ห้องเม่าปีกเหล็ก

โควิด-19 ดัน Mobile Banking และ e-Wallet โตต่อเนื่อง ส่งต่อความท้าทายสู่ผู้ให้บริการ

โดย Lennoon
เผยแพร่ :
54 views

สัญญาณหนึ่งที่บอกว่าประเทศไทยเข้าสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ดูได้จากพฤติกรรมของผู้บริโภคในการโอนเงินและชำระค่าสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ผ่าน Mobile Banking และ e-Wallet เป็นช่องทางหลัก แทนการใช้ตู้ ATM หรือเงินสด ซึ่งมีแนวโน้มการใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่า ปี 2563 ธุรกรรมโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking และ e-Money น่าจะยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

 

 

พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน 

 

ผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นปัจจัยเร่งที่สำคัญต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง ผู้บริโภคใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet มากขึ้น โดยมีการขยายตัวจากผู้บริโภคกลุ่มเดิม หรือช่วงวัย 25-34 ปี ที่มีความคุ้นชินในการใช้งานอยู่แล้ว มีการใช้งานมากขึ้น เช่น กลุ่มนักศึกษาและวัยทำงานตอนต้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคกลุ่มใหม่ หรือช่วงวัย 35-44 ปี โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานตอนกลาง ก็จะเข้ามาใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet เพื่อการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการมากขึ้น

ผู้ให้บริการต้องเจออะไรบ้าง

 

นอกจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญต่อพฤติกรรมการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการของผู้บริโภคไทยโดยรวม ยังส่งผลถึงสภาวะการแข่งขันในตลาดของผู้ให้บริการ Mobile Banking และ e-Wallet ทำให้

  • ต้องพัฒนาระบบการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการบนแอปพลิเคชันอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเสถียรของแอปพลิเคชัน หรือฟังก์ชันที่อำนวยความสะดวกและตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
  • และยังผลักดันให้ร้านค้าต่างๆ โดยเฉพาะร้านค้าขนาดเล็ก เริ่มมีการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วย QR Code มากขึ้น ซึ่งน่าจะทำให้การใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet เพิ่มสูงขึ้นไปอีก

 

ผู้ให้บริการ Mobile Banking และ e-Wallet จะต้องเผชิญความท้าทายกับ

  • สภาวะการแข่งขันที่เข้มข้น จากการผู้ประกอบการรายใหม่ที่หลากหลาย โดยเฉพาะผู้ให้บริการแพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์ก, e-Market Place Food Delivery รวมถึงผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต ที่มีฐานลูกค้าหรือผู้ใช้งานในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก
  • ตลอดจนความคาดหวังของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว
  • นอกจากนี้อาจต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการพัฒนาระบบภายใน โดยเฉพาะระบบที่สร้างความมั่นคงและปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางการเงินของลูกค้า รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าในการใช้งาน โดยผู้ให้บริการจำเป็นจะต้องคำนึงถึงกฎระเบียบในการทำธุรกรรมของหน่วยงานที่กำกับดูแล การดำเนินการใด ๆ จะต้องไม่ขัดกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย

 

 

ผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบ 3 ปัจจัยหลัก ที่จะทำให้แอปพลิเคชัน Mobile Banking และ e-Wallet ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน ได้แก่

 

  1. อำนวยความสะดวกในการใช้งาน ด้วยการรวมทุกบัญชีออนไลน์ไว้ในแอปพลิเคชันเดียว
  2. ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน เช่น การเป็นแพลตฟอร์ม Food Delivery หรือ e-Market place ในตัวเอง
  3. มี Feature การใช้บัตรเครดิต

 

ผู้ให้บริการ Mobile Banking และ e-Wallet รายใดสามารถพัฒนา Feature การใช้งานที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้มากที่สุด ก็จะเป็นตัวเลือกอันดับแรกในใจผู้บริโภค ยิ่งถ้าเสริมด้วยการทำกลยุทธ์ด้านราคาและโปรโมชั่น เช่น การให้ส่วนลดในร้านค้าที่ร่วมรายการ การให้คูปองเงินสดสำหรับการเปิดใช้บัญชี การสะสมคะแนนเพื่อแลกของรางวัล ก็จะยิ่งดึงดูดและกระตุ้นบรรยากาศการแข่งขันในธุรกิจ Mobile Banking และ e-Wallet มากยิ่งขึ้น

 ---------------------------------- 

เครดิต: MarketeerOnline


Lennoon