สรุป ข้อคิดเรื่องเงิน จากหนังสือ The Psychology of Money: จิตวิทยาว่าด้วยเงิน
By Seminar Knowledge Page
.
จิตวิทยาทางการเงิน
เปรียบเทียบกับคนที่อดทน ออมเงิน ลงทุน อย่าง โรนัลด์ รี๊ด กับ คนโลภอย่างริชาร์ค ฟัสโคน ซึ่งเป็นคนเก่ง
ที่เกษียณอายุตอน40 เราอาจเป็นแบบ รี๊ดเยอะหน่อย และ เป็นแบบริชาร์คน้อยหน่อยได้ เราสามารถอยู่ได้
แบบผสมผสานจากเหตุผลสองข้อคือ
A: ผลลัพธ์ทางการเงินถูกขับเคลื่อนด้วยโชค ความพยายาม และความฉลาดส่วนบุคคล
B: ความสำเร็จทางการเงิน ไม่ใช่ เป็นวิทยาศาสตร์แบบตรงไปตรงมา
มันคือทักษะทางด้านอารมณ์ และ การบริหารจัดการความคิด (Soft Skill)
พฤติกรรมที่ทำสำคัญมากกว่าสิ่งที่รู้
สำหรับเรื่องการเงิน เราอาจถูกสอนมาในเชิงฟิสิกส์ด้วยกฎและข้อบังคับมากเกินไป และน้อยเกินไปสำหรับเชิงจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และการรับรู้
ทั้งที่จริง ๆ แล้วพฤติกรรมและการตัดสินใจทางการเงินของเรามักขึ้นอยู่กับอารมณ์
ความเสี่ยง ความมั่นใจ และความสุขที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงินเองก็ล้วนเกี่ยวข้องกับอารมณ์
.
.
ข้อสรุป เกี่ยวข้อบกพร่อง อคติ และสาเหตุ ของการเกิดพฤติกรรมที่ไม่ดี 20 ข้อ
1) ไม่มีใครเป็นคนบ้า
การตัดสินใจทางการเงิน เช่น ความเต็มใจในการแบกรับความเสี่ยงการลงทุน มักขึ้นกับประสบการณ์ในอดีตมากกว่าระดับรายได้ การศึกษา หรือความฉลาดทางการเงินของแต่ละบุคคล
เพราะแต่ละคนล้วนมีประสบการณ์ในอดีตที่แตกต่างกันออกไป การจะเข้าใจพฤติกรรมของใครสักคนจริง ๆ ไม่สามารถทำได้จากการดูแค่ข้อมูลตัวเลขพื้นฐาน
คนที่ไม่อยู่ในเหตุการณ์ จะไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้ง เช่นวิกฤต The Great Repression ปี1930 ต่างกับคนที่อยู่ในช่วงปี1990 ซึ่งเป็นช่วงตลาดหุ้นรุ่งโรจน์
ประสบการณ์เรื่องเงิน ที่ได้พบเจอมีความแตกต่างกันอย่างมาก ถึงแม้ได้รับประสบการณ์แบบเดียวกัน
คนเกิดปี1950 ผลตอบแทนหุ้นตอนวัยรุ่นและอายุ20ปี แบบ Flat ไม่ค่อยเพิ่มขึ้น
คนเกิดปี1970 ผลตอบแทนหุ้นตอนวัยรุ่นและตอน20ปี เติบโตสูงมาก
ส่วนเงินเฟ้อ ถ้าเกิดปี 1960 ช่วงวัยรุ่นและอายุ20ปีเงินเฟ้อโตขึ้นมา3เท่า ทำให้เงินเดือนขึ้นช้ากว่า
เงินเฟ้อ และ ของใช้ต่างๆขึ้นสูงกว่า
ถ้าเกิดปี 1990 เงินเฟ้อต่ำมาก จะไม่รู้สึกว่าข้าวของแพงขึ้น
ดังนั้นแล้ว เราไม่ควรตัดสินว่าใครเป็นบ้า หรือตัดสินใจโง่ ๆ ในเรื่องเงิน
เพราะเราไม่มีทางเข้าใจเขาได้อย่างถ่องแท้ว่าเขาเจออะไรมาบ้าง ทำให้ตัดสินใจแบบนั้น
อย่างเช่น ช่วงนี้มีน้องๆมาขอคำปรึกษาเรื่องหุ้นกู้กันเยอะมาก ซึ่งไม่ค่อยเห็นด้วยที่จะซื้อ
หุ้นกู้ช่วงนี้ เพราะต่อไปเมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น หุ้นกู้lotใหม่จะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า
ประกอบกับราคาของหุ้นดีๆหลายตัวลงมาต่ำมาก หุ้นน่าจะสนใจมากกว่า
แต่เราไม่เข้าใจน้องๆอย่างแท้จริง จึงพยายามแนะนำหุ้นกู้ที่ดีตามที่น้องเขาต้องการซื้อ
หลีกเลี่ยงหุ้นกู้ของบริษัทที่มีความเสี่ยงสูง อย่างน้อยยังรักษาเงินต้นได้ แถมมีดอกเบี้ยให้อีก
.
.
2) โชคและความเสี่ยง
ตอนที่บิลยังเป็นนักเรียนม.ปลาย ซึ่งทั่วโลกมี 303 ล้านคน และ มีคนแค่300 คนที่สามารถเข้าเรียนใน รร เลคไซด์
ที่มีวิสัยทัศน์ในการซื้อคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนได้ใช้
บิล เกตส์ คือนักเรียน1ในจำนวน300คนจากนักเรียนทั่วโลก300ล้านคนที่ได้เรียนในโรงเรียนมัธยมปลายที่มีคอมพิวเตอร์ และทำให้เขาได้มีโอกาสใช้เวลาศึกษาการศึกษาคอมพิวเตอร์จนกระทั่งเชี่ยวชาญและต่อยอดเป็นบริษัท Microsoft
ในขณะที่เพื่อนมัธยมปลายที่เก่งที่สุดในชั้นเรียนของเขา เคนท์ อีแวนส์ คือนักเรียน 1 ในล้านคนที่ประสบอุบัติเหตุตกเขาเสียชีวิตตั้งแต่มัธยมปลาย ถ้ายังมีชีวิตอยู่มีโอกาสเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Microsoft ร่วมกับ บิล เกตส์
.
เรื่องนี้สื่อได้ว่า “โชค” กับ “ความเสี่ยง” อาจมีอยู่จริง
เป็นพลังงานที่ทรงอิทธิพลเหมือนกัน
แต่ทำงานกันคนละด้าน โชคให้ผลลัพธ์ที่ดีมากมายมหาศาล ในขณะที่ความเสี่ยงก็ทำลายชีวิตได้ในทันที
.
แต่สิ่งที่เรามักพลาดไปคือ เราให้ค่ากับสองสิ่งนี้น้อยเกินไป
โดยเฉพาะเมื่อเราสำเร็จ เรามักชื่นชมความพยายามของตัวเอง เหมือนที่เราชื่มชม บิล เกตส์
แต่ความจริงแล้ว ทุกความสำเร็จอาจมีโชคเป็นปัจจัยส่งเสริมที่ซ่อนอยู่เสมอ
ไม่มีทางที่ความสำเร็จ 100% ของเรา จะเกิดจากแรงพยายามของเราเต็ม 100%
ความล้มเหลวก็เช่นกัน
หลายครั้ง เราอาจรู้สึกท้อกับความผิดพลาดในชีวิตเรา เพราะเราคิดว่าเราต้องรับผิดชอบต่อมันทั้งหมด
แต่ความจริงแล้ว ความผิดพลาดของเราก็อาจไม่ได้เกิดจากฝีมือเรา 100%
แต่ความเสี่ยงก็คือส่วนประกอบที่ทำให้ความผิดพลาดเกิดขึ้น เช่นไปลงทุนหุ้นตอนก่อนวิกฤตCovidซึ่งไม่มีใคร
คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น ทำให้หุ้นที่เรามั่นใจว่าไปต่อได้ กำไรจากการดำเนินงานดี พอเจอCovidก็ขายไม่ดี รายได้ลด
ราคาหุ้นก็ปรับลดลงมากๆ จนบางคนถอดใจขายออกไปก่อนที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นในภายหลัง
ดังนั้นแล้ว ถ้าเราลงทุนล้มเหลว หรือล้มเหลวในเรื่องอื่น เราอาจต้องเปิดใจให้กว้าง และมองว่าความเสี่ยงก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เราพลาดได้เช่นกัน
โชคและความเสี่ยงคือพลังงานแบบเดียวกัน แต่ทำงานคนละด้าน
Cr: ฟังจากน้องมานะในงานสัมมนาThaivi เลยเข้าใจได้มากขึ้น
.
.
.
3) ไม่เคยพอ
เป้าหมายที่ตั้งไว้ ไม่ควรขยับเพิ่มขึ้น เพราะจะทำให้เราเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นในการจะบรรลุเป้าหมายใหม่
ไม่ควรเปรียบเทียบกับคนอื่น เพราะจะทำให้เราไม่รู้จัก”พอ”
สิ่งที่ต้องจดจำ
3.1 ทักษะทางการเงินที่ยากที่สุด คือ การทำให้เป้าหมายหยุดเคลื่อนที่
3.2 การเปรียบเทียบทางสังคมคือปัญหา
3.3 “พอ”นั้นไม่น้อยจนเกินไป
3.4 มีหลายสิ่งที่ไม่ควรค่าแก่การเสี่ยง
ไม่ว่ามันจะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้มากแค่ไหน
.
.
4) การทบต้นที่งงงวย
วอร์เร็น บัฟเฟตต์ ขึ้นชื่อเรื่องความเก่งกาจด้านการลงทุน ความมั่งคั่งของเขา 84,500 ล้าน$นั้น ผลตอบแทน
81,500 ล้าน$ มาในช่วงอายุครบ65ปี นี่คือความมหัศจรรย์ของผลตอบแทนแบบทบต้น เฉลี่ยปีละ22%
ตั้งแต่ลงทุนในBuffett Partnership ปี1955 ยังมีนักลงทุนที่ทำผลตอบแทนต่อปีสูงกว่าบัฟเฟตต์ แต่ความมั่งคั่งน้อยกว่า
แค่1/4ของบัฟเฟตต์เท่านั้น เพราะระยะเวลาในการลงทุนน้อยกว่ามาก
ดังนั้นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พอร์ตโตขึ้นอย่างมาก คือลงทุนระยะยาว และ ลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อย
.
5) การหาเงินได้ซึ่งความมั่งคั่ง กับการรักษาเงินไว้ซึ่งความมั่งคั่ง ใช้ทักษะที่แตกต่างกัน
วิธีการเดียวที่ทำให้ความมั่งคั่งคงอยู่คือ ส่วนผสมของความมัธยัสถ์และความหวาดระแวง
การได้มาซึ่งทรัพย์สินและการรักษาการเติบโตต้องใช้การเอาตัวรอดจากตลาดขาขึ้นและลง
ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ซึ่งทุกคนต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การนำกรอบความคิดของการเอาตัวรอดมาใช้ในโลกความเป็นจริงได้ต้องมองเห็นคุณค่าของ3สิ่งต่อไปนี้
5.1 การทบต้นไม่ได้พึ่งพาการได้ผลตอบแทนก้อนใหญ่ เพียงแค่ได้รับผลตอบแทนที่ดี ยั่งยืน และไม่ถูกรบกวน
เป็นเวลายาวนานที่สุด จะเป็นผู้ชนะ
5.2 การมีส่วนเผื่อความปลอดภัย (Margin of safety) ทำให้รองรับปัจจัยที่ไม่คาดคิดได้
5.3 บุคลิคภาพที่สมดุลแบบบาร์เบล คือ มองโลกในแง่ดีเรื่องอนาคต แต่วิตกกังวลกับสิ่งที่ขัดขวางไม่ให้เข้าไป
ถึงอนาคตนั้น การลงทุนที่ดีไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องของการตัดสินใจที่ดี แต่มันเป็นเรื่องของการไม่ทำพลาด
อย่างสำคัญต่อเนื่อง
.
6) ปลายหางยาว (Long tail) คุณชนะ
คุณสามารถตัดสินใจผิดได้ครึ่งหนึ่ง และยังคงสามารถสร้างความมั่งคั่งได้จากการลงทุนอีกครึ่งที่ตัดสินใจถูก
ทฤษฎีเหตุการณ์ปลายหาง (tail event) นั้นท้าทายกฏพาเรโตอย่างมาก
เพราะกฎพาเรโตบอกให้เราโฟกัสไปที่สินค้าไม่กี่อย่างที่สำคัญที่สุด แล้วเลือกลงทุนไปกับสิ่งเหล่านั้น
ทฤษฎีปลายหางคิดต่างออกไป และบอกว่าเราควรกระจายการลงทุนไปยังสินค้าทุกอย่าง เพราะหนึ่งในสินค้าเหล่านั้นอาจกลายเป็นสินค้ายอดฮิตที่ทำกำไรให้เรามหาศาล
เหมือนการซื้องานศิลปะ คนที่สำเร็จนั้นอาจเป็นคนที่ซื้องานศิลปะจำนวนมาก แล้วหนึ่งในนั้นกลายเป็นงานระดับปิกัสโซ
หรือตัวอย่างของ ดัชนีรัสเซล3000ขยับตัวสูงขึ้น73เท่านับจากปี1980
มี40%ของบริษัทในดัชนีล้มเหลวสิ้นเชิง และมี7%ของดัชนีทำผลตอบแทนได้ดี ทดแทนหรือชดเชยบริษัทอื่นๆ
Amazon เติบโตจากในส่วนของamazon prime,AWS ซึ่งเป็นเหตุการณ์ปลายหางภายในบริษัทที่ลองผลิตภัณฑ์มานับร้อย ไล่จากโทรศัพท์ไฟร์โฟนและธุรกิจนายหน้า
.
.
.
7) อิสรภาพ
การควบคุมเวลาของตัวคุณเองได้ คือ เงินปันผลสูงสุดที่เงินมอบให้กับคุณ
จุดสูงสุดของความมั่งคั่งคือ ความสามารถในการตื่นมาทุกเช้า และ พูดว่า วันนี้ฉันสามารถทำอะไรก็ได้ตามต้องการ
คุณค่าที่แท้จริงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเงินคือ
ศักยภาพในการมอบการควบคุมเวลาให้กับคุณ
ความย้อนแย้งของชายในรถยนต์
ความย้อนแย้ง ก็คืดคนส่วนใหญ่ มีแนวโน้มต้องการความมั่งคั่งเพื่อบอกให้คนอื่นรู้ว่าเขาผู้นั้นควรได้รับการยกย่องและเชิดชู แต่แท้ที่จริงแล้ว คนอื่นมักมองข้ามสิ่งเหล่านี้ในตัวคุณไป เพราะพวกเขาใช้ความมั่งคั่งของคุณเป็นตัวชี้วัดความต้องการ
ที่จะได้รับการยกย่องและเชิดชูของตัวพวกเขาเอง
สิ่งที่ต้องการจริงๆ คือ ความเคารพ และ ความเลื่อมใสจากผู้อื่น
แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน ความเมตตา และ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
จะนำพาความศรัทธามาให้คุณมากกว่า
9) ความมั่งคั่ง คือสิ่งที่คุณมองไม่เห็น
ความมั่งคั่งคือ สินทรัพย์ทางการเงิน ที่ไม่ได้ถูกแปรสภาพไปเป็นสิ่งของที่คุณเห็น
ความมั่งคั่งคือ รถหรูที่ไม่ได้ซื้อ เพชรที่ไม่ได้จ่าย นาฬิกาที่ไม่ได้ใส่ เสื้อผ้าเก่า และปฏิเสธอัปเกรดที่นั่งบนเครื่องบิน
10) เก็บออม
10.1 การสร้างความมั่งคั่ง แทบจะไม่เกี่ยวข้องกับรายได้หรือผลตอบแทนจากการลงทุน
สิ่งที่สำคัญกว่า คือ อัตราการออมของคุณ
10.2 สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ ปริมาณของความมั่งคั่งนั้นมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่คุณอยากได้
10.3 เมื่อคุณผ่านรายได้ระดับนึงไปแล้ว สิ่งที่คุณต้องการคือ สิ่งที่อยู่ใต้อัตตาของคุณ
สิ่งที่ทำให้เพิ่มเงินออมคือ การเพิ่มความอ่อนน้อมถ่อมตน
10.4 ดังนั้นความสามารถในการออมเงิน จึงอยู่ในการควบคุมของพวกเขามากกว่าที่คิด และ
คุณไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลในการออมเงิน
10.5 ความยืดหยุ่น และ ความสามารถในการควบคุมเวลาของคุณ คือ ผลตอบแทนจากความ
มั่งคั่งที่มองไม่เห็น
11) สมเหตุสมผล > ยึดเหตุผล
การตั้งเป้าเป็นคนที่ค่อนข้างสมเหตุสมผลนั้น ให้ผลดีกว่าการพยายามเป็นคนที่ยึดเหตุผลอย่างเย็นชา
ความสมเหตุสมผลจะทำให้เป้าหมายของคุณมีความสมจริงมากขึ้น และทำได้จริงในระยะยาว
ตัวอย่างเช่น
11.1 การรักษาผู้ป่วยโรคประสาทซิฟิลิสขั้นรุนแรง โดยการฉีดเชื้อมาเลเรียอย่างอ่อนเข้าไป และทานยาควินิน
เข้าไป อุณหภูมิเพิ่ม1องศา ทำให้การแบ่งตัวของไวรัสบางชนิดช้าลง200เท่า
ไข้มีประโยชน์ แต่ทำไมคนหลบเลี่ยง ไปทานไทลินอลแทน
เพราะคนกลัวความเจ็บปวดนั่นเอง
การอยากมีไข้ในตอนติดเชื้อ เป็นเหตุเป็นผล แต่ไม่สมเหตุสมผล
11.2 มาร์โควิตซ์ ได้รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ Risk&Return
แต่ชีวิตจริงลงทุนจัดพอร์ตหุ้นและตราสารหนี้เป็น 50:50 ซึ่งแตกต่างจากที่ได้รับรางวัลมา
11.3 โบเกิล ผู้ก่อตั้งแวนการ์ด ออกPassive Index
แต่ชีวิตจริงไปลงทุนในกองทุน activeที่ลูกชายบริหาร
12) เซอร์ไพรส์
ประวัตศาสตร์ คือ การศึกษาความเปลี่ยนแปลงในอดีต
น่าขันที่มันถูกใช้เป็นแผนที่เพื่อนำทางไปสู่อนาคต
2สิ่ง ซึ่งอันตราย ถ้าลงทุนโดยยึดติดกับชุดข้อมูลในอดีต
12.1. คุณอาจมองไม่เห็นเหตุการณ์ผิดปกติที่เป็นตัวการสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลง
เช่นเหตุการณ์สึนามิที่ญี่ปุ่น และ เตาปฏิกรณ์ปรมาณูระเบิด
คนออกแบบ ไม่ได้จินตนาการให้รุนแรงมากกว่าในอดีต
12.2 ประวัตศาสตร์อาจเป็นตัวชี้วัด ที่ทำให้เข้าใจผิดเรื่องอนาคตของเศรษฐกิจและตลาดหุ้น
เพราะไม่ได้นับรวมปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างที่เกี่ยวกับโลกปัจจุบันเข้าไปด้วย
เกรแฮมปรับปรุงหนังสือ The Intelligent Investor ทุกครั้งที่ตีพิมพ์ใหม่ สูตรบางสูตรใช้ไม่ได้แล้ว