“เอเซีย พลัส” มองเงินต่างชาติไหลเข้าต่อ ย้ำชัดปีนี้ SET Index ทะยาน 1810 จุด พร้อมคัด 6 หุ้นเด่นที่ควรมีไว้ในพอร์ต
ในงานนักวิเคราะห์พบสื่อ ไตรมาส 2/65 อัปเดตสถานการณ์การลงทุน ไทยและต่างประเทศพร้อมจัดพอร์ตลงทุนในไตรมาส 2 ของบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ที่ยังคงเป้า SET Index ปีนี้ 1810 จุด ชี้ตลาดหุ้นไทยยังมีความได้เปรียบเพียบ โดยหุ้นที่จะเติบโตอย่างโดดเด่นจะเป็นหุ้น ที่อิงกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจัยที่นักลงทุนจะเห็นต่อจากนี้ เริ่มจาก 1. ตลาดหลักทรัพย์ฯได้เพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลหุ้นที่ติด T1, T2, T3, ให้เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งมีโอกาสทำให้ขึ้นขนาดเล็ก จะโดนกดดันทำให้ราคาปรับขึ้นได้ยาก จึงอาจจะทำให้นักลงทุนมีการย้ายมาลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่มากขึ้น
โดยประเมินว่าการปรับมาตการครั้งนี้มุ่งเน้นช่วยลดความร้อนแรงของหุ้นที่มีความเคลื่อนไหวผิดปกติลง และเป็นการสกัดกั้น การทำราคา ถือเป็นการลดความเสี่ยงให้กับนักลงทุน พร้อมกับ หนุนให้นักลงทุนหันมาโฟกัสที่ Valuation มากขึ้น หรือหุ้นขนาดใหญ่มากขึ้น และยังสอดคล้องกับสถิติในอดีตช่วงเวลาที่ใช้นโยบายการเงินตึงตัว หุ้นขนาดใหญ่มักให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นขนาดเล็ก
2.ในอดีตเวลา Real Yield พลิกกลับมาเป็นบวก ราคา Commodity มีโอกาสปรับลงต่อจากนี้ ในกรณีที่นโยบายการเงินตรึงตัวขึ้นเรื่อย ๆ ถือเป็นการตอกย้ำว่า ราคาน้ำมันผ่านพ้นจุดสูงสุด ดังนั้นหุ้นที่เกี่ยวกับต้นทุนน้ำมันที่มีความกังวลในช่วงที่ผ่านมา มีโอกาสที่จะพลิกกลับมาได้
3.ต้องคอยระวังสัญญาณ Inverted Yield Curve มักจะกดดันให้ตลาดหุ้นผันผวนเป็นระยะๆ ซึ่งปัจจุบัน Spread Bond Yield 10 ปี กับ 2 ปี ของสหรัฐแคบลง เรื่อยๆ ถ้าพลิกลงไปติดลบ อาจทำให้นักลงทุนกลับมากังวลว่าจะเป็นสัญญาณนำไปสู่เศรษฐกิจชะลอตัวในระยะ 9 ถึง 14 เดือน ข้างหน้าได้ ขณะที่ในระยะสั้นช่วงก่อนเกิด Inverted Yield Curve หุ้นมักปรับตัวลดลง แต่จะลงไปเรื่อยจนถึงจุดต่ำสุด หรือเห็นการฟื้นกลับของ Inverted Yield Curve แม้ว่ายังเกิด Inverted Yield Curve แต่ถ้าเอียงกลับขึ้นมาหุ้นอาจจะกลับมา outperform ได้ รวมถึงหากไม่เกิดแล้วหุ้นก็มีโอกาสขึ้นต่อ
ขณะที่ Fund Flow ยังหนุนตลาด อย่างเช่นผ่านไป 1 ไตรมาส ต่างชาติซื้อหุ้นไทยทุกเดือน และซื้อเยอะสุดในภูมิภาค แต่อย่างไรก็ตามก็ยังเห็นแรงขายของสถาบันที่ขายสวนลงทุน แทบจะเท่ากับแรงซื้อต่างชาติ เนื่องจากเป็นปีที่ครบกำหนดการไถ่ถอนกองทุน LTF ของปี 2559 มูลค่ารวมกว่า 5 - 6 หมื่นล้านบาท แต่ยังมีการขายต่อเกินระดับดังกล่าว แสดงให้เห็นว่ากองทุนมีมุมมองว่านับจากนี้ตลาดหุ้นน่าจะขยับขึ้นได้ยาก ทำให้ถือเงินสดไว้จำนวนมาก
อย่างไรก็ตามปัจจุบันกองทุนถือเงินสด ณ สิ้นเดือนก.พ.มีกองทุนที่ถือเงินสดในสัดส่วนที่สูงกว่า 20% ถึง 21 กองทุนจาก 370 กองทุน คิดเป็น 3.2 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 5.52% ต่อเงินลงทุนทั้งหมด ถือว่าอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับภาวะปกติที่ถือครองเงินสดราว 2-3% อีกทั้งยังเห็นแรงขายสุทธิต่อเนื่องในเดือน มี.ค. 65 ยังมีการขายต่อเนื่องท แสดงว่าปัจจุบันกองทุนถือเงินสดในสัดส่วนที่สูงขึ้นไปอีกกว่า 5-6% อย่างไรก็ตามหากมีประเด็นดีขึ้น และเริ่มผ่อนคลายลง เงินสดตรงนี้อาจจะพลิกกลับมาเป็นซื้อได้
ดังนั้นจึงเชื่อว่าเม็ดเงินจาก Fund Flow ยังมีโอกาสไหลเข้าต่อ ขณะที่แรงขายจากกองทุนมีโอกาสลดน้อยลง โดยกองทุนที่ถือเงินสดจำนวนมาก น่าจะกลับมาพยุง SET ได้
นอกจากนี้ยังมีแรงขับเคลื่อนจากกำไรบริษัทจดทะเบียน ที่สวนทางกับ GDP ที่ยังไม่ฟื้นเหนือ COVID-19 โดยกำไรบริษัทจดทะเบียนในปีที่ผ่านมาทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 1.04 ล้านล้านบาท สูงกว่า 21.3% เมื่อเทียบกับปี 2562 ช่วงก่อนเกิด COVID-19 อยู่ที่ 8.62 แสนล้านบาท เนื่องจากมีหุ้นใหม่ที่เพิ่มเข้ามา โดยในช่วง COVID-19 มีบริษัทใหม่เพิ่มเข้ามาราว 38 บริษัท ที่ทำกำไรได้ราว 5.8 หมื่นล้านบาทและยังมาจากกำไรของหุ้น THAI ปี 2564 อีก 5.5 หมื่นล้านบาท ถ้าหัก 2 ส่วนนี้ออกกำไรบริษัทจดทะเบียนปี 2564 จะเหลือ 9.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.1% เมื่อเทียบกับปี 2562 แสดงว่าบริษัทจดทะเบียนมีการรับมือกับ COVID-19 ได้ดี
ทั้งนี้แนวโน้มกำไรปี 2565 เบื้องต้นฝ่ายวิจัยฯ ประเมิน EPS 88.9 บาท/หุ้น มีส่วนเพิ่มจากราคาน้ำมันที่ยืนในระดับสูงอีก 4 ถึง 5 บาท/หุ้น ตามสมมุติฐานฝ่ายวิจัยในระยะยาวให้ไว้ที่ 65 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่ว่าในช่วงต้นที่ผ่านมาปรับขึ้นไปเฉลี่ย 93.9 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้ EPS มีส่วนเพิ่มได้อีกราว 4 ถึง 5 บาท/หุ้น
ขณะที่มองว่า หุ้นที่จะเติบโตอย่างโดดเด่นจะเป็นหุ้น ที่อิงกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศอาทิ TRANS, CONS, INSUR, FOOD, COMM, ETRON, PROP เป็นต้น ที่น่าสะสม เพราะจะเห็นการเปิดประเทศมากขึ้นต่อจากนี้
นอกจากนี้ความได้เปรียบอีกอย่างหนึ่งนอกจากกำไรที่แข็งแรงแล้ว valuation ในช่วงต้นปีหุ้นไทยยังขึ้นมาไม่เยอะ มีความน่าสนใจ ณ ดัชนีปัจจุบัน 1685 จุด ยังมีความน่าสนใจ เนื่องจากมี Market Earning Yield Gap ของไทยที่ 4.6% (สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต) แสดงว่าตาม valuation ตลาดหุ้นไทยในปัจจุบันยังน่าลงทุน แต่ถ้าเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ดอกเบี้ยประเทศไทยยังทรงตัวระดับต่ำ แต่ต่างประเทศภายใต้ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐจะมีโอกาสปรับขึ้นอีก 5-7 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี แต่ไทยยังไม่ขึ้น ทำให้พบว่า Market Earning Yield Gap ตลาดหุ้นโลก (MSCI World) ที่แคบลง แปลว่าไม่น่าลงทุนเท่าไหร่ หากเผชิญกับนโยบายการเงินที่ตรึงตัว ขณะที่ไทยปลอดภัยมีโอกาสทำให้ Market Earning Yield Gap ปรับขึ้นไปด้วย ถือเป็นความได้เปรียบของตลาดหุ้นไทยถือเป็นอีกแรงหนุน Fund Flow
ดังนั้นประเมินเป้าหมายดัชนีปี 2565 ยังคงไว้ที่ 1810 จุด อยู่ในระดับ Market Earning Yield Gap 4.3% (สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 4%) โดยในเชิงพื้นฐานจากแรงขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพจากการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียน รวมทั้งแรงหนุนจาก Fund Flow ที่ไหลเข้าต่อเนื่อง จึงมีโอกาสทำให้สามารถฝ่านฟันอุปสรรคเข้าไปได้
หุ้นเด่นที่แนะนำ ส่วนใหญ่ธีมไฮซีซั่น มีความมั่นคงในเรื่องของปันผล รวมทั้งกระแสเปิดเมือง แนะนำ
AEONTS โดยค่า P/E ถือว่าถูก 11-12 เท่า ขณะที่ dividend yield 2.5-2.8% ส่วนประเด็นราคาหุ้นมาพร้อมกับธีมการเปิดเมือง เศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งส่งผลบวกต่อสินเชื่อ กำหนด FV เท่ากับ 250 บาท
MAJOR จากภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์หลายเรื่องที่ฉายในปีนี้ ที่จะผลักดัน กำหนด FV เท่ากับ 25.00 บาท
GPSC กำหนด FV เท่ากับ 86.50 บาท/หุ้น นับเป็นอีกหนึ่งหุ้นที่ได้รับ sentiment เชิงบวกในด้านมาตรการสนับสนุน EV ของทางภาครัฐ
SAPPE แรงหนุนเข้าสู่ไฮซีซั่นช่วงไตรมาส 2 ตลาดส่งออกมีแรงหนุน จากเงินบาทอ่อนค่า ขณะที่ในเชิง Valuation มี PER ซื้อขาย 19 เท่า ต่ำกว่า ICHI ที่ 24 เท่า และ CBG, OSP ราว 30 เท่า กำหนด FV เท่ากับ 30.00 บาท
SCC ถือเป็นหุ้นที่ควรมีในพอร์ต งบลงทุนที่ถูกใช้ไปกว่า 3 แสนล้านบาท ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมากำลังเข้าสู่ช่วงเริ่มต้นของการเก็บเกี่ยวผลตอบแทนการลงทุน กำหนด FV เท่ากับ 500 บาท
และLH ให้ FV ปี 2565 อยู่ที่ 11.00 บาท โดยภาพรวม LH จ่ายเงินปันผลอัตราสูง 6% ต่อปี ถือเป็นอีกหนึ่งตัวที่ควรมีไว้ในพอร์ต โดยไม่ผันผวนในด้านโครงสร้าง