ธุรกิจของ ILINK และบริษัทย่อย แบ่งออกเป็น 3 ธุรกิจ ดังนี้
(1) ธุรกิจจัดจำหน่ายสายสัญญาณ (Distribution Business) เป็นธุรกิจหลักของบริษัทฯ โดยเป็นผู้นำเข้า และผู้จัดจำหน่ายสายสัญญาณสื่อสารคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม (Cablig) ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยจัดจำหน่ายสินค้ายี่ห้อชั้นนำอันดับต้นๆ ของโลกได้แก่ LINK และ COMMSCOPE (เดิมชื่อ AMP) และสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของบริษัทฯ ได้แก่ 19" GERMANY EXPORT RACK
(2) ธุรกิจวิศวกรรมโครงการ (Engineering Business) เป็นธุรกิจรับออกแบบ/ก่อสร้าง และรับเหมา งานโครงการสายเคเบิ้ลใต้น้ำ (Submarine Cable) ร่วมกับใยแก้วนำแสง (สาย Composite) หรือโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง รวมถึงงานโครงการระบบสายส่งไฟฟ้า (Transmission Line) สายไฟฟ้าใต้ดิน (Under Ground Cable) สถานีไฟฟ้าย่อย (Substation) หรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้ากำลัง
(3) ธุรกิจโทรคมนาคม (Telecom Business) แบ่งออกเป็น 3 ธุรกิจดังนี้ 3.1 การให้บริการโครงข่ายวงจรสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง (Data Service) 3.2 การให้บริการติดตั้งโครงข่ายโทรคมนาคม 3.3 การให้บริการพื้นที่ดาต้าเซ็นเตอร์ (Data Center)
เหตุการณ์ : ประชุมนักวิเคราะห์ วันที่ 26 ม.ค. 2561
ประเด็นสำคัญ :
1. ผู้บริหารได้วางเป้าหมายรายได้ของ ILINK ปี 2561 เท่ากับ 4,700 ลบ. +23% y-y มาจาก 3 ธุรกิจ ได้แก่
a. ธุรกิจ Distribution (จำหน่ายสายสัญญาณ) คาดรายได้ 2,400 ลบ. +19%y-y ปรับกลยุทธ์การขายด้วยการเข้าหาผู้ใช้โดยตรง จากเดิมจำหน่ายแบบ B2B ให้กับผู้รับเหมา (แนวโน้ม margin ลดลง) รวมถึงการเจรจากับผู้ผลิตในการควบคุมต้นทุนขายเพื่อรักษาระดับ GPM
b. ธุรกิจ Engineering (วิศวกรรมโครงการ) คาดรายได้เท่ากับ 1,100 ลบ. +52%y-y จากปัจจุบันมี backlog 3,180 ลบ.(ทยอยรับรู้ปี 2561- 2563) อย่างไรก็ดี GPM ลดลงจาก 15% เหลือ 8% เป็นไปตามความท้าทายทั้งจากปริมาณงานในระบบที่น้อย และการแข่งขันที่สูง
c. ธุรกิจ Telecom คาดรายได้ 1,200 ลบ. +13%y-y ขยายตัวตามปริมาณใช้งานลูกค้าเดิม และการหาลูกค้าใหม่ๆ (กลุ่มธนาคารและหน่วยงานภาครัฐ) ขณะที่ Genesis(ILINK ถือ 33%) จะเปิดให้บริการในปีนี้ จากปัจจุบันมีลูกค้าที่ตกลงไว้แล้ว 12% (อยู่ระหว่างเจรจาอีก 20%) แม้อาจจะยังไม่เห็นส่วนแบ่งกำไรในปีแรก
2. ผู้บริหารได้แถลงความคืบหน้างานระบบขนส่งรถไฟฟ้าอัตโนมัติ (APM) ที่บริษัทเป็นคู่สัญญากับ AOT พบว่า ส่วนงานก่อสร้างเดินหน้าช้ากว่าแผน บริษัทจึงต้องแก้ปัญหาด้วยการจัดหาผู้รับเหมารายใหม่ ส่งผลให้ต้นทุนโครงการสูงขึ้น (Cost overrun) และทำให้อาจต้องจ่ายค่าปรับเพิ่มเติมให้แก่ AOT (หากไม่สามารถเจรจาได้)
ความเห็น :
เรามองแนวโน้มผลประกอบการของ ILINK ค่อนข้างได้รับผลกระทบจากภาวะการแข่งขันที่สูงในอุตสาหกรรม ทำให้แนวโน้มอัตรากำไรในปี 2560-2562 อาจต่ำกว่าที่เคยทำได้ในอดีต และยังคงมีความเสี่ยงที่รายได้อาจไม่เข้าเป้า
ผลกระทบจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจะมีนัยยะต่อผลประกอบการใน 4Q60 ราว 150-200 ลบ. (อาจมีบางส่วนเลื่อนไปบันทึกอีกใน 1Q61) ซึ่งหากเทียบกับกำไรสุทธิงวด 9M60 เท่ากับ 135 ลบ. เมื่อรวมกับส่วนงานอื่นที่ยังมีกำไรทำให้ทั้งปี 2560 อาจเห็นปี 2560 ยังคงมีผลกำไรสุทธิ แต่จะลดลงมากเมื่อเทียบกับปี 2559 ที่มีกำไรสุทธิ 221 ลบ. และมีความเป็นไปได้ที่จะกระทบต่อการจ่ายปันผลรอบปี 2560
ผลประกอบการที่อาจออกมาต่ำกว่าคาด ในระยะสั้นเรามองราคา ILINK ค่อนข้างตึงตัว เทียบกับระดับ Trailing P/E ปัจจุบัน 26-27 เท่า (Target price concensus 18.5 บาท/หุ้น นั้นมีโอกาสปรับลงได้อีก) เราจึงเห็นว่ายังไม่ค่อยน่าสนใจนัก นักลงทุนจึงอาจพิจารณาชะลอการลงทุนไปก่อน แล้วรอติดตามสัญญาณฟื้นตัวจากผลดำเนินงานรายไตรมาส หรือปัจจัยบวกจากการโอกาสในการได้งานประมูลใหม่ๆ เช่น งานโครงการใต้น้ำ เป็นต้น
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : บล. Maybank KimEng