16 หุ้นปันผล Dividend Yield เกิน 5% ติดต่อกัน 5 ปี
.
ท่ามกลางปัจจัยลบรุมเร้า ทำให้ตลาดหุ้นผันผวนรุนแรง แต่ถ้าสนใจลงทุนหุ้นก็ต้องมองหาเกราะป้องกันไม่ให้พอร์ตลงทุนโดยรวมเสียหาย ซึ่งหุ้นที่ถือแล้วอุ่นใจ คือ หุ้นที่มีอัตราผลตอบแทนเงินปันผล (Dividend Yield) สูงและต่อเนื่อง เพราะขณะที่ราคาหุ้นปรับขึ้นและลงอย่างน่าตกใจ หุ้นที่จ่ายปันผลสูงจะช่วยสร้างกระแสเงินสดให้นักลงทุนได้
.
“Dividend Yield” เป็นส่วนหนึ่งของผลตอบแทนรวมจากการลงทุนหุ้น นักลงทุนนิยมนำมาใช้ประกอบเพื่อสะท้อนมูลค่าหุ้น ถ้าหุ้นตัวไหนมีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลสูงก็จะดึงดูดนักลงทุนให้เข้าลงทุน แต่ถ้าหุ้นตัวไหนมีค่านี้ต่ำก็ต้องไปศึกษาข้อมูลว่ามาจากความสามารถในการทำกำไรหรือเก็บเงินเอาไว้เพื่อไปขยายธุรกิจ จึงไม่จ่ายเงินปันผลออกมา
.
“Dividend Yield” คำนวณยังไง?
.
Dividend Yield = เงินปันผลต่อหุ้น (ต่อปี) x 100 ÷ ราคาหุ้น
.
ผลลัพธ์ มากกว่า 0 แปลว่า บริษัทมีการจ่ายเงินปันผล
ผลลัพธ์ น้อยกว่า 0 แปลว่า บริษัทไม่มีการจ่ายเงินปันผล
.
ดังนั้น อัตราผลตอบแทนเงินปันผล ยิ่งมีค่าสูง หมายความว่า ผู้ถือหุ้นจะได้รับผลตอบแทนในรูปเงินปันผลสูงตามไปด้วย ตัวอย่าง…
.
หุ้น A
เงินปันผล = 2 บาทต่อหุ้น
ราคาหุ้นปัจจุบัน = 30 บาทต่อหุ้น
จะได้ “Dividend Yield” = 6.67%
.
หุ้น B
เงินปันผล = 2 บาทต่อหุ้น
ราคาหุ้นปัจจุบัน = 80 บาทต่อหุ้น
จะได้ “Dividend Yield” = 2.50%
.
จากตัวอย่าง ถึงแม้หุ้นทั้ง 2 บริษัทจ่ายเงินปันผลเท่ากัน (2 บาท) แต่หุ้น A มีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลสูงที่สุด เนื่องจากมีราคาหุ้นต่ำ
.
นอกจากการเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนเงินปันผลกับราคาหุ้นแล้ว ก็ยังสะท้อนถึงความแข็งแกร่งของการดำเนินธุรกิจด้วย เช่น ถ้าอัตราผลตอบแทนเงินปันผลเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาจเป็นไปได้ว่าสามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นหรือราคาหุ้นปรับลดลง หรือเกิดจากปัจจัยดังกล่าวพร้อมกัน
.
อย่างไรก็ตาม เพื่อความอุ่นใจก่อนลงทุนควรพิจารณาว่าหุ้นตัวไหนที่มีประวัติการจ่ายเงินปันผลอย่างไร ด้วยการดูข้อมูลย้อนหลัง เช่น 5 ปีย้อนหลังว่าจ่ายเงินปันผลติดต่อกันทุกปีหรือไม่ จากนั้นก็มองไปข้างหน้าว่ามีความสามารถจ่ายปันผลได้หรือไม่ ด้วยการอ่านบทวิเคราะห์ เพราะนักวิเคราะห์จะทำการประเมินว่าปีถัดไป หุ้นตัวนั้นจะมีโอกาสจ่ายเงินปันผลที่ระดับใด
.
ที่สำคัญอัตราผลตอบแทนเงินปันผลเป็นเพียงตัวช่วยหนึ่งเพื่อประเมินความน่าลงทุน ดังนั้น ควรศึกษาข้อมูลอื่น ๆ ประกอบและคำนวณค่าต่าง ๆ ให้ครอบคลุม เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุนด้วย
