ห้องเม่าปีกเหล็ก

AI กับอนาคตของแรงงานไทย: โอกาส หรือ ทางตัน?

โดย ทะลุมิติ
เผยแพร่ :
29 views

AI กับอนาคตของแรงงานไทย: โอกาส หรือ ทางตัน?

AI ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่คือ “แรงสั่นสะเทือน” ที่เปลี่ยนวิธีทำงานไปทั้งระบบ และคำถามใหญ่ของไทยคือ… เราพร้อมหรือยัง?

 

เมื่อ AI ไม่ได้มาแทนที่ “แรง” แต่มาแย่ง “สมอง”

AI ไม่เหมือนเครื่องจักรในอดีตที่แทนที่แค่แรงงานกาย แต่ AI ในวันนี้โจมตี “งานซ้ำซากทางความคิด” ที่มีขั้นตอนชัดเจน ทำซ้ำได้ง่าย — และนั่นคือ กลุ่มงานที่เสี่ยงสูงที่สุด ที่จะถูกแทนที่ในไทย เช่น

งานเอกสาร คอลเซ็นเตอร์ แคชเชียร์ในห้าง และพนักงานบริการลูกค้า

Goldman Sachs คาด 15% ของงานในไทย อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง

แต่ในขณะเดียวกัน… AI ก็สร้างงานใหม่เช่นกัน

โดย PwC คาดว่า AI จะสร้างงาน 7.2 ล้านตำแหน่งทั่วโลกในปี 2037

 

 

งานแบบไหน “รอด” จาก AI?

ตามทฤษฎี ALM (Autor, Levy, Murnane): AI เก่งงานที่ ซ้ำซาก มีขั้นตอนตายตัว กลับกันงานที่ใช้ อารมณ์ การตัดสินใจ และความคิดสร้างสรรค์ ยังรอด เช่น บุคลากรแพทย์ ครู นักออกแบบ

• World Economic Forum ชี้ว่า “การศึกษา” และ “สุขภาพ” คือสายงานที่เสี่ยงน้อยที่สุด

 

งานไม่ได้หาย…แต่มาในรูปแบบใหม่

AI ไม่ได้ทำให้โลกไร้งาน แต่มันกำลังสร้างงานแบบใหม่ที่ต้องใช้ทั้งคนและเทคโนโลยีร่วมกัน มนุษย์ยังสำคัญ แต่บทบาทเปลี่ยนไป โดยในไทยเริ่มเห็นแล้ว:

• พนักงานโรงแรมที่มีแชตบอตช่วยตอบลูกค้า

• หมอใช้ AI วิเคราะห์ผลตรวจเพื่อวินิจฉัยได้เร็วขึ้น

• แรงงานสายใหม่กำลังเป็นที่ต้องการ เช่น Data Analyst, UX Designer, Machine Learning Engineer

 

ไม่ใช่ไม่มีงาน…แต่ไม่มี “คนที่พร้อมทำงาน”

ผลสำรวจ PwC พบว่า: 61% ของ CEO มองว่า AI จะเปลี่ยนธุรกิจภายใน 3 ปี แต่มีแค่ 36% ที่เริ่มใช้จริง → เพราะ 58% “ขาดคนที่มีทักษะด้าน AI”

รวมถึงไทยยังล้าหลังด้านโครงสร้าง:

• ไทยมี data centers เพียง 41 แห่ง(เทียบกับฝรั่งเศส 205 แห่ง)

• อยู่ที่ อันดับ 35 ของโลกด้านความพร้อมดิจิทัล

• แรงงานส่วนใหญ่ยังขาดทักษะพื้นฐานด้านดิจิทัล

 

AI ไม่ใช่หายนะ—แต่เป็นทางเลือก แรงงานไทยจะอยู่ตรงไหนในโลกที่ AI เป็นใหญ่?

เทคโนโลยีเปลี่ยนวิธีทำงานมาหลายร้อยปี จากเครื่องจักรไอน้ำถึงสายพานการผลิต และวันนี้ถึงคราวของ AI ที่ไม่เพียงทำงานแทนแรง แต่เริ่มแทน "สมอง" คน

คำถามเดิมจึงกลับมา—แต่เร่งด่วนกว่าเดิม: AI จะสร้างงาน หรือทำลายงานกันแน่?

งานประจำ = งานที่หายไปก่อน

งานที่ทำซ้ำได้ ถูกแทนที่ได้ง่าย

เจ้าหน้าที่ call center

พนักงานบัญชีระดับต้น

พนักงานคิดเงิน

คือกลุ่มแรกที่ AI เริ่มเข้ามาแทน

ตามหลัก ALM Hypothesis งานที่ “มีรูปแบบตายตัว” คือจุดอ่อน และแรงงานไทยจำนวนมากอยู่ตรงจุดนั้น AI ไม่ได้แย่งงาน แต่เปลี่ยนวิธีทำงาน

อุตสาหกรรมที่ใช้ AI มีผลิตภาพเพิ่ม 4.8 เท่า

ตำแหน่งเกี่ยวกับ AI โตเร็วกว่าค่าเฉลี่ยถึง 3.5 เท่า

พนักงานโรงแรมในภูเก็ตเริ่มใช้ AI จองห้องพัก

หมอในโรงพยาบาลรัฐใช้ AI อ่านผลสแกน

มนุษย์ไม่จำเป็นต้องถูกแทนที่—แต่ต้อง "ร่วมมือ" กับ AI

ปัญหาคือไม่ใช่งานหาย แต่ “คนยังไม่พร้อม”

61% ของผู้บริหารในไทยบอกว่า AI จะเปลี่ยนธุรกิจใน 3 ปี แต่มีเพียง 36% ที่เริ่มลงมือจริงเหตุผลหลัก? 58% บอกว่า "ขาดคนที่มีทักษะ"

และเมื่อมองลึก…ไทยมี data center แค่ 41 แห่ง เทียบกับฝรั่งเศสที่มี 205 แห่ง

แรงงานจำนวนมากยังขาดแม้แต่ทักษะพื้นฐานด้านดิจิทัล นี่คือสัญญาณชัดว่า ไทยไม่ขาดงาน แต่ขาดคนที่พร้อมทำงานในโลกใหม่

AI ไม่ใช่โชคชะตา…แต่มันคือ “บทพิสูจน์”

เราจะใช้มันเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ หรือปล่อยให้มันขยายรอยร้าว จะยอมเสียเปรียบในเกมเดิม หรือจะลุกขึ้นมาเขียนกติกาใหม่

จะไปต่อหรือถูกทิ้งไว้ข้างหลัง…ขึ้นอยู่กับว่าเราจะปรับตัวอย่างไรตั้งแต่วันนี้

.

เรื่องและภาพ: อาชวี เอี่ยมสุนทรชัย Economist, Bnomics

════════════════

 

ขอบคุณที่มาเนื้อหาข้อมูลจาก.. Bnomics by Bangkok Bank


ทะลุมิติ