คำว่า “ความเสี่ยง” อาจไม่ใช่อย่างที่คุณเข้าใจ!
เวลาพูดถึงคำว่า “ความเสี่ยง” คุณนึกถึงอะไร? ในกลุ่มนักลงทุนมือใหม่หลายๆคนให้นิยามกับคำนี้ง่ายๆว่าเป็นโอกาสขาดทุน หรือโอกาสที่ราคาก็ตกลงไปต่ำกว่าทุนนั่นเอง แต่ที่จริงแล้วในวงการตลาดทุน “ความเสี่ยง” คือตัวชี้วัด “ความผันผวน” ของราคาหรือมูลค่าพอร์ต
ก่อนจะอธิบายเพิ่มเติม เรามาดูประโยชน์ของการเข้าใจคำว่า “ความเสี่ยง” กันดีกว่า
สมมุติว่าเราต้องเลือกซื้อ กองทุน แน่นอนแหละ สิ่งที่เราต้องการรู้เป็นอย่างแรกคือกองทุนมีความสามารถในการสร้าง ผลตอบแทนหรือกำไร ได้มากแค่ไหน เพราะว่าจุดประสงค์หลักของการลงทุน ก็ต้องเพื่อกำไร! แล้วถ้าเกิดมีกองทุนที่มีผลตอบแทนใกล้เคียงกัน แบบตัวอย่างข้างล่างนี้หละ? เราควรจะเลือกกองไหนดี และด้วยเหตุผลอะไร?
ถ้าดูเพียงผิวเผินอาจจะมองว่า ไม่ว่าจะซื้อกองทุน BTP หรือ TSF ก็มีค่าเท่าๆกัน จะคิดมากทำไม เพราะจากกราฟก็ดูหน้าตาไม่ต่างกันนัก ผลตอบแทนก็ดูเท่าๆกัน แต่นี้แหละ คือสิ่งสำคัญของการคำนวนค่าความเสี่ยง หรือความผันผวนของราคา เพราะ นักลงทุนที่สามารถสร้างกำไรในตลาดทุนได้อย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่คนที่ทำกำไรได้มากที่สุด แต่เป็นคนที่รู้จักควบคุมความเสี่ยงในการลงทุนได้
งั้นมาดูกันดีกว่า ว่าความเสี่ยงเนี่ย มันคำนวณยังไง
เห็นสูตรแล้วอย่าเพิ่งตกใจ จนรีบปิดกันไป ! เดี๋ยวอธิบายให้ฟัง
อย่างที่ได้พูดถึงก่อนหน้านี้ว่า ความเสี่ยง คือความผันผวนของราคา ซึ่งก็คือ การวัดความเบี่ยงเบนในการเปลี่ยนแปลงของ ราคาในแต่ละวัน ( ) นั้นต่างจากการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ย (
) มากน้อยเท่าใดจากนั้นก็ ยกกำลัง 2 เพื่อให้เป็นผลบวกทั้งหมด และ หารด้วย จำนวนวัน (
) เพื่อเป็นการเฉลี่ย จากนั้นค่อยถอดสแควรูทเพื่อชดเชยกับการที่เรายกกำลัง 2 ก่อนหน้านี้ เลยเป็นที่มาของสูตรข้างบน
พอคำนวณ ออกมาจะพบว่า ความเสี่ยงของ กองทุน TSF สูงกว่า กองทุน BTP เล็กน้อย (
) ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีจากกราฟ ผลตอบแทน จะเห็นได้ว่า ผลตอบแทน ของกองทุน TSF มีความผันผวน มากกว่าจริง ซึ่งก็สอดคล้องกับกราฟ การกระจายตัวของเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนของมูลค่าหน่วยลงทุน ข้างใต้นี้ ที่กองทุน BTP จะมีความกระจุกตัวที่ค่าเฉลี่ยมากกว่ากองทุน TSF
สรุปแล้วเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง กองทุน TSF กับ กองทุน BTP ที่มีผลตอบแทนใกล้เคียงกัน แต่เพราะกองทุน BTP มีความผันผวนที่น้อยกว่า จึงทำให้ กองทุน BTP เป็นตัวเลือกที่มีความน่าสนใจในการลงทุนมากกว่า จากการวิเคราะห์บนพื้นฐาน ผลตอบแทน และ ความเสี่ยง
เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเวลาโบรกเกอร์แนะนำกองทุน ก็อย่าลืมถามถึง กันด้วยล่ะ เพราะเราควรลงทุนในกองที่ไม่ใช่แค่ได้ผลตอบแทนที่ดี แต่มีความสม่ำเสมอในการสร้างผลตอบแทนด้วย
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข้อมูลจาก