
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การคัดเลือกหลักทรัพย์

สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่
????SCBS กระแสข่าวภาคบ่าย
????ซาอุดีอาระเบียส่งสัญญาณโอเ
????บลูมเบิร์กเผยผลสำรวจนักเศร
????กรมบัญชีกลางติดตามเร่งรัดก
????RS ขยายฐานรุก Big Data จับมือพันธมิตร ทีวีดิจิตอล ดันธุรกิจ MPC โตทำนิวไฮ
????AOT ชะลอเปิดขายซองดิวตี้ฟรี 4 สนามบิน-บริหารพื้นที่เชิงพ
????????SCBS ทันเกมส์
“กรอบบนถูกจำกัดที่ 1620-1625 จุด”
????มุมมองต่อตลาด: แรงขายของนักลงทุนต่างชาติยังเป็นปัจจัยกดดันหลัก จำกัดการฟื้นตัวของดัชนี ซึ่งคาดว่ามีกรอบบนจำกัดอยู่ที่แนวต้าน 1620-1625 จุด ด้านแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1612 และ 1600-1605 จุด ตามลำดับ
เศรษฐกิจไทยที่ยังเผชิญความไม่แน่นอน...
คาด กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ในช่วงครี่งแรกของปี 2562
by: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
คณะกรรมการโยบายการเงิน (กนง.) น่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.75% ในการประชุมนโยบายการเงินครั้งที่ 2 ของปี 2562 ในวันที่ 20 มีนาคม 2562 โดยจะยังคงส่งสัญญาณพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจ (data dependent) ซึ่งทิศทางเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญความไม่แน่นอนจากปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงเคลื่อนไหวในระดับต่ำ ขณะที่ประเด็นความเสี่ยงเชิงเสถียรภาพ น่าจะถูกจัดการโดยเครื่องมือเฉพาะจุด (Macro Prudential) ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ คณะกรรมการนโยบายการเงินมีโอกาสที่จะพิจารณาคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.75% จนถึงครึ่งแรกของปีนี้เป็นอย่างน้อย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยน่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.75% ในการประชุมครั้งที่ 2 ของปี 2562 ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินจะยังคงให้น้ำหนักการพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจ (data dependent) ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้รวบรวมปัจจัยที่น่าสนใจที่คงจะมีผลต่อการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงนี้ดังนี้
ทิศทางของเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอลง ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ ยังคงสนับสนุนน้ำหนักในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การชะลอลงของเศรษฐกิจโลกและความไม่แน่นอนของสงครามการค้าส่งผลให้การส่งออกไทยหดตัวติดต่อกัน 3 เดือนและมีแนวโน้มที่จะยังคงหดตัวต่อเนื่องในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 อีกทั้งแรงส่งจากภาคการคลังและการลงทุนในช่วงที่รัฐบาลมีการเปลี่ยนผ่านยังคงค่อนข้างจำกัด ทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงที่จะเติบโตชะลอลงโดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังคงทรงตัวในระดับต่ำ โดยพัฒนาการของเงินเฟ้อของไทยช่วง 2 เดือนแรกของปียังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่ากรอบล่างของอัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย ทำให้ความจำเป็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครึ่งแรกของปีนี้ยังมีไม่มาก ซึ่งปัจจัยดังกล่าวอันคงสนับสนุนการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้เป็นอย่างน้อย ขณะที่เครื่องมือเฉพาะจุด (Macro Prudential) อาทิ มาตรการควบคุมสินเชื่อบ้าน น่าจะช่วยดูแลความเสี่ยงเชิงเสถียรภาพของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า
มองไปข้างหน้า พัฒนาการทางการเมืองในประเทศหลังการเลือกตั้งและปัจจัยข้อพิพาททางการค้าคงจะเป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อน้ำหนักในการพิจารณาทางเลือกของการดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมของไทยในระยะต่อไป ทั้งนี้ คงต้องยอมรับว่าประเด็นทางด้านการเมืองหลังการเลือกตั้งและประเด็นข้อพิพาททางการค้า คงเป็นอีกตัวแปรสำคัญที่คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทยคงจับตาอย่างใกล้ชิด
ทิศทางของนโยบายเศรษฐกิจ รวมทั้ง เสถียรภาพของรัฐบาลใหม่คงจะเป็นประเด็นที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอนาคต โดยหากการเลือกตั้งนำมาสู่การจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพจะส่งผลให้แรงส่งต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยกลับมาเร่งตัวขึ้นอีกครั้ง รวมทั้งหนุนให้การลงทุนที่มีการชะลอลงบางส่วนในช่วงก่อนเลือกตั้งทยอยฟื้นตัวขึ้น ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจจะเปิดโอกาสให้ กนง. สามารถที่จะส่งสัญญาณปรับเปลี่ยนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไป อย่างไรก็ดี หากผลของการเลือกตั้งนำมาสู่ความเสี่ยงของการเมืองในประเทศที่สูงขึ้น อาจจะส่งผลให้การขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงที่จะชะงักงันได้ ทำให้ความจำเป็นต่อการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายยังคงมีอยู่ เพื่อช่วยประคองการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะต่อไป
สำหรับปัจจัยเสี่ยงทางการค้า แม้จะมีสัญญาณเชิงบวกจากการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ แต่ความไม่แน่นอนยังคงมีอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยแม้ว่าสัญญาณเชิงบวกต่อการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะช่วยจำกัดความเสี่ยงของภาคการค้าโลกไปได้ส่วนหนึ่ง แต่การคลี่คลายข้อพิพาท อันจะนำมาสู่การปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าจากทั้ง 2 ประเทศคงต้องใช้เวลาอีกระยะกว่าจะได้ข้อยุติ นอกจากนี้ การที่สหรัฐฯ เริ่มกระบวนการไต่สวนตามมาตรา 232 ในหมวดรถยนต์และชิ้นส่วน อันอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดสงครามการค้ารอบใหม่ ซึ่งประเด็นดังกล่าวคงเป็นปัจจัยเสี่ยงภายนอกประเทศที่สำคัญที่ กนง. ให้น้ำหนักในการพิจารณานโยบายการเงินในระยะข้างหน้า
ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดทำดัชนีใหม่
SET Well-being เริ่มเผยแพร่ 1 เม.ย. นี้
ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดทำดัชนีใหม่ SET Well-being (SETWB) สะท้อนการเคลื่อนไหวของหลักทรัพย์ในหมวดธุรกิจที่มีศักยภาพในการแข่งขัน มีโอกาสเติบโตสูง นำมาสู่การสร้างงานและยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย พร้อมสนับสนุนต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่อ้างอิงกับดัชนีในอนาคต ทั้งนี้จะเริ่มเผยแพร่อย่างเป็นทางการ 1 เม.ย. 2562
นางสาวรินใจ ชาครพิพัฒน์ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานการตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดทำดัชนีใหม่ SET Well-being (SETWB) ซึ่งเป็นดัชนีที่คำนวณจากหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนใน 7 หมวดธุรกิจที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันและเป็นธุรกิจที่ผู้ลงทุนต่างชาติให้ความสนใจ ซึ่งการเติบโตของธุรกิจเหล่านี้มีผลต่อการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) นำมาสู่การสร้างรายได้แก่คนในประเทศ และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่คนไทย โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ พร้อมสนับสนุนการนำไปใช้เพื่อออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินในอนาคต เช่น กองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) และกองทุนรวม (Mutual Fund) เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้ลงทุน
หลักเกณฑ์การคัดเลือกหลักทรัพย์ที่ใช้คำนวณในดัชนี SETWB จะพิจารณาจากหลักทรัพย์ที่อยู่ใน 7 หมวดธุรกิจ ได้แก่ หมวดธุรกิจการเกษตร (Agribusiness) พาณิชย์ (Commerce) แฟชั่น (Fashion) อาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage) การแพทย์ (Health Care Services) การท่องเที่ยวและสันทนาการ (Tourisms & Leisure) และขนส่งและโลจิสติกส์ (Transportation & Logistics) โดยหลักทรัพย์นั้นจะต้องมีกำไรอย่างน้อย 2 จาก 3 ปีล่าสุด เมื่อพิจารณาจากงบการเงินรวม รวมทั้งต้องมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่น้อยกว่า 20% และเป็นหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายอย่างต่อเนื่อง โดยจำนวนหุ้นที่ซื้อขายในแต่ละเดือนต้องมีสัดส่วนอย่างน้อย 0.5% ของจำนวนหุ้นจดทะเบียนของบริษัท เป็นระยะเวลาอย่างต่ำ 9 เดือนจาก 12 เดือนในช่วงที่พิจารณา
ทั้งนี้ หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) สูงสุด 30 ลำดับแรกที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจะถูกนำเข้าเป็นองค์ประกอบของดัชนี SETWB และมีหลักทรัพย์สำรอง 5 ลำดับ โดยจะจำกัดน้ำหนักของแต่ละหลักทรัพย์ไม่ให้เกิน 10% ในทุกไตรมาส รายชื่อหลักทรัพย์สำหรับคำนวณในดัชนี SETWB ครั้งแรกจะใช้ข้อมูลตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2560 ถึง 30 พ.ย. 2561 เริ่มเผยแพร่ดัชนีในวันที่ 1 เม.ย. 2562 และทบทวนรายชื่อหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีทุก 6 เดือน (มิ.ย. และ ธ.ค.)
ผู้ลงทุนและผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลรายชื่อหลักทรัพย์ที่ใช้คำนวณดัชนี เกณฑ์การคัดเลือก และวิธีการคำนวณดัชนีได้ที่เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ www.set.or.th/SETWB
ทางการท้องถิ่นมณฑลอานฮุยทางจีนตะวันออก เปิดเผยแผนการติดตั้งเสาอัดประจุไฟฟ้าหรือเสาชาร์จยานยนต์พลังงานใหม่ (NEV) จำนวน 180,000 ต้นภายในปี 2020 เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
.
แผนการปรับปรุงโครงสร้างการขนส่ง ซึ่งเผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุว่ามณฑลอานฮุยตั้งเป้าหมายจำหน่ายยานยนต์พลังงานใหม่ จำนวน 150,000 คัน และก่อสร้างสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่สาธารณะอีก 500 แห่งภายในปี 2020
.
รายงานระบุว่าเสาชาร์จไฟและสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่จะตั้งอยู่ในอุทยานโลจิสติกส์ อุทยานอุตสาหกรรม ศูนย์การค้า และตลาดค้าส่งสินค้าเกษตรกรรมเป็นหลัก และยานยนต์เพื่อการขนส่งที่เพิ่มใหม่หรือนำมาใช้ซ้ำรวม 80 เปอร์เซ็นต์จะเป็นยานยนต์พลังงานใหม่
.
นอกจากนั้นมณฑลอานฮุยยังตั้งเป้าหมายการใช้ยานยนต์พลังงานใหม่ ที่ได้มาตรฐานการปล่อยมลพิษแห่งรัฐ 6 (State VI emissions standard) ของจีน ซึ่งเทียบเท่ามาตรฐานการปล่อยมลพิษยูโร 6 (Euro 6) ภายในปี 2020 ด้วย
.
อนึ่ง ภายใต้แผนการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจระยะ 5 ปี (2016-2020) ฉบับที่ 13 ของจีน ระบุว่าจีนจะก่อสร้างโครงข่ายสถานีชาร์จไฟยานยนต์พลังงานใหม่ทั่วประเทศ เพื่อเติมเต็มความต้องการของยานยนต์ 5 ล้านคันภายในปีหน้า
ซานซีตั้งกองทุน 2.35 แสนล้าน ยกระดับอุตสาหกรรมต่างๆ ของมณฑล
.
เมื่อเร็วๆ นี้ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของมณฑลซานซี ทางตอนเหนือของจีนได้รายงานถึงการจัดตั้งกองทุนมูลค่า 5 หมื่นล้านหยวน (2.35 แสนล้านบาท) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมของมณฑล
.
กองทุนดังกล่าวเริ่มก่อตั้งขึ้นโดยบริษัท ไชน่า ยูไนเต็ด อินดัสทรีส์ อินเวสเมนท์ จำกัด และบริษัทแคปพิทอล อินเวสเมนท์ แอนด์ โอเปอเรชัน จำกัด ของรัฐบาลมณฑลซานซี โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างการเติบโตใหม่และช่วยยกระดับอุตสาหกรรมเก่าของมณฑล
.
กองทุนนี้จะมุ่งเน้นใช้ในหลากหลายสาขา รวมถึงการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ การพัฒนาบริษัทจดทะเบียน การควบรวมและซื้อกิจการอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเกิดใหม่เชิงกลยุทธ์ พลังงาน สิ่งแวดล้อมและการดูแลสุขภาพ
.
นายหวังอี้ซิน รองผู้ว่าการมณฑลซานซีกล่าวว่า กองทุนนี้จะช่วยอัดฉีดแรงกระตุ้นใหม่ในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมของมณฑลที่อุดมไปด้วยถ่านหินและผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ
จำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุน้ำท่วมฉับพลัน ที่จังหวัดปาปัว ทางตะวันออกสุดของอินโดนีเซีย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 'เพิ่มเป็นมากกว่า 70 คน'
ชาวสเปนในแคว้นกาตาลุญญา ทางภาคเหนือ เกือบ 20,000 คน เดินขบวนในเมืองหลวงกรุงมาดริด เมื่อวันเสาร์ ประณามการดำเนินคดี 12 แกนนำแบ่งแยกดินแดน จากบทบาทในการลงประชามติเอกราชล้มเหลวในปี พ.ศ. 2560
ตลาดหุ้นไทยปิดลบ 8 จุด นักลงทุนลดน้ำหนักลงทุน ลุ้นรอผลการเลือกตั้งชัดเจนก่อน พร้อมเกาะติดผลประชุมกนง.-เฟด 20 มี.ค.นี้ โบรกแนะรอดูสถานการณ์ก่อนเหตุความไม่แน่นอนสูง