เมื่อวานนี้หลายๆคนคงได้เห็นอักษรย่อ CPTPP เด้งมาในหน้า Feed ข่าวบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของแฮชแท็ก #CPTPP หรือ #NoCPTPP ที่ขึ้นเป็นเทรนด์บน Twitter หลาย ๆ คนก็อาจจะเริ่มเห็นคนใส่แฮชแท็กในรูป หรือคนถือป้ายถ่ายรูปประท้วงว่าไม่เอา CPTPP แล้ว แม้ว่าล่าสุด ประเด็นนี้จะถูกยกเลิกในการเสนอเข้า ครม.วันนี้แล้วก็ตาม แต่เราเชื่อว่าทุกคนควรรู้ข้อมูลไว้เพราะเป็นเรื่องที่อาจมีผลกระทบกับเราในอีกไม่นาน
.
สำหรับหลายคน ตอนนี้ก็ยังงงว่า CPTPP คืออะไร? เกี่ยวกับ CP หรือเกี่ยวกับ PTT หรือเปล่า?
CPTPP ย่อมาจาก Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership ชื่อเดิมคือ Trans-Pacific Partnership (TPP) ไม่ได้เกี่ยวมีความเกี่ยวโยงอะไรกับกลุ่มบริษัท CP (เครือเจริญโภคภัณฑ์) หรือบริษัท PTT(ปตท.) แต่อย่างใดนะจ๊ะ แค่ตัวย่อทำให้นึกว่าเกี่ยวกัน
อ่ะว่ากันต่อ โดยกลุ่มประเทศ CPTPP เริ่มความตกลงนี้มาตั้งแต่ปี 2006 มันคือ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก โดยเป็นความตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการ และการลงทุนเพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งในประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ แต่เดิมสมาชิกทั้งหมด 12 ประเทศ แต่หลังจากสหรัฐฯ ถอนตัวออกไปเมื่อต้นปี 2017 ปัจจุบัน เลยเหลือสมาชิก CPTPP 11 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม ซึ่งในการเข้าร่วมนั้นก็มีทั้งข้อดี และข้อเสียเช่นกัน
ทุกสัญญาการค้าย่อมมีข้อดีข้อเสีย มีได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ ซึ่งบางอย่างรัฐก็ให้ข้อมูลกระประชาชนไม่หมด ไม่เคลียร์ ให้ข้อมูลแต่ด้านดี แต่ด้านผลกระทบกลับไม่ค่อยพูดถึง ซึ่งก็ต้องเป็นหน้าที่ขององค์กรและหน่วยงานต่างๆ ต้องตรวจสอบกันและให้ข้อมูลที่กระจ่างชัดเจน ไม่ใช่แค่ห่วงตัวเลขส่งออกและลงทุน ส่วนประเด็นอื่นๆ หากอยากศึกษาเพิ่มเติมก็ลองไปศึกษาหาข้อมูลดูเพราะตอนนี้เป็นกระแสค่อนข้างแรง มีข้อมูลมากมายเยอะแยะ ในมุมต่างๆ แนะนำว่าเราต้องศึกษาทำความเข้าใจเรื่องนี้ เพราะมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย และมันมีผลกระทบกับทุกคน ไม่เว้นแต่ชาวไร่ชาวนา เกษตรกรที่ไม่เล่นโซเชียลก็ตาม