กองทุนต่างประเทศดีกว่ากองทุนไทย ?
ปัจจุบันการไปลงทุนในต่างประเทศค่อนข้างง่ายขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากทั้งจากเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ความรู้ของนักลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎระเบียบข้อบังคับจากภาครัฐที่สนับสนุนมากขึ้น ทำให้นักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่ต้องการที่จะนำเงินทุนที่มีอยู่ออกไปแสวงหาอาสในการสร้างผลตอบแทนมากขึ้น ทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก คือ การลงทุนผ่านกองทุนรวม วันนี้จะขอเชิญนักลงทุนทุกท่านมาดู ค่าธรรมเนียมกับผลการดำเนินงานและการลงทุนกองทุนรวมใน AEC ด้วยกัน
จุดประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้คือการหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าธรรมเนียมประเภทต่างๆกับผลการดำเนินงานของกองทุนรวมในประเทศ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พบว่า การเพิ่มขึ้นของค่า management fee ทำให้กองทุนมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า ค่าธรรมเนียมในอุตสาหกรรมกองทุนรวมของไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆของไทยนั้นต่ำกว่า และนักลงทุนไทย sensitive กับการเปลี่ยนแปลงของค่าธรรมเนียมน้อยกว่าประเทศอื่น
มูลค่าสินทรัพย์สุทธิกองทุนรวมทุกประเทศต่อมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด แต่ละประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2546-2556
ปัจจัยค่าธรรมเนียมการจัดการและอัตราส่วนค่าใช้จ่าย มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับผลตอบแทนกล่าวคือ เมื่อค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น ผลตอบแทนก็เพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ไทยยังมีความ sensitive ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆใน AEC
กองทุนรวมที่เก็บค่าธรรมเนียมไม่จำเป็นที่จะต้องมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่ากองทุนรวมที่ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม นอกจากนี้กองทุนรวมที่เก็บค่าธรรมเนียมยังเป็นสาเหตุที่ทำให้กองทุนสามารถระดุมทุนได้น้อยกว่ากองทุนรวมที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียม
ค่าเฉลี่ยค่าธรรมเนียมการจัดการสูงสุดของในแต่ละประเทศ ใน AEC พ.ศ. 2556
จากการวิจัยพบว่า กองทุนในทุกประเทศที่อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนขนาดใหญ่ จะทำให้กองทุนเกิดการลงทุนมากขึ้น แต่ทำให้ผลการดำเนินงานแย่ลง เมื่อกองทุนรวมมีสินทรัพย์ที่ต้องดูแลมากขึ้น
มีการพบว่า กองทุนรวมในประเทศไทยมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าประเทศอื่นๆใน AEC แต่กองทุนในไทยโดยเฉลี่ยแล้วมีขนาดเล็กกว่าเมื่อเปรียบเทียบกัน นอกจากนี้ยังพบว่ากองทุนรวมตราสารทุนในทุกประเทศมีผลดำเนินงานไม่ว่าจะก่อนหรือหลังปรับความเสี่ยงดีกว่ากองทุนรวมประเทศอื่นๆอย่างชัดเจน แต่ไม่มีข้อมูลจากกองทุนตราสารหนี้ว่ามีผลการดำเนินงานดีกว่าประเทศอื่นๆหรือไม่
ทั้งหมดนี้ คือ ข้อมูลเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมกับผลการดำเนินงานและการลงทุนของกองทุนรวมต่างๆในหลากหลายประเทศใน AEC คราวหน้าจะมาเจาะลึกแง่มุมไหนของกองทุนอีก อย่าลืมติดตามกัน!!!
- Vira –
อ้างอิง : บทวิจัย ค่าธรรมเนียมกับผลการดำเนินงานและการลงทุนในกองทุนรวม ใน AEC
ผู้วิจัย : ชวิน ชูสกุล ,สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์