ห้องเม่าปีกเหล็ก

เปิดโจทย์ใหญ่ท้าทาย แคนดิเดต ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่

โดย me too
เผยแพร่ :
47 views

เปิด 5 โจทย์ใหญ่ท้าทาย 5

แคนดิเดต ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่

.

จากกรณีที่ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนปัจจุบัน จะครบวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ในวันที่ 30 กันยายน 2568 ซึ่งตามธรรมเนียม การสรรหาผู้ว่าการธปท. คนใหม่จะเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม 2568

.

ข้อมูลปรากฎตามสื่อที่นำเสนอต่อสาธารณะระบุว่านายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า จะมีการตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการธปท. ในเดือนมกราคม 2568 ซึ่งเป็นกระบวนการที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากแวดวงการเงินและเศรษฐศาสตร์

-----

 

ตามรายงานของสื่อสำนักข่าวฐานเศรษฐกิจนำเสนออ้างอิง แหล่งข่าวระบุว่าขณะนี้มีบุคคลที่แสดงความสนใจสมัครเข้ารับการคัดเลือกอย่างน้อย 5 คน ซึ่งล้วนมีประสบการณ์และคุณสมบัติที่เหมาะสมตาม พ.ร.บ. ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่

.

 

1) ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ (อายุ 51 ปี)

ตำแหน่งปัจจุบัน: ประธานกรรมการบริหาร SCB Abacus

ประสบการณ์:

อดีตรองผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)

เคยทำงานที่ IMF (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) ประเทศสหรัฐอเมริกา

เคยบริหารงานด้านความเสี่ยงที่ ING Group ประเทศเนเธอร์แลนด์

จุดเด่น: มีประสบการณ์ด้านเศรษฐศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล และเทคโนโลยีทางการเงิน

----

 

2) ดร.ปิติ ตัณฑเกษม (อายุ 55 ปี)

ตำแหน่งปัจจุบัน: ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB)

ประสบการณ์:

เคยเป็นกรรมการบริหารของธนาคารธนชาต และธนาคารทหารไทย

เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม

เคยเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

จุดเด่น: มีประสบการณ์บริหารธนาคารพาณิชย์และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงความเชี่ยวชาญด้านการเงินและนโยบายเศรษฐกิจ

----

 

3) ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล (อายุ 57 ปี)

ตำแหน่งปัจจุบัน: กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ

ประสบการณ์:

อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO)

จุดเด่น: มีประสบการณ์ทั้งในภาครัฐและเอกชน มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์และตลาดทุน

----

 

4) ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (อายุ 54 ปี)

ตำแหน่งปัจจุบัน: อธิบดีกรมธนารักษ์

ประสบการณ์:

อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิตและกรมสรรพากร

อดีตประธานกรรมการ ธนาคารกรุงไทย และบริษัท การบินไทย

เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์กรระหว่างประเทศอย่าง OECD & UNDP

จุดเด่น: มีประสบการณ์บริหารหน่วยงานภาครัฐ การคลัง และการกำกับดูแลภาษี

----

 

5) ดร.สันติธาร เสถียรไทย (อายุ 43 ปี)

ตำแหน่งปัจจุบัน: กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และที่ปรึกษา TDRI

ประสบการณ์:

อดีต Group Chief Economist และกรรมการผู้จัดการ Sea Group (บริษัทแม่ของ Garena, Shopee และ Seamoney)

อดีตผู้บริหารฝ่ายเศรษฐกิจเอเชียของ Credit Suisse

เคยเป็นคณะกรรมการ Digital Readiness Council ของรัฐบาลสิงคโปร์

จุดเด่น: มีมุมมองเศรษฐกิจยุคใหม่ ความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและเทคโนโลยี

----

 

ตัวเต็งในการแข่งขัน

จากรายชื่อแคนดิเดต มี 2 คนที่ถูกมองว่าเป็นตัวเต็ง ได้แก่

- ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ : ได้รับแรงสนับสนุนจากแวดวงการเมือง และมีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีการเงิน

.

- ดร.ปิติ ตัณฑเกษม : มีความสามารถและประสบการณ์ในการบริหารธนาคารพาณิชย์ รวมถึงการทำงานร่วมกับภาครัฐ

------

 

การแต่งตั้งผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่จะมีผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงเป็นกระบวนการที่ได้รับการจับตามองอย่างใกล้ชิด และจากสถานการณ์เปราะบางทางเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุนในปัจจุบัน Business Tomorrow รวบรวมโจทย์ที่ท้าทายต่อผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงสำคัญดังนี้

1) การดำเนินนโยบายการเงินอย่างเหมาะสมในภาวะเศรษฐกิจไทยอ่อนแอ เงินเฟ้อต่ำใกล้ศูนย์ แต่หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง

2) นโยบายดอกเบี้ย ควรลดหรือไม่ ในบริบทที่รัฐบาล เอกชน ส่งสัญญาณ แต่ในธนาคารกลางสหรัฐฯเริ่มลังเล และระวังเงินเฟ้อจากนโยบายตั้งกำแพงภาษีของ ประธานาธิบดี

โดนัลด์ ทรัมป์

3) รักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทในยุคสงครามการค้า ที่อาจทำให้เกิดความผันผวนของกระแสเงินลงทุนโลก และความเสี่ยงต่อการใช้แนวทางลดค่าเงินเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และกลายเป็นสงครามค่าเงิน

4) รับมือกับการบริหารจัดการปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง ความเสี่ยงหนี้เสีย การเข้าถึงสินเชื่อ จากสถิติปี 2567 ที่สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์หดตัวลง 0.4% ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 15 ปี จากความการระมัดระวังในการปล่อยกู้ และความเข้มงวดของเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อ

สะท้อนถึงปัญหาของสภาพคล่องในระบบการเงิน

5) เตรียมโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้พร้อมสำหรับอนาคตเงินดิจิทัล ที่กำลังมีบทบาทมากขึ้นในระดับโลก และจากแนวนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่สนับสนุนการนำบิทคอยน์มาเป็นทุนสำรอง และผลักดันการเติบโตของอุตสาหกรรม และธุรกรรมคริปโทฯ

 

ที่มา  https://web.facebook.com/share/p/15zecp82XJ/

 


me too