TU เผยไตรมาส 2/66 กำไรสุทธิลดลง
แต่กำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 8.2%
อนุมัติจ่ายปันผล 0.30 บาท ขึ้น XD 21 ส.ค.นี้

.
นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU เปิดเผยว่า ไตรมาส 2/66 บริษัทมีกำไรสุทธิ จำนวน 1,029 ล้านบาท ลดลง 36% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากรายการที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินการตามปกติของธุรกิจ ได้แก่ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เครดิตภาษีเงินได้ที่ลดลง รวมถึงผลกระทบจาก Dilution effect ของบริษัท ITC ซึ่งถูกชดเชยบางส่วนด้วยส่วนแบ่งขาดทุนจากธุรกิจ Red Lobster ที่ลดลงและรายได้อื่นที่เพิ่มขึ้น
.
อย่างไรก็ตามกำไรสุทธิปรับตัวเพิ่มขึ้นจากฐานที่ต่ำในไตรมาสก่อน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งของกำไรจากการดำเนินงาน โดยกำไรจากการดำเนินงานไตรมาส 22566 อยู่ที่ 1.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารลดลง 19.7% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากค่าขนส่งที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
มาตรการป้องกันกำไรของบริษัทฯ และไม่มีรายการพิเศษจากการปรับปรุงโครงสร้างโรงงาน รูเก้น ฟิช (86 ล้านบาท ในไตรมาส2/2565) โดยบริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขายลดลง อยู่ที่ 11.7% ในไตรมาส 22566 เทียบกับ 12.7% ในไตรมาส 2/2565
.
สำหรับ ยอดขายในไตรมาส 2/2566 ที่ 34.1 พันล้านบาท ลดลง 12.6% จากช่วงเดียวกันปีก่อนสาเหตุหลักจากยอดขายที่สูงในปีก่อน ปริมาณการขายลดลงในทุกกลุ่มธุรกิจหลักของบริษัทฯ และรายได้จากคำขนส่งที่ลดลงเป็นผลจากต้นทุนค่าขนส่งกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งบางส่วนถูกชดเชยด้วยการเติบโตของรายได้ใน ธุรกิจอาหารทะเลแปรูรูปโดยเฉพาะในยุโรปและตลาดในประเทศ
.
นายธีรพงศ์ กล่าวต่อว่า เริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวในหลายๆ ตลาดทั่วโลกในครึ่งหลังของปี 2566 และถึงแม้ว่าบริษัทต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ มากมายในช่วงครึ่งปีแรก งบดุลของไทยยูเนี่ยนยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่อง ด้วยอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนของบริษัทอยู่ที่ระดับ 0.64 เท่าในไตรมาส 2 ต่ำกว่าเป้าหมายที่เราตั้งไว้ที่ 1.0 เท่า ส่งผลให้เราสามารถจ่ายปันผลได้ คิดเป็นอัตราจ่ายการปันผลสูงถึง 70.3 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ
.
ในช่วงครึ่งปีหลัง ไทยยูเนี่ยนจะเดินหน้าแผนและมาตรการต่างๆ เพื่อเพิ่มระดับความสามารถในการทำกำไร โดยมุ่งบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการดำเนินงาน พร้อมลดต้นทุนในการผลิต เรายังเชื่อมั่นว่าเราจะสามารถทำผลงานได้ดีในระยะยาว และเมื่อเร็วๆ นี้บริษัทได้ประกาศกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน SeaChange 2030 ที่ตั้งเป้าหมายยาวไปถึงปี 2573 เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของโลก โดยเรามีการจัดสรรงบประมาณ 7,200 ล้านบาท เพื่อพลิกโฉมอุตสาหกรรมอาหารทะเลเพื่อผู้คนและโลกของเราอีกด้วย” นายธีรพงศ์กล่าวทิ้งท้าย