ห้องเม่าปีกเหล็ก

ส่องบทเรียนสำคัญของ "ธนาคารกลางสหรัฐ" ผ่านวิกฤติ 8 ครั้ง

โดย OttO
เผยแพร่ :
427 views

ส่องบทเรียนสำคัญของ "ธนาคารกลางสหรัฐ" ผ่านวิกฤติ 8 ครั้ง

 

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานเมื่อช่วงเดือนสิงหาคม 2565 ว่า ตั้งแต่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ก่อตั้งขึ้นในปี 2456  จนกระทั่งการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ในปี 2563  บทเรียนจากวิกฤตต่างๆ ได้หล่อหลอมให้เกิดวิวัฒนาการของธนาคารกลางที่สำคัญที่สุดในโลก โดยวิกฤติต่างๆ ที่เฟดเผชิญดังนี้
 

 

 

1.การก่อตั้งธนาคารกลางสหรัฐ
 

 

ความตื่นตระหนกในปี 2450 เริ่มต้นขึ้นในเดือนตุลาคมเมื่อนักเก็งกำไรพยายามเข้าซื้อหุ้นในบริษัทเหมืองแร่ทองแดงที่เริ่มประสบกับการขาดทุนครั้งใหญ่ ภายในไม่กี่วัน ข่าวก็ปรากฏขึ้นเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างนักเก็งกำไรและ Knickerbocker Trust ที่นำเงินจากผู้ออมในครัวเรือนไปยังนักลงทุนในหุ้น จนกระตุ้นให้ผู้ฝากเงินจำนวนมากรีบถอนเงินออกจากทรัสต์
 

 

ซึ่ง Knickerbocker ไม่มีเงินและไม่มีทางเลือกอื่น จึงระงับการดำเนินการ ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากผู้ฝากเงินในทรัสต์อื่นพยายามถอนเงินของตนเช่นกัน  หนึ่งในความเครียดของตลาดก็คือ  อัตราดอกเบี้ยที่นักลงทุนหุ้นถูกเรียกเก็บสำหรับเงินกู้ข้ามคืนเพิ่มขึ้นเป็น 100% จาก 9.5% เจมส์ เพียร์พอนต์ มอร์แกน หัวหน้าธนาคาร ก้าวเข้ามาเพื่อยุติความตื่นตระหนก
 

 

โดยเหตุการณ์นั้นเป็นตัวเร่งให้เกิดการก่อตั้งธนาคารกลางสหรัฐ เนื่องจากต้องการระบบการเงินที่มั่นคง ซึ่ง 6 ปีต่อมา ในปี 2456 เฟดก่อตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็น backstop ของตลาดการเงินและเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา เช่น เมื่อเกิดวิกฤติปี 2551 และอีกครั้งปี 2563 ถือเป็นทรัพยากรที่ยอดเยี่ยมของธนาคารกลาง ที่ไม่ใช่กองทุนจำกัดของบริษัทเอกชนที่อยู่ระหว่างสหรัฐกับความวุ่นวายทางการเงิน
 

 

 

2.ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
 

 

เริ่มตั้งแต่กลางปี 2471 ราคาหุ้นพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว และเฟดก็ช่วยปั๊มฟองสบู่ขึ้นโดยไม่รู้ตัว เพื่อปกป้องค่าเงินปอนด์อังกฤษภายใต้มาตรฐานทองคำ มอนตากู นอร์มัน ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ ได้เกลี้ยกล่อมให้เฟดคงอัตราดอกเบี้ยสหรัฐไว้ที่ระดับต่ำ ซึ่งช่วยทำให้ค่าเงินของสหราชอาณาจักรมีเสถียรภาพ แต่ยังกระตุ้นการปล่อยกู้ของสหรัฐและสินทรัพย์ทางการเงินอีกด้วย ซึ่งตั้งแต่กลางปี 2471 ถึงจุดสูงสุดในเดือนกันยายนปี 2472 ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์พุ่งขึ้น 90%
 

 

ธนาคารกลางสหรัฐไม่สามารถตกลงตามแผนปฏิบัติการได้ ด้านธนาคารกลางสหรัฐแห่งนิวยอร์กมีความเห็นอยากให้เฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อเพิ่มต้นทุนของสินเชื่อ แต่สมาชิกคณะกรรมการเฟดในวอชิงตันแย้ง โดยเน้นย้ำให้มีการดำเนินการที่ตรงเป้าหมายมากขึ้น ขอให้ธนาคารระงับการให้กู้ยืม แต่แล้วในที่สุดฟองสบู่ก็แตก ดาวโจนส์ลดลง 13% ใน Black Monday เพียงเดือนเดียว และในเดือนพฤศจิกายนก็ลดลงประมาณ 50% จากจุดสูงสุด
 

 

แน่นอนว่าเงินออมในครัวเรือนและสินเชื่อธุรกิจก็ได้รับผลกระทบไปด้วย เฟดสละความรับผิดชอบในการป้องกันความตื่นตระหนกทางการเงิน จอร์จ แฮร์ริสัน ประธานเฟดแห่งนิวยอร์ก ไม่แม้แต่แถลงการณ์เพื่อสร้างความมั่นใจเพื่อสนับสนุนความมั่นคงของธนาคาร เนื่องจากเกรงว่าการล่มสลายของผู้ให้กู้รายต่อไปจะบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของเขา 

ความล้มเหลวนั้นสมบูรณ์มากจนทำให้เกิดการทบทวนครั้งใหม่ทั้งหมด นำไปสู่พระราชบัญญัติการธนาคารปี 2478 มุ่งเป้าไปที่การกำกับดูแลที่ล้มเหลวของเฟด โดยรวมศูนย์การควบคุมในวอชิงตัน ขณะที่ทองคำ ซึ่งขัดขวางไม่ให้มีการปรับอัตราแลกเปลี่ยนและนโยบายการเงินที่จำเป็นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เริ่มสูญเสียการถือครอง ซึ่งเหล่านี้เปิดทางให้กับการจัดการอุปสงค์อย่างแข็งขันของลัทธิเคนส์เซียน

Liaquat Ahamed ผู้เขียน Lords of Finance กล่าวว่า "อุปสรรค สำคัญที่เฟดมเผชิญคือ มีเป้าหมายที่เข้ากันไม่ได้ 2 เป้าหมาย ได้แก่  เป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยน และเป้าหมายเสถียรภาพทางการเงินในประเทศ และพวกเขาไม่เคยเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้มีความขัดแย้งร้ายแรง ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของเฟดอยู่ระหว่างอัตราที่จำเป็นในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจกับอัตราที่จำเป็นในการป้องกันฟองสบู่เก็งกำไรในตลาดการเงิน"
 

 

 

3.ข้อตกลงธนารักษ์-เฟด
 

 

หลังจากที่สหรัฐเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2485 เฟดได้ให้คำมั่นที่จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้กระทรวงการคลังสามารถกู้ยืมเงินได้ในราคาถูกมากขึ้น แต่การบังคับใช้ข้อจำกัด นั้นหมายความว่าเฟดต้องเลิกควบคุมปริมาณเงิน รวมถึงอัตราเงินเฟ้อและการจ้างงาน
 

 

หลังสงคราม แฮร์รี ทรูแมน ประธานาธิบดีในขณะนั้น พยายามรักษาระดับไว้เพื่อให้แน่ใจว่านักลงทุนในพันธบัตรสงครามจะไม่สูญเสียเงิน เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับผู้ถือพันธบัตรหลายรายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเริ่มต้นของสงครามเกาหลี และเฟด ต้องการที่จะสามารถเพิ่มอัตรา
 

 

ในเดือนธันวาคม 2493 ทรูแมนเขียนถึงประธานเฟด Thomas McCabe ว่า "หวังว่าคณะกรรมการจะตระหนักถึงความรับผิดชอบของตนและไม่อนุญาตให้จุดต่ำสุดลดลงจากหลักทรัพย์ นั่นคือสิ่งที่นายสตาลินต้องการ”
 

 

หลังจากสัปดาห์แห่งการเจรจาที่ยากลำบาก ก็มีการบรรลุข้อตกลงเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2494 กระทรวงการคลังและเฟดได้ออกแถลงการณ์ร่วมโดยอนุญาตให้เฟดมีความเป็นอิสระในการดำเนินงานในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยโดยไม่ต้องกังวลกับต้นทุนของรัฐบาลในการจัดหาเงินกู้ ซึ่งการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ จำเป็นที่เฟดต้องเป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง การรักษาความเป็นอิสระต่อหน้าประธานาธิบดีและสภาคองเกรสที่มักจะมีลำดับความสำคัญอื่นๆ เป็นความท้าทายอย่างต่อเนื่อง

 

 

4.Volcker Shock
 

 

ในปี 1979 ภาวะเงินเฟ้อรุนแรงจนควบคุมไม่ได้ สร้างความโกรธเคืองให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก จนกระทั่งประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ ต้องปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ โดยย้ายประธานเฟด จี. วิลเลียม มิลเลอร์ ไปนั่งในกระทรวงการคลัง จากนั้นเสนอชื่อ Paul Volcker ให้เข้ามารับตำแหน่งแทนในฐานะประธานเฟด
 

 

2 เดือนต่อมา ในวันที่ 30 กันยายน Volcker ได้เข้าร่วมการประชุมประจำปีของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในกรุงเบลเกรด เขาชมการบรรยายของอดีตประธานเฟด อาร์เธอร์ เบิร์นส์ โดยอธิบายว่าธนาคารกลางไม่สามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ เนื่องจากสังคมไม่ยอมให้เศรษฐกิจถดถอย
 

 

Volcker ออกจากการประชุมก่อนและกลับไปวอชิงตันเพื่อสรุปแนวทางใหม่ หนึ่งสัปดาห์ต่อมาเขาได้จัดการประชุมคณะกรรมการตลาดกลางแห่งสหพันธรัฐ (FOMC) นอกตารางในวันเสาร์ โดยมีการออกโครงการใหม่ที่น่าตกใจและน่าเกรงขามของธนาคารกลาง ซึ่งออกแบบมาเพื่อทำลายจิตวิทยาเรื่องเงินเฟ้อที่ครอบงำประเทศ
 

 

สิ่งเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดการประท้วงและอัตราการว่างงานสูงสุดนับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ และกลับกลายเป็นการวางรากฐานสำหรับ Great Moderation ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เงียบสงบผิดปกติในระบบเศรษฐกิจมหภาคที่โดดเด่นด้วยการเติบโตของรายได้ที่มั่นคง การถดถอยที่ตื้น และการขึ้นราคาหุ้นที่แข็งแกร่ง
 

 

 Volcker เข้าใจว่าธนาคารกลางมีความรับผิดชอบสูงสุดในการควบคุมเงินเฟ้อ และเขาก็พร้อมที่จะดำเนินการเชิงรุกที่จำเป็นต้องทำ ทุกวันนี้ พาวเวลไม่เคยโต้แย้งว่าเฟดไม่มีส่วนรับผิดชอบในการควบคุมเงินเฟ้อ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดและไม่ว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากเพียงใด

 

 

5.ตลาดหุ้นปี 2530 ดิ่งลง
 

 

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2530 เกือบ 2 เดือนหลังจากที่อลัน กรีนสแปน เข้ารับตำแหน่งเป็นประธานเฟด ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 23% หรือเกือบ 2 เท่าของขนาดที่ลดลงในปี 2472 ซึ่งเป็นการประกาศจุดเริ่มต้นของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ วันรุ่งขึ้น เวลา 08.41 น. ในกรุงวอชิงตัน ก่อนที่ตลาดหุ้นจะเปิดเวลา 09.30 น. มีการออกแถลงการณ์ว่า “ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยืนยันตามความรับผิดชอบในฐานะธนาคารกลางของประเทศ มีความพร้อมในการให้บริการเป็นแหล่งสภาพคล่องเพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจและการเงิน”
 

 

เฟดตอกย้ำคำแถลงดังกล่าวด้วยการดำเนินการ ทำการซื้อในตลาดเปิดเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีสภาพคล่องเพียงพอในระบบธนาคารและให้กู้ยืมเงินสำรองแก่ธนาคารผ่านส่วนลด ประธานเฟดแห่งนิวยอร์ก อี. เจอรัลด์ คอร์ริแกน เกิดความกังวล จึงได้โทรศัพท์หาสถาบันสำคัญๆ เพื่อเกลี้ยกล่อมให้พวกเขาให้ชำระเงินได้อย่างต่อเนื่อง ในอีกไม่กี่เดือนต่อมาอัตราเงินกองทุนของรัฐบาลกลางถูกปรับลดลง 0.75%
 

 

โดยความพยายามของเฟดช่วยป้องกันการล่มสลายทางการเงิน  พวกเขาประสบความสำเร็จอย่างมากจนแทบไม่สามารถตรวจพบการกระเพื่อมในระดับมาโครตั้งแต่ช่วงปลายปี 2530 และต้นปี 2531
 

 

 

6. 11 กันยายน
 

 

ตามธรรมเนียมปฏิบัติของเขา รองประธานเฟดโรเจอร์ เฟอร์กูสัน จูเนียร์ มาถึงสำนักงานในวอชิงตันแต่เช้าตรู่และอ่านเอกสารตอนเช้า เขาเป็นสมาชิกคนเดียวของคณะกรรมการบริหารของเฟดในสถานที่ในวันนั้น
 

 

หลัง 09.00 น. ไม่นาน เขาได้รับโทรศัพท์จากภรรยาว่าให้เปิดทีวี เครื่องบินลำหนึ่งบินเข้าไปในหอคอยแห่งหนึ่งที่ World Trade Center ของนิวยอร์ก ในไม่ช้าเครื่องบินลำที่ 2 ก็พุ่งชนอีกแห่งหนึ่ง โดย 1 ใน 3 โจมตีเพนตากอนเมื่อเวลา 09.37 น. กลุ่มควันที่เกิดขึ้นสามารถมองเห็นได้จากสำนักงานใหญ่ของเฟด และลำที่ 4 ซึ่งอาจหมายถึงเป้าอาคารรัฐสภาของสหรัฐ กลับตกใกล้เมืองแชงค์สวิลล์ รัฐเพนซิลเวเนีย ความเสียหายที่มากที่สุดในวันนั้น คือการสูญเสียชีวิตเกือบ 3,000 ชีวิต นอกจากนี้ยังมีการจัดการกับโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนตลาดการเงินของสหรัฐ เกิดวิกฤตความเชื่อมั่นขึ้นในวงกว้างว่าสหรัฐอเมริกาสามารถต้านทานการโจมตีที่โหดร้ายเช่นนี้ได้หรือไม่?
 

 

การกระทำแรกของเฟอร์กูสันคือ การสร้างความมั่นใจให้กับสาธารณชนว่าโครงสร้างพื้นฐานของเฟดได้ดำเนินการแล้ว และจะถูกนำมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการด้านสภาพคล่อง ข้อความที่ออกอากาศผ่าน Fedwire clearing system และต่อสาธารณชนทั่วไปเป็นการประกันว่าธนาคารกลางกำลังดำเนินการอยู่และสามารถเติมเต็มการขาดเงินทุนได้
 

 

ขณะที่การดำเนินการอื่นๆ เช่น วิธีการที่ใช้ในการต่อสู้กับวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2551 ในระหว่างการประชุม 2 ครั้ง อัตราเงินกองทุนของรัฐบาลกลางลดลง 100 bps นอกจากนี้เฟดยังใช้งบดุลเพื่อรองรับระบบการเงินและรับประกันมูลค่าของเช็คที่ยังอยู่ในระหว่างการเคลียร์ การกู้ยืมจากเฉลี่ย 59 ล้านดอลลาร์ก่อนการโจมตี เป็น 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในวันถัดไป
 

 

เฟอร์กูสันกล่าวว่า “เป็นวันแห่งโชคชะตาจริงๆ และในบางแง่ คิดว่ามันเป็นการนำเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ของการจัดการวิกฤติของธนาคารกลางสหรัฐ”
 

 

 

7.วิกฤตการเงินโลกและภาวะถดถอยครั้งใหญ่
 

 

เมื่อต้นปี 2551 เกิดรอยร้าวร้ายแรงในระบบการเงินของสหรัฐ ราคาบ้านเริ่มลดลง เพดานสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ในเดือนมีนาคมบริษัทหลักทรัพย์ Bear Stearns หลีกเลี่ยงการล่มสลายอย่างหวุดหวิดเมื่อตกลงที่จะ JPMorgan Chase & Co. ซึ่งเป็นทายาทของธนาคารที่ยุติ Panic ในปี 2450 เข้าครอบครอง
 

 

ต่อมาในปีเดียวกัน ระบบการเงินของสหรัฐและระบบการเงินทั่วโลกเกือบจะพังทลาย บริษัทประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย Fannie Mae และ Freddie Mac ถูกกระทรวงการคลังเข้าครอบครอง เลห์แมน บราเธอร์ส คู่แข่งรายใหญ่ของแบร์ สเติร์นส์ ระส่ำ เช่นเดียวกับบริษัทประกันภัยยักษ์ใหญ่อย่าง American International Group Inc. หรือ AIG เฟดเข้าช่วย AIG จากการล้มละลาย แต่หลังจากได้ข้อสรุปว่าเลห์แมน บราเธอร์สอยู่ไกลเกินเอื้อม ซึ่งเป็นความล้มเหลวที่ส่งสัญญาณเตือนต่อเนื่องผ่านตลาดการเงินทั่วโลก เฟดอนุญาตให้โกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป อิงค์ และมอร์แกน สแตนลีย์ ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุด 2 แห่งของสหรัฐ แปลงเป็นธนาคารอย่างรวดเร็วภายใต้การอุปถัมภ์ของธนาคารกลาง

 

เฟดตอบสนองต่อวิกฤติด้วยกลยุทธ์ 4 ประการ ได้แก่ ประการแรก เสริมสภาพคล่องภาคการธนาคาร ประการที่สอง ใช้อำนาจฉุกเฉินที่มอบให้ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เพื่อให้กู้ยืมแก่สถาบันการเงินอื่นที่ไม่ใช่ธนาคาร ประการที่สาม ลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วเป็นศูนย์ และประการที่ 4 เปิดตัวเครื่องมือใหม่ในนโยบายการเงิน ซึ่งรวมถึงคำแนะนำล่วงหน้าและการซื้อสินทรัพย์

การกระทำเหล่านี้ทำให้เกิดความตื่นตระหนกและความมั่นคงของตลาด แต่การฟื้นตัวกลับพิสูจน์ได้ช้าอย่างเจ็บปวด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายการเงินที่รัดกุมก่อนเวลาอันควร Ben Bernanke ประธานเฟดในช่วงวิกฤติและผู้เขียนหนังสือ 21st Century Monetary Policy: The Federal Reserve From the Great Inflation to COVID-19 แนะนำให้ รัฐบาลสหรัฐประกาศใช้การเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับนโยบายการคลังให้สอดคล้องกับความต้องการของเศรษฐกิจโดยอัตโนมัติแทน

 

การช่วยเหลือบริษัททางการเงินของเฟดช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ซ้ำอีก แต่ยังทิ้งคำถามที่ยังไม่ได้ตอบไว้ว่าเมื่อเกิดวิกฤติใครจะได้รับการประกันและใครเป็นคนตัดสินใจ?

 

 

8.โรคระบาดโควิด-19

ในงานแถลงข่าววันที่ 29 มกราคม 2563 เจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ได้กล่าวถึงความไม่แน่นอนในมุมมองถึงกรณีการเกิกโควิด-19 ซึ่งในเวลานั้นไม่มีการบันทึกการเสียชีวิตในสหรัฐอเมริกา แต่สถานการณ์แย่ลงอย่างรวดเร็ว เมื่อวันที่ 15 มีนาคม FOMC ได้ปรับลดอัตราเงินกองทุนของรัฐบาลกลางเป็นศูนย์ และระบุว่าคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้จนกว่าเศรษฐกิจจะอยู่ในแนวทางที่จะบรรลุเป้าหมายการจ้างงานสูงสุดและเสถียรภาพด้านเงินเฟ้อ
 

 

ดราม่าเพิ่งเริ่มต้น ความผิดปกติของตลาดจำนวนมากที่ยึดระบบการเงินในปี 2551 คุกคามอีกครั้ง เพื่อเป็นการตอบโต้ เฟดจึงเปิดหัวจุกการเงิน รีไซเคิลหลายหน้าจาก playbook ปี 2008 ทั้งการให้ยืมเงินหลายล้านล้านดอลลาร์ นำหลักทรัพย์ธนารักษ์มาเป็นหลักประกัน ซื้อตั๋วเงินคลังและหลักทรัพย์ค้ำประกันในจำนวนที่แคบกว่าการซื้อที่ดำเนินการในช่วงวิกฤติการเงิน ซึ่งตอบสนองความต้องการเงินดอลลาร์จากต่างประเทศโดยการเปิดใช้งาน swap lines กับธนาคารกลางอื่นๆ อีกครั้ง
 

 

ด้วยการสนับสนุนจากสภาคองเกรส เฟดยังเปิดโครงการให้กู้ยืมแก่บริษัท ธุรกิจขนาดกลาง และรัฐบาลของรัฐและท้องถิ่น เมื่อรวมกับการสนับสนุนทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ การดำเนินการของเฟดทำให้ระบบเศรษฐกิจและการเงินไม่ล่มสลาย ทั้งนี้การใช้จ่ายที่พุ่งสูงขึ้นช่วยผลักดันให้เงินเฟ้อพุ่งขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่เฟดมองข้ามไปในตอนแรกอย่างผิดๆ ว่าเป็น "ชั่วคราว" การระบาดใหญ่ มาตรการกระตุ้น และสงครามทั้งหมดรวมกันเพื่อผลักดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้น
 

 

ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2564 เฟดเริ่มมีจุดยืนที่กระฉับกระเฉงมากขึ้น ภายในเดือนกรกฎาคม 2565 FOMC ได้เพิ่มอัตราเงินกองทุนเป็นช่วงเป้าหมายที่ 2.25% เป็น 2.5% และบอกกับตลาดว่าคาดว่าจะมีอีกมากที่จะเกิดขึ้น และอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงกว่า 6% ซึ่งมากกว่าเป้าหมาย 2% ของเฟดถึง 3 เท่า นั่นทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้กำหนดนโยบายสามารถทำได้ดีกว่านี้ และวิธีที่พวกเขาสามารถฟื้นสถานะเป็นผู้พิทักษ์ความมั่นคงในเดือนและปีต่อๆ ไป
 

 

 

 

อ้างอิง : https://www.bloomberg.com/news/features/2022-08-15/how-the-federal-reserve-responded-to-8-economic-crises

 

 


OttO