ห้องเม่าปีกเหล็ก

ทรูประกาศงบ Q1 รายได้รวม 3.5 หมื่นล. กระแส WFH หนุนฐานลูกค้าระบบรายเดือนเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง

โดย เนเน่2021
เผยแพร่ :
50 views

กลุ่มทรูประกาศงบไตรมาส 1 มีรายได้รวม 35,425 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.7% จากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการเติบโตจากรายได้จากการให้บริการและรายได้จากการขายดีไวซ์ โดยรายได้จากการให้บริการโดยรวมเป็น 26,868 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.1% จากงวดเดียวกันในปีก่อน ด้วย รวมถึงฐานผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตที่เติบโตแข็งแกร่ง โดยได้รับอานิสงฆ์จากการ Work From Home ของผู้ใช้บริการ ขณะที่เทียบไตรมาส 4/2563 ลดลงเกิดจากผลกระทบตามฤดูกาลของรายได้จากการการขายดีไวซ์และรายได้จากธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักที่สูงในไตรมาส 4 หากไม่รวมรายการเหล่านี้ รายได้จะทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า

ทั้งนี้ ทรูมูฟ เอช มีจำนวนผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิ 5.81 แสนราย และรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้บริการรวมต่อเดือน เป็น 213 บาทในไตรมาส 1/2564 โดยขยายฐานผู้ใช้บริการรวมเป็น 31.2 ล้านราย แบ่งเป็นกลุ่มลูกค้าระบบเติมเงิน 21 ล้านราย และกลุ่มลูกค้าระบบรายเดือน 10.2 ล้านรายหนุนโดยการมุ่งเน้นการขยายฐานลูกค้าคุณภาพและการเปลี่ยนจากระบบเติมเงินเป็นรายเดือน

ส่วนธุรกิจการให้บริการบอดแบนด์ บริการอินเทอร์เน็ตและสื่อสารข้อมูลธุรกิจ มีรายได้เพิ่มขึ้น 10.1% จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยทรูออนไลน์ มีจำนวนผู้ใช้บริการสุทธิ 1.01 แสนรายในไตรมาส 1/2464 ขยายฐานผู้ใช้บริการเป็น 4.3 ล้านราย และมี ARPU ทรงตัวที่ 532 บาท

ด้านการบริการของทรูวิชั่นส์ รายได้ถูกกระทบจากโควิด-19 และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปใช้งานสื่อดิจิทัลและแพลตฟอร์ม OTT ส่งผลให้รายได้จากค่าสมาชิกและค่าติดตั้งอ่อนตัวเป็น 1.6 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 61% ของรายได้จากการให้บริการของทรูวิชั่นซึ่งทรงตัวจากไตรมาสก่อน

สิ่งที่ทรู ทำได้เหนือความคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ คือ  มาตรการบริหารค่าใช้จ่ายและ productivity ทั่วทั้งองค์กร  ส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงได้ถึง 6% และขาดทุนจากการขายสินค้าสุทธิลดลงกว่าครึ่งจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ EBITDA (กำไรจากการดำเนินงานที่อยู่ในรูปของเงินสด) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 14.1 พันล้านบาท

ขณะที่การเพิ่มขึ้นของต้นทุนใบอนุญาตการใช้งานคลื่นความถี่ 5G และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 137 ล้านบาท จากงวดปีก่อนกำไรจำนวน 357 ล้านบาท รวมถึงการเพิ่มขึ้นของต้นทุนใบอนุญาตการใช้งานคลื่นความถี่ 5G ซึ่งกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทในไตรมาสแรกปี 2564 ส่วนอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นเป็น 28.2% ในไตรมาส 1/2564 เทียบกับ 26.3% ในไตรมาส 4/2563 และ 26.5% ในไตรมาส 1/2563

นักวิเคราะห์หลายสำนักคาดการณ์ว่า หุ้นกลุ่มสื่อสาร การใช้งบลงทุนได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในปี 63 และมีแนวโน้มลดลงทั้งในปี 64 และ 65 และมองว่า 5G จะผลักดันรายได้ โดยมีปัจจัยบวกที่เชื่อว่าการที่ประชาชนอยู่บ้านมากขึ้น ซึ่งภาวะเช่นนี้จะช่วยหนุนรายได้จากการใช้บริการข้อมูลมือถือให้เพิ่มขึ้น (เป็นบวกกับผู้ประกอบการทุกราย) และ เป็นโอหาสในการหาลูกค้าบรอดแบนด์รายใหม่ๆได้เพิ่มขึ้น เอื้อให้ผลประกอบการหลักของ TRUE กลับมาพลิกฟื้นในระยะยาว แนะนำ “ซื้อเก็งกำไร” ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติมดังนี้ 

   1. กลุ่มสื่อสาร เป็นอุตสาหกรรมที่มีมาร์เก็ตแคปใหญ่ อันดับที่ 5 ของตลาดหุ้นไทย สามารถรองรับ Fund Flow ขนาดใหญ่ได้

   2. ราคาหุ้นในกลุ่มยัง Laggard เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นที่มีมาร์เก็ตแคปใหญ่ 

   3.การแพร่ระบาด โควิด-19 ในประเทศไทยส่งผลกระทบจำกัดหรืออาจได้ประโยชน์อ้อมๆจากการ Work From Home ของประชาชน


เนเน่2021