ห้องเม่าปีกเหล็ก

Top10 P/E P/BV ใช้เลือกหุ้นได้อย่างไร

โดย FahsaiME
เผยแพร่ :
52 views

                                     

                                        

         หากเราสนใจลงทุนในหุ้น คงขาดไม่ได้ที่จะใช้อัตราส่วนทางการเงินอย่าง P/E และ P/BV เพื่อตัดสินใจลงทุน ดังนั้น เรามาดูกันดีกว่า ว่าแต่ละตัวมีวิธีใช้อย่างไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

         

P/E คืออะไร ?

          P/E Ratio (Price to Earnings Ratio)  เป็นอัตราส่วนระหว่างราคาปัจจุบันเทียบกับกำไรที่บริษัททำได้ ซึ่งจะสะท้อนความถูกหรือแพงของหุ้น และระยะเวลาในการคืนทุน ณ วันนั้นๆ ซึ่ง P/E จะมีค่าที่เปลี่ยนแปลงทุกวันตามราคาปิด

 

วิธีคิด

  1. มูลค่ารวมของหุ้นหารด้วยกำไรสุทธิ (Market Cap/Net income)
  2. ราคาต่อหุ้นหารด้วยกำไรต่อหุ้น (Price/EPS)

ไม่ว่าจะคิดวิธีไหน ก็จะได้คำตอบเท่ากัน ลองสรุปความหมายให้เห็นภาพชัดๆ

ในทางกลับกัน..

         สรุปได้ว่า P/E ยิ่งต่ำยิ่งดี  ยกตัวอย่าง..หากเราฝากออมทรัพย์ 100 บาท ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี จะได้ P/E เท่ากับ 100/0.5 = 200 หมายความว่า กว่าเราจะได้คืนเงินต้นทั้งหมดต้องใช้เวลาอีก 200 ปี!!!

 

P/BV คืออะไร?

          P/BV Ratio (Price to Book Value Ratio) เป็นอัตราส่วนระหว่างราคาปัจจุบันเทียบกับมูลค่าตามบัญชีหรือส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท ซึ่งจะสะท้อนความถูกหรือแพงของหุ้น ณ วันนั้นๆ เช่นเดียวกับ P/E ดังนั้น ค่ายิ่งต่ำยิ่งดี


 วิธีคิดจะเหมือนกับ P/E ที่สามารถคำนวณได้ 2 แบบและได้คำตอบเท่ากัน

  1. มูลค่ารวมของหุ้นหารด้วยมูลค่าตามบัญชี (Market Cap/ Book Value)
  2. ราคาต่อหุ้นหารด้วยมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (Price/Book Value Per Share)

                   

          อัตราส่วนสองตัวนี้ นักลงทุนมักจะใช้ร่วมกันเสมอ โดยปกติ P/E และ P/BV จะมีค่าสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน แต่ก็ยังมีปัจจัยอีกหลายประการที่ส่งผลให้ ค่าทั้งสองแตกต่างกันได้ เนื่องจากจุดเด่นของ P/E ที่สามารถสะท้อนราคาได้เร็ว เพราะคำนวณจากกำไรสุทธิ ซึ่งทำให้เกิดข้อเสียในเรื่องของความผันผวน โดยเฉพาะช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ขณะที่ P/BV จะมีความเสถียรกว่า

 

ข้อควรระวัง!

การใช้  P/E และ P/BV ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบ ไม่ตายตัวตามคอนเซ็ปต์ยิ่งต่ำยิ่งดีเสมอไป บางครั้งหุ้นที่มีค่า P/E  P/BV ต่ำ อาจดูไม่น่าเชื่อถือเท่าหุ้นที่มีค่าสูงกว่า การพิจารณาจาก Top 10 เพียงส่วนเดียวคงไม่เพียงพอ ต้องควบคู่ไปกับเครื่องมือทางการเงินอื่นๆด้วย


FahsaiME