ห้องเม่าปีกเหล็ก

[ตอนที่ 21] บทความแปลหนังสือ by cmFX ” Price Pattern : Martin Pring on Price Patterns”

โดย cmfx
เผยแพร่ :
51 views

รูปที่ 6-17 เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งราคาจะหลุดลงต่ำกว่าจุดทำสุดก่อนหน้านี้ โปรดจำไว้ว่า ในกรณีที่มีการทะลุเกิดขึ้นในรูปแบบหมายถึงว่าจุดนั้นเป็นจุดต่ำสุดรอง (minor) ซึ่งมีโอกาสเป็นจุดแนวรับต่อไป

หากราคาทะลุจุดต่ำสุดทั้งขอบเขตบนและจุดต่ำสุดรองแล้วแสดงว่าราคาได้หลุดแนวรับทั้งสองไปแล้ว ซึ่งพฤติกรรมของราคาแบบนี้ไม่ควรเกิดขึ้นเลยในระหว่างการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มดั้งเดิม  และไม่มีเหตุผลที่คุณจะซื้อหุ้นที่ราคานี้  แล้วจะทำไม (เหตุผล)? ถ้าคุณเปิดสถานะซื้อหรือ long position ล่ะ การตัดสินใจควรต่างออกไปไหม? แน่นอน ไม่ควรนะ  แต่มันมักจะเป็นเรื่องยากที่จะทำใจรับการขาดทุน ก็เลยต้องอยู่กับความหวังว่าราคาจะกลับขึ้นไปใหม่และเฝ้าหาเหตุผลที่จะอยู่ในสถานะนี้  โชคร้ายที่ตลาดไม่ค่อยมีอารมณ์ร่วมกับผู้มีส่วนร่วมในตลาดสักเท่าไหร่และมักไม่มีความปราณีใดๆ ทั้งสิ้น นั่นเป็นเหตุผลที่สำคัญที่ผมจะขอแนะนำให้คุณต้องทำอะไรสักอย่างโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ทันทีที่ราคาลดลง

 

รูปที่ 6-17 ลักษณะของการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มของสัญญาณแบบ whipsaw  

ความผิดพลาดอื่นๆ ดังรูปที่ 6-18 ที่อาจมีการสร้างเส้นแนวโน้มขนาดเล็กขึ้นและสังเกตว่าเส้นราคามีการหลุดเส้นแนวโน้มนั้นลงมา ดังนั้นเส้นแนวโน้มที่ลากขึ้นมาใหม่จึงกลายเป็นแนวรับและให้สัญญาณขาย

 

รูปที่ 6-18  ลักษณะของการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มของสัญญาณแบบ whipsaw  

ในตัวอย่างทั้งหมดเหล่านี้ คุณควรกำหนดจุดหยุด (stop points)  ที่ด้านล่างของจุดแนวรับต่างๆ อย่างเช่น เครื่องหมาย 50%, จุดต่ำสุดก่อนหน้า, เส้นแนวโน้มขาขึ้น และอื่น ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว จุดหยุดเหล่านี้ควรตั้งเอาไว้ก่อนเพื่อช่วยให้คุณคำนวณผลขาดทุนเท่าที่จะรับได้ และจุดที่เริ่มต้นการซื้อขายล่วงหน้า นั่นคือการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มใช้ไม่ได้อีกต่อไป ในกรณีที่คุณไม่ดำเนินการเรื่องเหล่านี้เอาไว้ก่อน ในเวลาที่มีความผิดพลาด การตัดสินใจของคุณมักจะมาจากอารมณ์เครียดที่ถูกกระตุ้นจากเหตุการณ์ ข่าวหรืออื่นๆ มากกว่าจะใช้เหตุผลนำ

ตัวอย่างที่เราได้ยกมากล่าวถึงในที่นี้จะเป็นกรณีการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ upside เนื่องจากมันคือทิศทางที่ผู้มีส่วนร่วมในตลาดส่วนใหญ่ให้ความสนใจ อย่างไรก็ตาม ส่วนในกรณีของสถานะขายหรือ short positions ที่เป็นการทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ downside ก็ใช้หลักการเดียวกันเพียงแต่มีทิศทางกลับกันและเขตแนวต้านจะเปลี่ยนไปเป็นเขตแนวรับแทนเท่านั้น ตัวอย่างนี้จะอยู่ในรูปที่ 6-19 ซึ่งจุดหยุดจะอยู่เหนือราคาสูงสุดสุดท้ายของรูปแบบราคาก่อนเข้าสู่การทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ downside ซึ่งการเคลื่อนไหวของราคาเหนือจุดนี้ไม่จำเป็นต้องหยุดการฟอร์มตัวของรูปแบบราคา อย่างไรก็ตามมันค่อนข้างมีความเป็นไปได้ว่า มันจะลดลงต่อไปถึงจุดที่ต่ำกว่า 50/50 ในขณะที่การทะลุผ่านเส้นแนวโน้มแบบ downside แค่จะดีกว่าถ้าราคายืนอยู่เหนือ 50/50 ได้ ดังนั้นคำถามก็คือว่าแล้วทำไมต้องทนถือต่อ ถ้าราคาเพิ่มขึ้นเหนือเส้นประแนวของแนวโน้มหักล้างเหตุผลที่จะต้องขาย

 

รูปที่ 6-19 การตั้งจุดหยุดหลังราคาทะลุแนวรับแบบ downside

 

บทความตอนที่ผ่านๆ มาอ่านได้จาก: http://www.chiangmaifx.com/price-patterns.html

www.facebook.com/275391639215535/photos/pcb.1603468543074498/1603467323074620/

 


cmfx