ห้องเม่าปีกเหล็ก

จับตา “เงิน RMF” จ่อทะลัก

โดย poomai
เผยแพร่ :
298 views

จับตา “เงิน RMF” จ่อทะลักเข้า “ไฮซีซัน” ไตรมาส4 ไม่ต่ำกว่า “3.2 หมื่นล้านบาท”...

“Morningstar” มองเงินลงทุน ‘ไม่น้อยกว่าปีก่อน’-แต่ AUM ปีนี้เสี่ยง ‘โตติดลบ’ !!!

.

สาระ Fund วันละนิด: วันนี้ จะพามาส่องการเติบโตของ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” (RMF) ในช่วง 9 เดือนแรกท่ามกลางบรรยากาศการลงทุนทั่วโลกที่ไม่ค่อยจะสดใสเท่าไรนัก

.

ภาพใหญ่ของอุตสาหกรรม “กองทุนรวมไทย” ช่วง 9 เดือนแรก มีสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหาร (AUM) ลดลงเหลือ 4.7 ล้านล้านบาท ลดลง -11.08% จากสิ้นปี21 (ที่มา: สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC))

.

‘กองทุน RMF’ ก็ฟืนภาวะตลาดไปไม่ได้เช่นกัน ทำให้ 9 เดือนแรก มี AUM ลดลงเหลือ 3.67 แสนล้านบาท ลดลง -5.85%

.

โดยมีบลจ.เพียง 3 แห่งจากทั้งหมด 21 แห่ง คิดเป็น 14.29% ที่ยังเติบโตเป็นบวกได้ ได้แก่ “บลจ.พรินซิเพิล” +3.62%, “บลจ.บางกอก แคปปิตอล” +3.37% และ “บลจ.ทาลิส” +3.02%

.

ในขณะที่ “บลจ.วรรณ” เป็นบลจ.ที่มีการหดตัวมากสุดในกลุ่ม AUM ลดลง -21.97%

.

แม้ว่าฤดูกาลลงทุนกลุ่ม “กองทุนหยัดภาษี” จะอยู่ในไตรมาสที่4 เป็นหลัก แต่จากบรรยากาศการลงทุนที่ยังไม่สู้ดีนักก็มีแนวโน้มสูงว่าปีนี้การเติบโตของ ‘กองทุน RMF’ มีความเสี่ยงสูงจะ ‘โตติดลบ’ อีกด้วย จากในปีก่อนที่เติบโตกว่า 20.5% !!!

.

ทั้งนี้ การเติบโตของ ‘กองทุน RMF’ ของทั้ง 21 บลจ. ในช่วง 9 เดือนแรกนั้น ทางทีมงาน ‘Wealthythai’ ได้รวบรวมเอาไว้ให้ครบแล้ว สามารถตามไปดูต่อกันได้ในเวบไซด์

.

“RMF” เดือนแรก โตลดลง -5.85% บลจ.กว่า 62% โตแพ้อุตสาหกรรม...ด้าน “บลจ.พรินซิเพิล” แชมป์โตสุด +3.62%

.

จากการสำรวจของทีมงาน ‘Wealthythai’ ถึงการเติบโตของกลุ่ม ‘กองทุน RMF’ ในช่วง 9 เดือนแรกปี22 นั้น พบว่า อุตสาหกรรมมี AUM ลดลงเหลือ 3.67 แสนล้านบาท ลดลง -5.85% โดยมี 8 บลจ. คิดเป็น 38.10% ที่เติบโตสูงกว่าอุตสาหกรรม ในขณะที่อีก 13 บลจ. คิดเป็น 61.90% นั้น โตต่ำกว่าอุตสาหกรรม

.

โดยบลจ.ที่มี ‘กองทุน RMF’ เติบโตของ ‘ดีสุด’ 5 อันดับแรก ได้แก่

.

- “บลจ.พรินซิเพิล” มี AUM 3,312.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +3.62%

- “บลจ.บางกอก แคปปิตอล” มี AUM 256.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +3.37%

- “บลจ.ทาลิส” มี AUM 182.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +3.02%

- “บลจ.เอ็กซ์สปริง” มี AUM 4.41 ล้านบาท ลดลง -1.34%

- “บลจ.ไทยพาณิชย์” มี AUM 42,798.33 ล้านบาท ลดลง -3.72%

.

“บลจ.วรรณ” AUM กอง RMF หดตัวหนักสุด -21.97%...ส่วน “บลจ.บัวหลวง” แชมป์ส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด 26.53%

.

ส่วน 5 บลจ. ที่มีการเติบโต ‘แย่สุด’ ติดลบมากกว่า -10% ทั้งหมด ได้แก่

.

- “บลจ.คิง ไว (เอเชีย) มี AUM 95.46 ล้านบาท ลดลง -13.53%

- “บลจ.แอสเซ็ท พลัส” มี AUM 1,427.52 ล้านบาท ลดลง -15.00%

- “บลจ.ฟิลลิป” มี AUM 313.07 ล้านบาท ลดลง -15.95%

- “บลจ.ดาโอ” มี AUM 18.17 ล้านบาท ลดลง -19.81%

- “บลจ.วรรณ” มี AUM 2,669.52 ล้านบาท ลดลง -21.97%

.

“ทั้งนี้ จะพบว่า ขนาดไม่ได้มีผลต่อการเติบโตแต่ประการใด บลจ.ที่มี ‘กองทุน RMF’ ไม่มากก็ติดลบมากได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ในส่วนของบลจ.ที่ครองส่วนแบ่งตลาดมากสุด 5 อันดับแรกนั้น มีส่วนแบ่งรวมกกันถึง 85.75% นำมาโดย ‘บลจ.บัวหลวง’ มีส่วนแบ่ง 26.53%, ‘บลจ.กสิกรไทย’ 22.95%, ‘บลจ.กรุงศรี’ 13.68%, ‘บลจ.ไทยพาณิชย์’ 11.64% และ ‘บลจ.อีสท์สปริง (ปทท.)’ 10.90%”

.

“RMF” 9 เดือนแรก เงินไหลเข้าสุทธิกว่า 3 พันล้านบาท...มั่นใจไหลเข้าปีนี้ ‘ไม่น้อยกว่าปีก่อน’-แต่ AUM เสี่ยง ‘โตติดลบ’

.

ย้อนดูสถิติในปี20 มีเงินไหลเข้าสุทธิ ‘กอง RMF’ 3.6 หมื่นล้านบาท ปี21 ไหลเข้าสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 3.7 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการไหลเข้าในช่วงไฮซีซันไตรมาสที่4/21 กว่า 3.2 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 86.49% ของที่ไหลเข้าทั้งปี21 เลยทีเดียว แล้วในปีนี้จะเป็นยังไง

.

ทาง “บจ.มอร์นิ่ง สตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย)” มองว่า แนวโน้มเงินไหลเข้าสุทธิ ‘กองทุน RMF’ ในปีนี้จะไม่น้อยกว่าในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามในแง่ของ AUM เองนั้น อาจจะมีการเติบโต “เป็นลบ” ได้ เพราะอีกส่วนที่มีผลต่อการเติบเป็นเรื่องของ “ผลตอบแทน” ซึ่งในปีนี้กลุ่มที่ไปลงทุนต่างประเทศก็ปรับตัวกันลงมาค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามในไตรมาสที่3 ยังมีเงินไหลเข้า 2.7 พันล้านบาท ทำให้ 9 เดือนแรกมีเงินไหลเข้าสุทธิแล้วกว่า 3 พันล้านบาท และคาดว่าเงินส่วนใหญ่จะเข้าลงทุนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีเช่นเดิม

.

“ปัจจุบันตลาดหุ้นก็ปรับตัวลงกันมามาก ‘กองทุน RMF’ รวมถึง ‘กองทุน SSF’ เป็นการลงทุนในระยะยาว หากมองจากจุดนี้ไปข้างหน้าสัก 2 ปี ก็เชื่อว่าตลาดคงไม่ได้อยู่ตรงนี้แล้ว กลุ่มนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนและใช้ประโยชน์ทางภาษีก็คงจะเข้ามาลงทุนกันไม่น้อยกว่าในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดปรับตัวลงก็ยิ่งเพิ่มความน่าสนใจให้มากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน”

.

นี่คือ ความเคลื่อนไหวของ ‘กองทุน RMF’ ในช่วง 9 เดือนแรกที่ผ่านมา ท่ามกลางบรรยากาศการลงทุนที่ไม่เป็นใจเท่าไรนัก แต่มองไปทั้งปีก็ยังเชื่อว่า เงินลงทุนจะไม่น้อยไปกว่าปีที่ผ่านมาแน่นอน แต่เรื่องของขนาด AUM ในปีนี้อาจจะเห็นการเติบโตที่หดตัวได้ จาก “ผลตอบแทน” ที่ปรับตัวลงอย่างมากของกลุ่มกองทุนที่ไปลงทุนในต่างประเทศนั่นเอง

 

 

 


poomai