เจาะโมเดลธุรกิจ AMA จ้าวสมุทรขนส่งน้ำมันปาล์ม กับ ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล และดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในรายการ Business Model สรุปสาระสำคัญมาให้อ่านกันจากการฟังรายการย้อนหลัง
ลักษณะธุรกิจ
1) บริษัทให้บริการขนส่งสินค้าเหลวทางเรือระหว่างประเทศ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชชนิดต่างๆ ไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภูมิภาคเอเชียตะวันออก
2) บริษัทย่อยให้บริการขนส่งสินค้าเหลวทางรถในประเทศ ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิงและไบโอดีเซล B100
ส่วนที ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- รายได้จากการขนส่งทางเรือ 72% และทางบก 28% (ตัวเลขปี 2016)
- บริษัท AMA เป็นขนส่งเบอร์ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทางด้านของเหลว โดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม
- รายได้หลักของ AMA กว่า 80% มาจาก 2 บริษัท
- เรื่องของการขนส่งทางบกมีคู่แข่งเป็นจำนวนมาก แต่เจ้าใหญ่ๆมีอยู่ 2 บริษัทที่กิน Market Share เกินกว่า 50% ซึ่งAMA เป็นเบอร์ 2
- Gross Margin ของ AMA อยู่ที่ 30% ถือว่าสูงมาก
- Net margin ของ AMA อยู่ที่ 15% ก็ยังถือว่าสูงอยู่
- อะไรก็ตามที่มีคู่แข่งเจ้าใหญ่ๆอยู่ไม่กี่เจ้า มักจะไม่ทำสงครามราคากัน ทำให้ตัว Margin ออกมาดี
- AMA อยู่ในตำแหน่งของ Niche Market มีความชำนาญเฉพาะในด้านการขนส่งน้ำมันปาล์ม ไม่ใช่ใครจะเข้ามาทำก็ทำได้
- ธุรกิจขนส่งทางบกของบริษัท ยังมีช่องว่างของการเติบโตได้อีก
- ผมมองว่า AMA เป็น Growth Company
- ความท้าทายของบริษัท คือ การรักษา Margin ที่ตัวเองเคยทำได้ ก็จะเป็นผลดีระยะยาว บริษัทมี Growth นักลงทุนให้มูลค่าดี
- ถ้าดูด้วย PE ถือว่าแพง แต่นักลงทุนมอง Growth ของบริษัท ว่าจะโตได้เร็ว (ปีละ 60%)
- นักลงทุนต้องติดตามว่า บริษัทมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นไหม จำนวนเรือเพิ่มขึ้นไหม และสินค้าที่ขนส่งมีสินค้าชนิดใหม่ไหม
- ต้องยอมรับว่านักลงทุนกำลังซื้อหุ้นโตเร็ว ที่ราคาไม่ถูกมากนัก เพราะเล่นกันที่ค่าพรีเมี่ยมไปแล้ว
- ความเสี่ยงของบริษัท คือ ราคาน้ำมัน คิดเป็น 28% ของต้นทุนทั้งหมด และ 38% ของการขนส่งทางบก นอกจากนี้ยังพึ่งพาลูกค้าจำนวนน้อยที่มีผลกระทบกับรายได้บริษัทเป็นส่วนใหญ่
- บริษัทอาจจะเปิดตัวขนส่งสินค้าใหม่เช่น กากน้ำตาล โมลาส นี้ถือเป็นรายได้แหล่งใหม่ แต่มาร์จิ้นก็ต้องดูอีกที
ส่วนที ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วิเคราะห์ไว้ในรายการ
- ผมมองว่าเป็นธุรกิจคอมโมดิตี้ มีความผันผวนสูง หมายถึงช่วงที่ดี คือดีเลย ช่วงที่แย่นี้คือขาดทุนและยาวนาน
- ธุรกิจไม่ได้มีความโดดเด่นอะไร การขนส่ง ถ้าใครมีทุนจ้างต่อเรือหาฐานลูกค้า ก็เข้ามาทำได้
- ผมไม่แน่ใจว่าอนาคตของน้ำมันปาล์มเป็นอย่างไร ถ้าสมมุติว่าคนใช้กันน้อยลง ไม่เป็นที่นิยม มันจะกระทบกับพื้นฐานของบริษัท
- เท่าที่ผมรู้สึก การขนส่งทางบก Margin จะต่ำมาก ไม่มีอำนาจต่อรอง ผมมองว่าไม่ได้โดดเด่นอะไร
- เท่าที่ผมตามข่าวเรื่องของน้ำมันปาล์ม บางปีประเทศไทยก็เหลือเฟือ บางปีก็ขาดแคลน มันคาดเดาอะไรไม่ได้เลย
- เมื่อหลายปีก่อน นักลงทุนอาจจะจำกันได้มีบริษัทเรือรับจ้างขนส่งสินค้า เรือเทกอง กำไรดีมาก กำไรเป็นบ้าเป็นหลัง ราคาหุ้นวิ่ง พอมาตอนนี้ก็ไม่ได้ดี ราคาหุ้นก็ลงสร้างความเจ็บปวดให้กับนักลงทุน
- เราต้องเข้าใจว่าธุรกิจไหนที่โตเร็วๆ ณ ตอนนี้ สักวันมันก็อาจจะหยุดหรือโตช้าลง ไม่ได้เป็นไปตามคาดหวังของนักลงทุน
- ผมมองว่าบริษัทออกแนววัฐจักรมากกว่า
- ที่ผมเป็นกังวล คือ เราคาดหวังการโตเร็วมากเกินไปไหม
- คนบอกว่า ขนส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ผมเองก็ไม่แน่ใจว่า ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆคืออะไร ซึ่งเขาก็มีเจ้าตลาดอยู่แล้ว มีการแข่งขันอยู่แล้ว เราลงไปแข่งขันก็ยิ่งทำให้มาร์จินบางยิ่งขึ้น
- เรื่องของการขนส่ง มันเป็นต้นทุน Fix cost คือ ต้นทุนเท่าเดิม อยู่ที่อัตราการบรรทุก ยิ่งเราบรรทุกมากก็ยิ่งกำไรมากในขณะที่ต้นทุนเท่าเดิม นี้เป็นความได้เปรียบของอุตสาหกรรมขนส่ง ถ้ามีการจัดการดีๆ กำไรก็จะดีตาม
- เห็นตัวเลข โอเคบริษัทโตเร็ว แต่จะโตแบบนี้ทุกปีหรือเปล่า ผมยังสงสัยอยู่
--------------------------------------------------
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : รายการ Business Model รายการ Money Channel : เจาะโมเดลธุรกิจ AMA จ้าวสมุทรขนส่งน้ำมันปาล์ม