
เจาะโมเดลธุรกิจ AU กับ ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล และดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในรายการ Business Model ครับ ผมสรุปสาระสำคัญมาให้อ่านกันจากการฟังคลิป
----------------------------------

ส่วนที ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- Business model ของ AU เป็นร้านขนมหวานที่จับผู้บริโภคระดับสูงเพราะดูจากราคาต่อจานอยู่ที่ 125-200 บาท/จาน
- นอกจากอยู่ในกลุ่มอาหารและเบเกอร์รี่แล้ว เราจะต้องดูเรื่องของแฟชั่นด้วย
- การวิเคราะห์ต้องดูที่ Gross margin ดูจากงบการเงินแล้วอยู่ในระดับสูงมาก
- บริษัทต้องเช่าพื้นที่จากห้างสรรพสินค้าประเภทไฮเอ็น ตัวค่าเช่าพื้นที่จึงสูงมากเช่นเดียวกัน ดูจากร้านแล้วน่าจะอยู่ประมาณ 75-100 ตารางเมตร มีค่าสร้างร้านอยู่ที่ประมาณ 4.5 -7.5 ล้านบาท สัญญาเช่าประมาณ 3-9 ปีต่อสาขา
- บริษัทมีครัวกลางเป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นจุดเด่นของธุรกิจเบเกอร์รี่
- ค่าเช่าร้านมีผลกับการทำกำไรของบริษัทโดยตรง ถ้าค่าเช่าขึ้นกำไรจะกระทบกับบริษัท
- บริษัทต้องลงทุนรีเสิร์จอาหารใหม่ๆเพราะอยู่ในกลุ่มธุรกิจแฟชั่น มักจะหมดความนิยมเร็ว ดังนั้นจึงต้องมีอะไรที่เป็นกระแสอยู่เสมอ
- ในแต่ละสาขา จะมีรายได้ประมาณเท่าไรต่อร้านต่อปี Same store sale growth จะอยู่ที่เท่าไร มีการเติบโตของรายได้มากแค่ไหน
- เท่าที่ผ่านมา AU มีทั้งหมด 18 สาขา ซึ่งไม่เคยปิดสาขาไหนเลย รายได้เขาก็เติบโตขึ้นทุกๆปี อย่างของปี 2559 รายได้ 9 เดือนก็มากกว่าปี 2558 ทั้งปีแล้ว

- ที่น่าสนใจคือ กำไรของธุรกิจ เพราะถึงแม้ว่า margin จะดี แต่จะสูญเสียไปกับค่าเช่าพื้นที่
- ธุรกิจของบริษัทเป็นธุรกิจเงินสด มีกระแสเงินสดเข้าร้านอยู่เสมอ
- เราต้องดู PE/Growth ถ้าบริษัทสามารถเพิ่ม Same store sale growth ได้ จะถือว่าดีมากๆ ถ้าดูงบย้อนหลังก็ถือว่าโตโดดเด่น ตอนนี้เราต้องวัดดูว่าการตลาดของบริษัทจะเป็นอย่างไรต่อไป ทำตลาดผ่านโซเชียวมีเดียไหม จ้างดารามาโปรโมตไหม
- บริษัทจะต้องคิดโมเดลใหม่ๆ คือให้คนเข้ามานั่งในร้านได้เหมือนกับธุรกิจร้านกาแฟอย่างสตาร์บัค ตรงนี้เป็นโจทย์ความท้าทายใหม่
- บริษัทอาจจะหาอะไรใหม่ๆมาให้เจาะกับความเป็นแมสมากขึ้น คือคนส่วนใหญ่ที่มีฐานะดับปานกลางมาใช้บริการได้ เมนูอาหารอาจจะลดราคาลงมา เปลี่ยนชื่อร้านใหม่ ถ้าเราพูดถึงเรื่องของการเติบโต การขยายตลาดแมสเป็นอะไรที่น่าสนใจ

ส่วนที ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- ส่วนตัวเคยใช้บริการร้าน AU แต่ไม่ค่อยได้เข้าเพราะอาหารหวานเกินไป
- แนวโน้มของคนไทยกินอาหารหวานน้อยลงเรื่อยๆ อาจจะเป็นเรื่องของอายุที่มากขึ้น
- นี้เป็นธุรกิจที่ดีมากในกลุ่มระดับไฮเอ็น หรือผู้มีรายได้สูง
- เราอาจจะไปเทียบกับร้านกาแฟอย่างสตาร์บัค แต่จุดไม่เหมือนกันคือ ร้านกาแฟเป็นร้านนั่งชิวๆ สามารถนั่งคนเดียวได้ สามารถใช้เวลากับร้าน คนที่มีรายได้ปานกลางก็สามารถใช้บริการได้ ในขณะที่ร้าน AU เป็นร้านของแฟชั่น การจะนั่งคนเดียวอาจจะไม่ใช่จุดประสงค์ จะต้องมีการไปนั่งเป็นกลุ่มหรือว่าไปกับคนรัก ซึ่งแตกต่างจากร้านกาแฟ
- ถึงแม้ว่าจะเป็นธุรกิจที่ดี แต่เป็นธุรกิจที่เหนื่อยมากเพราะต้องตามกระแสแฟชั่นอยู่เสมอ ถ้าสมมุติว่ามีคนทำรีเสิร์ชเป็นคนคิดค้นขนมไอนั้นไอนี้ เกิดเขาออกไปก็สามารถไปทำแข่งได้ อร่อยเหมือนกัน ราคาถูกกว่า คือพูดง่ายๆว่าไม่มี "คูเมืองแห่งความได้เปรียบ" คู่แข่งสามารถเข้ามาแข่งขันได้ง่ายมาก ถ้าเขามีทุน มีความสามารถในการเปิดร้านเบเกอร์รี่ เดียวนี้เด็กรุ่นใหม่ใครๆก็ทำกันเยอะ ร้านกาแฟ ร้านเบเกอร์รี่
- 18 สาขา ด้วย Market Cap 3000 ล้าน เป็นอะไรที่สูงมาก ถ้าดูโดยเฉลี่ยแสดงว่าสาขาละ 200 ล้าน มันสูงขนาดนั้นไหม ? เป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องประเมินมูลค่าดู มันแพงไปหรือเปล่า เราให้พรีเมียมกับตัวหุ้นมากเกินไป
- แบรน After you ไม่ได้เป็นแบรนที่ติดตลาดมากขนาดนั้น คนต่างประเทศมาไทยไม่ได้จำเป็นต้องมากิน After you แต่สำหรับสตาร์บัคเองเป็นแบรนที่ต่างชาติเขาเชื่อใจ เขาต้องกินถ้าเป็นคนติดกาแฟ ตรงนี้นักลงทุนต้องสนใจ
- เบเกอร์รี่ไม่ใช่อาหารที่เราจำเป็นต้องกินทุกอาทิตย์ ไม่เหมือนกับอาหารหรือข้าวที่เรากินทุกวัน กินทุกอาทิตย์ แต่นี้ขนมนมเนย เรากินนานๆที
- ร้าน After you เป็นร้านที่ค่อนข้างลิมิต คือมี 18 สาขา ถ้าเราขยายเยอะแสดงว่ามันไม่ใช่ลิมิตแล้ว มันเป็นแมสไปที่ไหนก็เจอ เราจะขายแพงไม่ได้แล้วเพราะแต่เริ่มแบรน After you ถูกวางในตำแหน่งคิอพรีเมี่ยม ถ้าเปิดมากก็ไม่พรีเมียม ถ้าเปิดน้อยเกินไปธุรกิจก็ไม่โต มันเหมือนกับโดนบังคับว่าเราจะขยายสาขามากไม่ได้
- พอนึกถึงร้าน After you ทำให้ผมนึกถึงเรื่องๆหนึ่งของวอเร็น บัฟเฟตต์ อย่างร้านขายช๊อคโกแลต"ซีส์แคนดี้" ซึ่งร้านนี้เป็นร้านขายขนม ขายช๊อคโกแลตระดับเกรดสูง ราคาแพงมาก คนสามารถเข้าไปกินได้ คือนอกจากกินแล้ว เขายังสามารถนำไปซื้อฝากได้ พอคนรับได้รับขนมจากซีส์แคนดี้แล้วรู้สึกว่ามันมีคุณค่า มันราคาแพง มันสามารถ"ห่อกลับบ้าน"ได้ ในขณะที่ After you ไม่ใช่ร้านแบบซื้อฝากหิ้วกลับบ้านได้ ถ้าสามารถตีโจทย์ตรงนี้ได้ หุ้นก็อาจจะเติบโตขึ้น รายได้เพิ่มมากขึ้น
- ถ้าจะให้ AU เป็นธุรกิจที่เติบโต จำเป็นจะต้องเป็นตลาดแมส คือคนส่วนใหญ่เข้าถึง คนสามารถไปพบไปนั่งคุยธุรกิจได้ ซึ่งในปัจจุบัน AU ไม่ได้เป็นแบบนั้น คนเข้าไปพบปะคุยกับเพื่อนครึ่งชั่วโมง หรือเข้าไปชิมกับคู่รักจีบกันแฟนใหม่ๆ อะไรแบบนั้น แต่จะให้นั่งคุยธุรกิจแบบสตาร์บัค มันยังไม่ถึงจุดนั้น
------
ใครสนใจดูฉบับเต็ม ได้ที่นี้ครับ