนวโน้มราคาวัตถุดิบปรับตัวลงมีความชัดเจนมากขึ้นตามราคาไก่เนื้อและปลาทูน่ารายเดือนล่าสุดที่ลดลง 3% และ 5% จากระดับสูงสุด ขณะที่ราคาขายเฉลี่ย (ASP) อาหารสัตว์เลี้ยง ของ AAI และ ITC เพิ่มขึ้นประมาณ 2% ในครึ่งแรกของปี 2566 และอาจเพิ่มขึ้นอีกในครึ่งปีหลัง
มุมมองของเรา เราเชื่อว่าโมเมนตัมเชิงบวกจะยังคงดำเนินต่อไปในเดือน ส.ค. สำหรับการส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงของไทย เนื่องจากวัฏจักรการสั่งซื้อรอบใหม่ได้เริ่มขึ้นแล้ว โดยเห็นได้จากแนวโน้มการผลิตและการส่งออกทั่วโลกที่กำลังฟื้นตัวในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ในครึ่งหลังของปี 2566 ไม่เพียงแต่ ITC และ AAI คาดว่าจะมีคำสั่งซื้อซ้ำจากลูกค้าเก่า แต่ยังเห็นคำสั่งซื้อใหม่จากลูกค้ารายใหม่ของบริษัทฯ อีกด้วย หากมองในแง่ต้นทุน เราเชื่อว่าความแตกต่างระหว่างราคาวัตถุดิบที่ลดลงและราคาขายที่สูงขึ้นจะส่งผลดีต่อการขยายตัวของอัตรากำไรของบริษัทในครึ่งหลังของปี 2566 นอกจากนี้ สัดส่วนผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้นจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่หนุนการขยายตัวของอัตรากำไร
มุมมองเชิงบวก เรามีมุมมองเชิงบวกต่อกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของไทย จาก
1) สัญญาณที่ชัดเจนของวัฏจักรการสั่งซื้อรอบใหม่
2) ลูกค้าที่เซ็นต์สัญญาใหม่จะเป็น upside ต่อคำสั่งซื้อซ้ำ
3) ความแตกต่างระหว่าง ASP ที่สูงขึ้นและราคาวัตถุดิบที่ลดลง ซึ่งจะช่วยหนุนการขยายตัวของอัตรากำไร เราคงแนะนำ “ซื้อ” ทั้ง ITC และ AAI ด้วยราคาเป้าหมายที่ 26.8 และ 5.5 บาท ตามลำดับ จากประเมินมูลค่าหุ้นไม่แพง
