สัมมนา เรื่อง Power of Brand Stories และ กองทุนที่ไปลงทุนในหุ้นที่ผันผวนต่ำ
ผมได้มีโอกาสไปฟังเรื่องราวของบริษัทที่มีแบรนด์แข็งแกร่ง มีรายได้อย่างสม่ำเสมอจากวิทยากร อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Blognone, Brand inside
คุณอิสริยะพูดถึงบริษัทที่มี Market cap ใหญ่อันดับต้นๆของโลก ซึ่งตอนนี้ได้เปลี่ยนแปลง
โครงสร้างรายได้ของบริษัท เพื่อเติบโตไปกับการเปลี่ยนแปลงของโลก
เช่น
1.บริษัท Microsoft ทุกคนคิดว่ารายได้หลักมาจากการขาย windowsและoffice
หลังจากที่CEO ท่านใหม่ คุณสัตยาเข้ามาบริหารงานตั้งแต่ ปี2014
ตอนนี้ MS ได้เข้าไปลงทุนในบริษัทอีก 67 บริษัทภายใน5ปีที่ผ่านมา
ทำให้โครงสร้างรายได้เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกออกมาได้เป็น3กลุ่มคือ
1.Productivity and business process สินค้าได้แก่ Dynamic365 ซึ่ง
เป็นsoftware ERPคล้ายกับSAP, Linked In, Office
2.Intelligent Cloud : MS Azure รายได้จากcloud ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากamazon
3.More Personal Computing : MS surface, Windows , X box
จะสังเกตว่าทางMicrosoftจะมีรายได้มาจากหลายทาง ซึ่งwindowsถือเป็นdowntrend
ถึงแม้จะถูกกระทบ แต่ก็มีรายได้จากส่วนอื่นมาทดแทน
2.บริษัท Amazon ซึ่งโตมากับธุรกิจ E-commerce ซึ่งเป็นธุรกิจไม่มีกำไร
แต่ Amazonได้แตกไปทำธุรกิจให้เช่าเก็บข้อมูลบนcloud (AWS) ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ1
และนำกำไรมาจุนเจือธุรกิจE-commerce
3.SAP เป็นsoftware จัดการหลังบ้านเกี่ยวกับ ERP,CRM,Supplychain,HR ,Analytic Big data
ถือเป็นบริษัทมั่นคง เพราะบริษัทไหนที่ได้ใช้แล้ว จะเปลี่ยนไปใช้ตัวอื่นยากเพราะมีswitching costสูง
4.accenture ซึ่งเป็นบริษัทให้คำปรึกษา และ รับจ้างเกี่ยวกับITให้กับบริษัทต่างๆ
ซึ่งบริษัทเหล่านี้น่าสนใจ แต่จะไปลงทุนโดยตรง ก็ต้องมาวิเคราะห์ว่าจะลงทุนบริษัทไหนดี
ผมไปเช็คแล้ว มี กองทุน Morgan Stanley Investment Fund – Global Brands Fund ที่ไปลงทุนหุ้นประเภทนี้ โดยคัดจากหุ้น1,000กว่าตัว ออกมาเพียง30ตัวที่ลงทุน ซึ่งจะมีบริษัทต่างๆที่พูดถึง
อยู่ใน Port แต่จะไปลงทุนกองนี้โดยตรง ก็จะต้องบัญชีที่ไปซื้อกองนี้ในต่างประเทศ และ ต้องกังวลเรื่องอัตราเเลกเปลี่ยนอีก
พอดี ทางบลจ พรินซิเพิล ที่คุณ วิน พรหมแพทย์ บริหาร กำลังเสาะหากองทุนหุ้นที่มีความผันผวนต่ำมาให้กับนักลงทุน ซึ่งช่วงนี้กองทุนตราสารหนี้ดูไม่น่าสนใจเพราะโอกาสที่ดอกเบี้ยลงอีกไม่มาก
มีความเสี่ยงเมื่อดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น ประกอบกับระดับ Valuationของหุ้นกลุ่มDefensiveอยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยระยะยาว ก็เลยติดต่อทางMorgan Stanley เพื่อร่วมมือกันออกกอง Principle Global Brands Fund ให้กับนักลงทุน
เพื่อจะได้มีส่วนร่วมในการเติบโตไปพร้อมกับบริษัทที่มีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง
กองนี้มีความเสี่ยงระดับ6 รวมถึงความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนด้วย
ค่าธรรมเนียมการขาย 1.5% และ ค่าธรรมเนียมการจัดการ 1.605%ต่อปี
ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ ไม่เกิน 0.33% ต่อปี
ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน เก็บ 0.321%
ผลการดำเนินงานของกองแม่ จากปี2002 ถึง ปัจจุบันมีการติดลบ2ครั้งแต่น้อยกว่าตัวเปรียบเทียบวัด
คือช่วงปี2008 ,2018 ดูรายละเอียดจากchart
ตอนนี้หุ้นในportไม่มีบริษัทจีนเลย เพราะผู้จัดการกองทุนกลัวผลกระทบจากสงครามการค้า
สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนให้ศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารที่แนบไป และ ปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของบลจ
หรือ ผู้จัดจำหน่ายก่อนการลงทุน นะครับ
การลงทุนมีความเสี่ยง ควรจัดportการลงทุนให้เหมาะสมกับตัวเองนะครับ