ห้องเม่าปีกเหล็ก

พอร์ต ดร.นิเวศน์ VS กองทุนประกันความเสี่ยงเรืองอนันต์

โดย ศักดิ์
เผยแพร่ :
66 views

เนื่องจาก ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เป็นนักลงทุนแบบ " เน้นคุณค่า "  และ "เน้นการเติบโต " ตามแบบฉบับของ Benjamin Graham, Warren Buffett และ Philip A. Fisher ที่มีชื่อเสียงที่สุดในเมืองไทย แต่ผู้โพสต์ไม่เคยกล่าวอ้างอิงถึง ดร.นิเวศน์เลยแม้แต่ครั้งเดียว ตั้งแต่เข้ามาโพสต์ใน Stock2morrow เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ปี พ.ศ 2560 มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องมาจากระยะเวลาการลงทุนของดร.นิเวศน์นั้น ยังสั้นอยู่มากเมื่อเปรียบเทียบกับนักลงทุนระดับตํานานโลกอย่าง Benjamin Graham, Warren Buffett และ Philip A. Fisher 

เนื่องจากหลักการลงทุนของผู้โพสต์ที่นํามาใช้ในการก่อตั้ง " กองทุนประกันความเสี่ยงเรืองอนันต์ ( RUANG-A-NUNT HEDGE FUND ) " นั้น เป็นแบบฉบับของจิม โรเจอร์ ที่เน้นการลงทุนใน " สิ่งที่ตัวเองมีความรู้ดี ", " แบบมุ่งเน้น " และ "การคาดการณ์  " และเริ่มนับผลตอบแทนของการลงทุนตั้งแต่ปี พ.ศ 2561 เป็นต้นไปจนถึงปี พ.ศ 2590 ซึ่งจะมีระยะเวลาการลงทุน 30 ปี

เพื่อเป็นการอ้างอิงในอนาคต ผู้โพสต์จึงจะนําผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนของ ดร.นิเวศน์ และผลตอบแทนของกองทุนประกันความเสี่ยงเรืองอนันต์ ( RUANG-A-NUNT HEDGE FUND ) มาเปรียบเทียบเป็นแบบปีต่อปี 

ทั้งนี้ ผู้โพสต์ขอเรียนชี้แจงเป็นการล่วงหน้าว่า " ผู้โพสต์ไม่มีวัตถุประสงค์อย่างอื่น นอกจากเป็นการเปรียบเทียบและนํามาอ้างอิงเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการลงทุนทั้งสองแบบ " เท่านั้น ดังนี้ คือ :

ผลตอบแทนของพอร์ตของดร.นิเวศน์ ประจําปี พ.ศ 2561 = -9.90% ( โดยมีที่มาจากหนังสือ ฝ่าวิกฤติหุ้น ด้วย VI พันธ์แท้ โดยดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ซึ่งเป็นหนังสือ Pocket Book เล่มล่าสุดของดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร )

ผลตอบแทนของ " กองทุนประกันความเสี่ยงเรืองอนันต์ ( RUANG-A-NUNT HEDGE FUND )"

ประจําปี พ.ศ 2561     = +19.30% ( หุ้น STEC ที่ 17.10 บาท เมื่อวันที่  30 เมษายน ปี พ.ศ 2561 ถึง 20.40 บาท เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ปี พ.ศ 2561 หรือปรับตัวเพิ่มขึ้น ( 20.4 - 17.1 ) / 17.1 x 100 = 19.30%  )

ความแตกต่าง            =   ( -9.90  ) - 19.30 % =-29.20%

อนึ่ง ความแตกต่างทางด้านความคิดระหว่าง ดร.นิเวศน์ และผู้โพสต์มี ดังนี้ คือ :

1) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ :  ไม่มีผลชี้นําต่อตลาดใดๆทั้งสิ้น ( ดร.นิเวศน์ )  : มีผลชี้นําโดยตรงต่อตลาด ( ผู้โพสต์ ) 

2) แนวโน้ม Fed Fund Rate : ไม่มีผลต่อตลาด ( ดร.นิเวศน์ ) : มีผลต่อตลาด ( ผู้โพสต์ ) 

3) ธุรกิจค้าปลีก : ดีที่สุด ( ดร.นิเวศน์ ) : กําลังอยู่บนดอย ( ผู้โพสต์ ) 

4) ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทย : ไม่ดีเพราะทําเพื่อชาติ ( ดร.นิเวศน์ ) : ดีเพราะเป็นขาขึ้นรอบใหญ่ในช่วงปี พ.ศ 2561 - 2563 ( ผู้โพสต์ ) 

5) Derivatives : ไม่ดีเพราะเป็นการพนัน ( ดร.นิเวศน์ ) : ดีเพราะเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนดีถ้าเล่นได้อย่างถูกทิศถูกทาง( ผู้โพสต์ ) 

5) ธุรกิจถ่านหิน : ไม่ดีเพราะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ( ดร.นิเวศน์ ) : ดีเพราะเป็นขาขึ้นรอบใหญ่เพราะเศรษฐกิจจีนเป็นขาขึ้นรอบใหญ่ในช่วงปี พ.ศ 2565 - 2570 ( ผู้โพสต์ ) 

6) ประเทศเวียตนาม : ประเทศเวียตนามดีกว่าประเทศไทย ( ดร.นิเวศน์ ) : ประเทศไทยดีกว่าประเทศเวียตนาม ( ผู้โพสต์ ) 

หมายเหตุ :  1) หุ้นตัวหลักของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร น่าจะเป็น " CPALL "  ที่ปรับตัวขึ้นมาหลายปีดีดักจนน่าใกล้ถึงยอดดอยเต็มทีแล้วความเห็นส่วนตัวของผู้โพสต์ โดยปรับตัวขึ้นไปทําจุดสูงสุดตลอดกาลที่ 90 บาท เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ปี พ.ศ 2561 ส่วนหุ้นตัวหลักของกองทุนประกันความเสี่ยงเรืองอนันต์ ( RUANG-A-NUNT HEDGE FUND ) คือ " STEC" ซึ่งพึ่งปรับตัวขึ้นมาจากเหวนรกตามความคิดเห็นส่วนตัวของผู้โพสต์เช่นเดียวกันที่  17.10 บาท เมื่อวันที่ 30 เมษายน ปี พ.ศ 2561


                 2) หรือถ้าจะมีการเปรียบเทียบเฉพาะในปี พ.ศ 2562 เมื่อ CPALL ปิดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ปี พ.ศ 2561 ที่ 68.75 บาท แล้วปรับตัวขึ้นมาปิดที่ 75.75 บาท เมื่อวันที่ 1 เมษายน ปี พ.ศ 2562 หรือปรับตัวขึ้นมา +10.18% ส่วน STEC ปิดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ปี พ.ศ 2561 ที่ 20.40 บาท  แล้วปรับตัวขึ้นมาปิดที่ 22.70 บาท เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ปี พ.ศ 2562 หรือปรับตัวขึ้นมา +11.27% และ Long S50M19 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ปี พ.ศ 2562 ที่ 1,082.4 จุด มาปิดที่ 1,088.5 จุด เมื่อวันที่ 1 เมษายน ปี พ.ศ 2562 หรือกําไร = ( 1,088.5 - 1,082.4 ) x 200 / 11,058 x 100 = 11.03% แล้วเอาไปรวมกับ +11.27% = +22.30%


                3) โปรดติดตามการ Long Set 50 Index Futuresในระยะยาวได้ใน longtunbysak.blogspot.com

 

            


ศักดิ์