ห้องเม่าปีกเหล็ก

ลุ้นวันนี้! 6 หุ้นโรงไฟฟ้ารายใหญ่ตัวเต็ง

โดย เม่าคาวบอย
เผยแพร่ :
784 views

ลุ้นวันนี้! 6 หุ้นโรงไฟฟ้ารายใหญ่ตัวเต็ง

รับข่าวดี กกพ.ประกาศชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติ

จ่อคิวคว้าใบอนุญาตขายไฟรวม 5,200 MW

 

.

บริษัท หลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ระบุว่าวันนี้ กกพ.ประกาศรายชื่อผู้ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติขายไฟฟ้า 5,200 MW: โครงการนี้มีผู้ประกอบการเสนอขายไฟฟ้ารวม 17,400MW มากกว่าที่ภาครัฐเปิดประมูลถึง 3 เท่า ซึ่งวันนี้ กกพ.จะประกาศรายชื่อผู้ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติและจะประกาศรายชื่อผู้ชนะในวันที่ 22 มี.ค.2566โดยมี GULF GPSC BGIRM RATCH EA และ GUNKUL เป็นกลุ่มตัวเต็ง

.

ล่าสุด นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า การยื่นคำขอผลิตไฟฟ้าและยืนยันการยื่นคำเสนอขายไฟฟ้าพร้อมเอกสารหลักฐานแสดงคุณสมบัติ และข้อมูลความพร้อมทางด้านเทคนิคพร้อมเอกสารหลักฐานผ่านระบบ RE Proposal (ระบบ REP) ซึ่งเปิดให้ยื่นคำเสนอขายไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย.65 เวลา 00.01 น. จนถึงวันที่ 25 พ.ย.65 เวลา 12.00 น. รวม 22 วัน

.

โดยที่ผ่านมานั้น ภายหลังสำนักงาน กกพ. ได้ปิดระบบ REP แล้ว มีผู้ยื่นคำเสนอขายไฟฟ้า รวม 670 โครงการ แบ่งเป็น (1) ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) จำนวน 272 โครงการ และ (2) ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) จำนวน 398 โครงการ คิดเป็นปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายรวม 17,400 เมกะวัตต์

.

RATCH ยื่นขอใบขายไฟฟ้า 500 MW

บริษัทหลักทรัพย์หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด รายงานว่า RATCH มีการยื่นเสนอขายไฟฟ้ารวม 500MW แบ่งออกเป็น 1.โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 400MW และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน จำนวน 100MW

.

ในเบื้องต้นหากอิง สมมติฐานเงินลงทุนที่ 35 ล้านบาท/MW และสัดส่วน D/E ที่ 2.5 เท่า การได้กำลังผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่ทุกๆ 10 MWe จะเป็น Upside ให้กับราคาเหมาะสมของ RATCH ราว 0.06 บาท/ หุ้น (หากได้ 400MW จะเป็น Upside ให้ราว 2.40 บาท)

.

GULF-GUNKUL จับมือลุยคว้า 1,000 MW

ส่วนบริษัทร่วมทุนระหว่าง GUNKUL และ GULF จะยืนขอเสนอขายไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 1,000 MW หากบริษัทร่วมทุนระหว่าง GULF และ GUNKUL ได้โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรวม 1,000MW จะเป็น Upside Risk ต่อประมาณการกำไรในระยะยาว

.

GPSC ดึงพันธมิตรรายใหญ่ลุยพลังงานลม

ขณะที่ GPSC ได้ทำการลงนามสัญญาร่วมทุนในการพัฒนาโครงการพลังงานลม (Joint Venture Agreement) กับกลุ่ม Copenhagen Infrastructure Partners (CIP) ผ่านกองทุน CI NMF I Cooperatief U.A. (CI NMF I)โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโอกาสการลงทุนในพลังงานลม และจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ในการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานลม โดยเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมภายในประเทศ

.

โดยกองทุน CI NMF I ได้เข้าทำสัญญาซื้อขายหุ้น ในสัดส่วนการถือหุ้น 49% ใน บริษัท ยูรัสพลัส จำกัด และ บริษัท โบรีพลัส จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าร่วมยื่นขอผลิตไฟฟ้าตามที่กกพ. ได้ประกาศเชิญชวนรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565 – 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565

 

 


เม่าคาวบอย