ห้องเม่าปีกเหล็ก

SDGs in ASEAN… ความยั่งยืนที่ยังห่างไกล

โดย DAVINCI
เผยแพร่ :
46 views

SDGs in ASEAN… ความยั่งยืนที่ยังห่างไกล

 

เวลากว่าทศวรรษผ่านไป… นับจากที่โลกประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ด้วยคำมั่นว่า “เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

แต่วันนี้ เหลือเวลาเพียง 5 ปี คำถามใหญ่คือ เป้าหมายเหล่านั้น ยังเป็นไปได้อยู่ไหม?

คำตอบคือ... ยังห่างไกลกว่าที่คิด

ยุโรปนำหน้า แต่โลกกำลังถดถอย ประเทศอย่างฟินแลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก เยอรมนี ฝรั่งเศส ยังคงยืนหนึ่งในอันดับต้น ๆ ในขณะที่หลายประเทศในแอฟริกาตกอยู่ในกลุ่มท้ายตาราง โดยเฉพาะเป้าหมายที่เกี่ยวกับความยากจน สุขภาพ และโครงสร้างพื้นฐาน

ASEAN กับความสำเร็จบางจุด แต่ยังไกลปลายทาง

 

 

ไทยยังครองอันดับหนึ่งของ ASEAN แต่อันดับโลกยังอยู่ที่กลางตาราง ห่างจากยุโรปเกือบ 30 อันดับ ตามด้วย 

เวียดนาม 

สิงคโปร์ 

อินโดนีเซีย และ 

มาเลเซีย ขณะที่ 

ลาวยังอยู่ท้ายตาราง

ประเทศที่อันดับดีขึ้นจากปีก่อน ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน กัมพูชา เมียนมา

ขณะเดียวกัน เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย และลาวกลับมีอันดับถดถอย สะท้อนถึงความผันผวนและความเปราะบางของการพัฒนา

บางประเทศบรรลุ “เป้าหมายย่อย” ได้สำเร็จ

ความหวังยังมี แม้ในภาพรวมยังล่าช้า หลายประเทศทำสำเร็จในบางเป้าหมาย เช่น:

SDG1: ยุติความยากจน –

 ไทย 

มาเลเซีย

SDG4: การศึกษาที่มีคุณภาพ –

 ไทย 

เวียดนาม 

สิงคโปร์

SDG9: โครงสร้างพื้นฐาน – 

สิงคโปร์

SDG11: เมืองยั่งยืน –

 บรูไน

SDG12: การผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน –

 ฟิลิปปินส์

SDG13: การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

 – กัมพูชา

แต่ยังไม่มีประเทศใดใน ASEAN ที่เข้าใกล้การบรรลุเป้าหมายทั้งหมดอย่างแท้จริง

 

ความท้าทายใหญ่

ความยั่งยืนกับโครงสร้างที่ยังไม่เปลี่ยน

เป้าหมายที่ทุกประเทศยังตามไม่ทัน ได้แก่ SDG14: การใช้ทรัพยากรทางทะเล และ SDG15: การดูแลระบบนิเวศบนบก

และนี่คืออุปสรรคใหญ่ที่ทำให้เป้าหมายยังอยู่ไกล:

• วิกฤต COVID-19 และสงคราม กระทบทุกมิติ

• การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ส่งผลซ้อนต่อหลายเป้าหมาย

• โครงสร้างคอร์รัปชัน และการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพ

• ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบยังไม่เข้มข้นพอ

 

Insight ที่ชวนตั้งคำถาม: ประเทศควรโตไปทางไหน?

บางประเทศ เช่น สิงคโปร์ แม้พัฒนาเศรษฐกิจได้รวดเร็ว แต่กลับมีอันดับ SDGs ที่ถอยหลัง แสดงให้เห็นว่า “การเติบโต” ไม่ได้แปลว่า “ยั่งยืน” เสมอไป

 

เป้าหมายที่ยังต้องสู้

ทางรอดของความยั่งยืน คือ ความเข้าใจร่วม + การลงมือทำอย่างจริงจัง + การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอย่างต่อเนื่อง

แม้โอกาสบรรลุ SDGs ภายในปี 2573 จะริบหรี่ แต่ทุกฝ่ายยังต้องไม่หยุดเดิน

เพราะ…

“ความยั่งยืนไม่ใช่ทางเลือก แต่คือทางรอด และคือเส้นทางที่คนรุ่นถัดไปสมควรได้รับ”

.

เรื่องและภาพ: กุสุมา ธะนะวงศ์ Economist, Bnomics

════════════════

 

ที่มาเนื้อหาจาก..  Bnomics by Bangkok Bank


DAVINCI