จีนเตรียมเผชิญหน้ากับภาวะเงินฝืดหลัง Covid-Zero และปัญหาอื่นๆรุมเร้า

ตลาดหุ้นสหรัฐฯพุ่งขึ้นระหว่างการปรับตัวขึ้นทั้งกระดานตั้งแต่หุ้นขนาดเล็กจนถึงหุ้นบลูชิพ ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งกลางเทอมและข้อมูลอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯในปลายสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ตลาดหุ้นมีแนวโน้มที่จะเริ่มต้นแบบผสมผสานในเอเชีย โดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ฮ่องกงปรับตัวลง ส่วนดัชนีหุ้นจีนที่จดทะเบียนในสหรัฐฯร่วงลงเมื่อคืนที่ผ่านมา นับเป็นการหยุดสถิติการปรับตัวขึ้นสูงสุด 4 วันติดต่อกันเป็นประวัติการณ์ที่ 18%
ขณะที่การประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือนตุลาคมของสหรัฐฯในวันพฤหัสบดีนี้จะได้รับการจับตาอย่างใกล้ชิด หลังจากที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปีในเดือนกันยายน
Twitter ไล่พนักงานมากกว่า 90% ในอินเดียออกในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเป็นส่วนหนึ่งของการลดจำนวนพนักงานทั่วโลก ทั้งนี้บริษัทจ้างพนักงานมากกว่า 200 คนในอินเดีย และการลดจำนวนพนักงานดังกล่าวทำให้เหลือพนักงานประมาณ 12 คนเท่านั้น
ในข่าวอื่นๆของ Twitter บริษัทมีแผนที่จะแบนบัญชีผู้ใช้ที่แอบอ้างบัญชีของผู้อื่นเว้นแต่จะถูกระบุว่าเป็นการล้อเลียน ขณะที่การเข้าซื้อ Twitter ของ Musk กดดันให้หุ้น Tesla ปรับตัวลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน
ประเทศจีนกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากภาวะเงินฝืดที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการระบาดของโควิดและมาตรการควบคุมกดดันอุปสงค์ และการปรับตัวลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้กดดันให้บริษัทต่างๆลดราคาลง
โดยดัชนีราคาผู้ผลิตมีแนวโน้มลดลงสู่ภาวะเงินฝืด (ติดลบ) ในเดือน ต.ค. เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี จากผลสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์ของบลูมเบิร์ก ขณะที่ข้อมูลบ่งชี้ว่า อุปสงค์ภายในประเทศของจีนอ่อนตัวลงอีกเนื่องจากมาตรการควบคุมโควิดกดดันการใช้จ่าย อุปสงค์สินค้าส่งออกปรับตัวลง และการก่อสร้างบ้านยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง
ไต้หวันน่าจะเผชิญกับการเติบโตของการส่งออกที่แย่ที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกทวีความรุนแรงขึ้น และความต้องการจากจีนยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่พึ่งพาการค้าเป็นหลักอย่างไต้หวัน
การส่งออกไปต่างประเทศคาดว่าจะหดตัว 6% ในเดือนตุลาคมเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จากการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่สำรวจโดย Bloomberg ซึ่งจะนับเป็นการลดลงที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2020 ที่การส่งออกลดลงถึง 7.6%
นอกจากนี้การนำเข้าคาดว่าจะลดลง 5% เช่นกัน โดยจะเป็นการปรับตัวลงเดือนที่ 2 ติดต่อกันหลังจากที่ไม่เคยปรับตัวลงมานานกว่า 2 ปี ทั้งนี้กระทรวงการคลังของไต้หวันมีกำหนดจะรายงานข้อมูลการค้าในช่วงบ่ายวันอังคารนี้
Source: Bloomberg