สมรภูมิ Digital Health ที่จะเปลี่ยนเกม Healthcare

ตลาด Healthcare ทั่วโลกดูจะคึกคักขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีรายเล็กรายใหญ่เข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Digital Health คือการนำเอาเทคโนโลยีมายกระดับบริการให้บริการทางการแพทย์ลดความแออัดในโรงพยาบาล
ในช่วงโควิด ความนิยมในการใช้บริการ Telehealth คือบริการทางการแพทย์แบบ online ในสหรัฐอเมริการเติบโตขึ้นถึง 38 เท่าเมือเทียบกับช่วงก่อนโควิด เกือบครึ่งหนึ่งของคนไข้ที่เคยใช้บริการโรงพยาบาลเลี่ยงที่จะเข้ารับการรักษา บริการ on demand ผ่านการปรึกษาแพทย์แบบออนไลน์จึงได้รับความนิยมสูงขึ้นมาก
การลงทุนด้าน digital health ทั่วโลกเติบโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ มีการลงทุนสูงถึง 57,200 USD หรือราวๆ 1.9 ล้านล้านบาท ในปี 2021 โตขึ้นจากปี 2022 ถึง 79%
ในประเทศไทยเอง ธุรกิจด้าน digital health โดยเฉพาะอย่างยิ่ง telehealth คือบริการดูแลคนไข้จากระยะไกลถือเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพสูง ได้รับความนิยมมากขึ้นเช่นกัน ด้วยปัจจัยเร่งจากโควิดทำให้แนวโน้มการดูแลสุขภาพกลายเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพอันดับต้นๆ มีช่องว่างที่พัฒนาได้อีกมาก
ทำไมใครๆ ก็เล็ง Digital Health
จากรายงานของ INSEAD เรื่องภาพรวมอุตสาหกรรมในกลุ่ม 4 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ อินโดนีเซีย เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ ระบุว่าคนไทยใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพสูงกว่าอีก 3 ประเทศถึง 2 เท่า ประกอบกับอัตราการเติบโตของการใช้อินเตอร์เน็ตในภูมิภาคนี้ และปัจจัยเร่งจากโควิด
เมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมาเราจะเห็นแต่ startup เข้ามาเล่นในตลาดนี้ หรือไม่ก็เป็นบริการที่โรงพยาบาลทำขึ้นเอง เพิ่งจะ 1-2 ปีนี้ที่มีผู้เล่นรายใหญ่จากอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่ Health เปิดตัวแพล็ตฟอร์มด้านสุขภาพกันอย่างต่อเนื่อง เป็นการยืนยันความน่าสนใจของตลาดนี้ได้เป็นอย่างดี
ในฝั่งสตาร์ทอัพ แพล็ตฟอร์มด้านสุขภาพมีไม่น้อย เช่น Sharmble แพล็ตฟอร์มเฉพาะด้านโรคเรื้อรังที่มีบริการทั้งขายส่งและขายปลีกยาออนไลน์ ooca แพล็ตฟอร์มปรึกษาด้านสุขภาพจิตออนไลน์ Arincare ระบบบริหารร้านขายยา Raksa แอพลิเคชั่นเบอร์ 1 ของประเทศไทยในด้านหาหมอซื้อยาออนไลน์ เพิ่งถูก Doctor Anywhere สตาร์ทอัพด้าน health tech รายใหญ่จากสิงคโปร์ที่เพิ่งระดมทุนรอบ series C ไปประมาณ 2.2 พันล้านบาท เข้าซื้อกิจการไปเรียบร้อยโดยไม่เปิดเผยมูลค่า และอีกมากมาย
ส่วนผู้เล่นจากอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็ทยอยตบเท้าเข้ามา อาทิ เออาร์วี บริษัทลูกของปตท.ที่เปิดตัว B-Med X แพล็ตฟอร์มดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ยาพร้อม การรวมตัวเป็นพันธมิตรของหลายบริษัทที่เชื่อมร้านขายยา เภสัชกร และผู้ป่วยเข้าหากัน
บริการเหล่านี้ล้วนเป็นบริการที่จะทำให้คนไข้มีชีวิตที่ดีขึ้น ลดความแออัดในโรงพยาบาล ช่วยลดงานของหมอและพยาบาล สิ่งที่ต้องฝากไว้คือบริการทางการแพทย์เป็นบริการที่อยู่ภายใต้การควบคุม หรือมี Regulatory ดังนั้นกฎกติกาใดๆ ควรปรับปรุงให้ทันโลก ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
การให้บริการ digital health ในปัจจุบันยังกระจุกตัวอยู่ในเมือง ยังไปไม่ถึงพื้นที่ห่างไกลที่ขาดบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ ด้วยช่องว่างด้านเทคโนโลยีที่ยังมีอยู่สูง นี่จึงเป็นความท้าทายของผู้เล่นทุกคนที่เข้ามาในตลาดนี้ว่าจะสามารถเข้าถึงคนกลุ่มใหญ่ของประเทศได้อย่างไร ใครก็ตามที่ทำได้ก่อน ย่อมกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลในตลาดสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไมได้!
อรพิมพ์ เหลืองอ่อน Managing Partner/Venture Builder-Aimspire บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจและบริหารนวัตกรรม
