ห้องเม่าปีกเหล็ก

‘ดร.สมเกียรติ’ TDRI ชำแหละ ‘ไทยแลนด์ 4.0’ ถึงฮับดิจิทัล

โดย sirichai1966
เผยแพร่ :
53 views
ตีพิมพ์ 2017-04-03

ปักธงขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศด้วย เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในทุกภาคส่วน 3 ปีผ่านไป ในสายตานักวิชาการแถวหน้า อย่าง “ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์” ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มีความคิดเห็นและมองปรากฏการณ์ ดังกล่าวนี้อย่างไร อ่านได้ในบรรทัด ถัดจากนี้ไปโดย “ประชาชาติธุรกิจ”

IMG_7074

ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ถ่ายภาพโดย: อนุชิต นิ่มตะลุง

ความเห็นเกี่ยวกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0

คอนเซ็ปต์ 4.0 เป็นเรื่องที่ถูกต้อง เราอย่า ลดความสำคัญของการมีคอนเซ็ปต์ที่ถูก เพราะในเมืองไทยหลายเรื่องมีคอนเซ็ปต์ที่ผิด การ implement จึงมีปัญหา แต่อย่างน้อย ไทยแลนด์ 4.0 คอนเซ็ปต์ถูกทาง แต่นอกจากคอนเซ็ปต์ในระดับสูงสุดแล้ว งานระดับย่อย ๆ ไม่ไปในทางเดียวกันเลย ราชการยังทำแบบเดิม คือเอาทุกเรื่องที่ตัวเองทำ ไปใส่คำว่า 4.0 เหมือนสมัย AEC แล้วก็ทำแบบเดิมทุกอย่าง

ข้อบกพร่องส่งผลอะไรบ้าง

ทุกเรื่องในไทยจะติดปัญหากลไก ขับเคลื่อนของราชการ เรื่อง 4.0 ก็เหมือนกัน อย่าว่าแต่ประชาชนไม่ค่อยเข้าใจเลย ซึ่งรวมไปถึงนักธุรกิจด้วย นักธุรกิจในกรุงเทพฯอาจจะเข้าใจ แต่เท่าที่ผมได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในต่างจังหวัด นักธุรกิจก็อยากจะรู้ว่ามันคืออะไรกัน ฉะนั้น อย่าเพิ่งพูดกันว่าจะทำอะไร เอาเป็นว่าอธิบายก่อนว่ามันคืออะไร

คนไม่เห็นเป้าหมายว่าต้องการอะไร 

ใช่ และจริง ๆ แล้วการจะไปสู่ 4.0 เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องรีฟอร์มด้วย แต่จุดอ่อนคือรัฐบาลหวังว่าจะเกิดโดยไม่ต้องรีฟอร์มอะไรมาก หรือพยายามทำให้เป็นคนละเรื่องกัน หลายเรื่องต้องมีการปฏิรูป แต่รัฐบาลไม่ค่อยจะกล้าทำสักเท่าไร

ง่าย ๆ ถ้าจะไป 4.0 ต้องเปิดเสรีในบางสาขา เช่น อยากให้ไทยเป็นเมดิคอลฮับตามนโยบายเอสเคิร์ฟ แต่เรากำลังขาดหมอขาดพยาบาล ซึ่งจะนำเข้ามาก็ได้ แต่รัฐบาลจะกล้าเปิดเสรีไหม เพราะกระทบกับพยาบาลบางกลุ่ม อย่างการศึกษาจะเป็น 4.0 ก็ต้องปฏิรูปการศึกษาใหม่ มีการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ซึ่งจะกระทบกับครูที่เป็นอยู่ หรือการจะเป็น 4.0 ต้องกระทบกับรัฐวิสาหกิจที่มีอยู่ รัฐบาลกล้าไหม

รัฐต้องเลิกอุปสรรคมากมายที่มีอยู่ เอกชนก็มีข้อเสนอ Regulatory Guillotine เพื่อปฏิรูปทบทวนกฎหมายครั้งใหญ่ เกาหลีใต้เคยมีกฎหมาย 4 หมื่นฉบับ พอใช้วิธีนี้ก็ลดลงไปเหลือแค่ 2 หมื่น ไทยจะกล้าทำหรือไม่ ถ้าจะหวังให้การปฏิรูปทุกคนยังมีความสุขเหมือนเดิม มันจะไม่เกิดขึ้นหรอก ที่สำคัญคือรัฐบาลยังใช้ข้าราชการเป็นตัวนำในการปฏิรูป พยายามปรับโฉม อย่างกระทรวงไอซีที เป็นดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลฯ ไม่ใช่ว่าคอนเซ็ปต์ไม่ดี แต่พอไล่จากระดับนโยบายลงมา implement วิธีคิดต่าง ๆ ไม่ได้ตามไปแนวเดียวกับนโยบายที่วางไว้เลย จึงยัง ไม่ได้เห็นการปฏิรูป

ชูธงสตาร์ตอัพมาก ไม่ได้เป็นนโยบายที่ผิด แต่น้ำหนัก ของประเทศไทยถ้าจะให้ได้ผลเร็วหรือ ได้ผลเยอะ ขึ้นอยู่กับของที่เซ็กซี่น้อยกว่า สตาร์ตอัพเยอะ คืออยู่ที่ productivity แปลว่า คุณยังไม่ต้องไปสู่ธุรกิจใหม่หรือมีโมเดลธุรกิจใหม่ แต่ทำธุรกิจแบบเดิม แบบมีประสิทธิภาพสูง ๆ เอาวิธีแบบลีนตัดกระบวนการที่ไม่จำเป็นมาใช้ในการเกษตร อุตสาหกรรม ธุรกิจบริการ แค่นี้ก็จะยกระดับประเทศไทยไปได้ไกลมาก แล้วค่อยต่อยอดด้วย สตาร์ตอัพหรือธุรกิจใหม่ก็ได้ แต่ถ้าคุณไปเริ่มต้นด้วยธุรกิจใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจเล็ก แล้วธุรกิจส่วนใหญ่ยังทำแบบเดิม ๆ มันก็จะไปไม่ได้

ไม่ปฏิรูปแต่พยายามดันสิ่งใหม่ เป็นลักษณะของรัฐบาลชุดนี้ ที่มองว่าเป็นจุดอ่อน ทั้งที่มีอำนาจอยู่มาก ควรจะต้องกล้าทำในสิ่งที่บางครั้งจะเจ็บปวดบ้าง นัยของการหันไปทำสิ่งใหม่คือ จะไม่แตะ ของเดิม ไม่แก้ปัญหาเดิม โดยหวังว่า จะสร้างสิ่งใหม่เพื่อให้มาแทนของเดิม แต่มันแทนไม่ได้หรอก อย่างในกระทรวงไอซีที ถามว่า CAT กับ TOT จะไปอย่างไรกันต่อ ก็ไม่มีทางไป

อ่านต่อ 

http://tdri.or.th/tdri-insight/th4-digitalhub/

สปอนเซอร์

https://www.youtube.com/watch?v=UtN0P0X_w5M&feature=youtu.be


sirichai1966