ดูเหมือนว่าเหตุการณ์หุ้น #STARK จะส่งผลกระทบในวงกว้าง...
และผู้ที่ต้องรับผิดชอบมากที่สุดคือ กลุ่มผู้บริหาร
แต่เนื่องจากว่าผู้บริหารได้หายตัวไปแล้ว และกลุ่มคนที่มักจะถูกกล่าวถึงและต้อง "รับผิด" คือ ผู้ตรวจสอบบัญชี
สาเหตุเป็นเพราะว่าต้นเหตุของเรื่องคือเรื่องของการตกแต่งบัญชีให้ดูดีเกินจริง
ถ้าไม่โทษผู้ตรวจสอบบัญชี แล้วจะให้โทษใคร?
.
คำถามคือ ในสถานการณ์ของ STARK ที่เกิดขึ้น เราสามารถโทษผู้ตรวจสอบบัญชีในคดีฉ้อโกงได้ไหม?
คำตอบคือ อาจจะกล่าวโทษได้ไม่เต็มปากเท่าไร...
เราต้องแยกพิจารณาเป็นกรณีไปว่า
ถ้าผู้ตรวจสอบบัญชีมีส่วนรู้เห็นกับการทุจริตจริงๆ (ซึ่งโอกาสเป็นไปได้น้อย) มีหลักฐานปรากฏชัดเจนก็ควรจะใช้กระบวนการทางกฏหมาย
แต่ในกรณีทั่วไปคือ ตรวจสอบอย่างถูกต้องตามหลักวิชาชีพ ก็ไม่สามารถโทษนักตรวจสอบบัญชีว่าเป็นฝ่ายผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว
.
โดยปกติแล้ว เวลาเราโหลดผลประกอบการของบริษัทผ่านเว็บ set.or.th จะมี 3 ไฟล์ คือ
.
✅ 1. Auditor Report หรือรายงานของผู้สอบบัญชี
✅ 2. Financial Statements ผลประกอบการ งบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด
✅ 3. Notes หมายเหตุประกอบงบการเงิน และหมายเหตุของ Financial Statements ที่ต้องอธิบายเพิ่มเติม
.
ซึ่งนักลงทุนจะให้ความสนใจแต่เฉพาะข้อ 2 และมองข้ามข้อ 1
เพราะคิดว่าผู้สอบบัญชีไม่น่าจะแสดงความคิดเห็นอะไรในงบการเงิน (อีกทั้งเนื้อหาในรายงานผู้สอบบัญชีเป็นภาษาที่อ่านยาก ไม่ค่อยน่าอ่านสักเท่าไร ใครเขาจะไปอ่านกัน...)
.
ถ้างบการเงินไหนไม่ได้มีประเด็น คือมีการจัดทำตามมาตรฐานทางบัญชี
และรายงานแบบไม่มีเงื่อนไขที่เรียกว่า Clean Report หรือ Unqualified Report
ผู้สอบบัญชีตรวจสอบงบการเงินเพื่อ “แสดงความเห็น” ว่างบการเงินแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานโดย “ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญ” ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
.
แต่ถ้างบการเงินไหนมีประเด็น หรือข้อมูลงบการเงินส่วนไหนที่มีปัญหา ผู้ตรวจสอบบัญชีก็มักจะแสดงความคิดเห็นเอาไว้
.
ตัวอย่างเช่น งบการเงิน ประจำปี 2564 หุ้น STARK ที่ผู้ตรวจสอบบัญชีมีแสดง "เหตุการณ์ที่เน้น"
พูดง่ายๆ คือ หน้าที่ของผู้ตรวจสอบบัญชี มีหน้าที่แค่ตรวจสอบบัญชี ไม่ใช่การตรวจหาการทุจริต...
.
อ่านต่อที่นี้ : https://bit.ly/3NMOB5T
