เจาะโมเดลธุรกิจ RP ราชาท่าเรือของภาคใต้
เจาะโมเดลธุรกิจ RP กับ ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล และดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในรายการ Business Model สรุปสาระสำคัญมาให้อ่านกันจากการฟังรายการย้อนหลัง
ลักษณะธุรกิจ
บริษัทประกอบกิจการเดินเรือเฟอร์รี่เพื่อใช้โดยสารและขนส่งทางเรือจำนวน 3 เส้นทางระหว่างอำเภอดอนสัก-อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างอำเภอดอนสัก-อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และระหว่างอำเภอเกาะสมุย-เกาะพะงัน ด้วยเรือเฟอร์รี่ที่มีในปัจจุบันจำนวน 13 ลำ รวมทั้งประกอบธุรกิจจำหน่ายอาหารและสินค้าในร้านสะดวกซื้อ ร้านกาแฟ และรถตู้โดยสารบริการต่อเนื่อง
ส่วนที ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล วิเคราะห์ไว้ในรายการ
"ตัวเมกะเทรนเริ่มเปลี่ยน พฤติกรรมของคนเริ่มเปลี่ยน ตรงนี้น่าสนใจว่าบริษัทจะเปลี่ยนตัวเองอย่างไร" ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล
(ขอบคุณภาพจาก รายการ Business Model)
- รายได้หลักมาจาก 2 เส้นทาง คือ ดอนสักไปเกาะสมุย รายได้เกือบ 60% และดอนสักไปเกาะพงัน รายได้ประมาณ 30% ส่วนอื่นๆ คือ รายได้ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ
.
- ปัจจุบัน บริษัทมีกองเรือ 12 ลำ มีโอกาสที่จะเพิ่มอีก 2 ลำในปี 2560
.
- ต้องยอมรับว่าบริษัทขึ้นอยู่กับธีมของการท่องเที่ยว ว่าการท่องเที่ยวสุราษฏร์ธานีดีหรือไม่
.
- ราคาเชื้อเพลิงเป็นปัจจัยสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ คิดเป็นรายจ่ายประมาณ 50-60%
- Gross margin ของบริษัทอยู่ประมาณ 24% EBIT margin อยู่ 11.5% กำไรสุทธิอยู่ประมาณ 9%
.
- โครงสร้างรายได้บริษัทนิ่งมาก แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลย ถึงแม้ว่าธุรกิจการท่องเที่ยวจะเติบโต นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
สาเหตุเป็นเพราะว่าบริษัทไม่ได้ผูกขาดการเดินเรือเพียงเจ้าเดียว มีบริษัทอื่นเข้ามาแข่งขันในตลาด
.
- ที่จริงธุรกิจเดินเรือ เป็นธุรกิจที่มีรายจ่ายเยอะ มีสัมปทาน มีใบอนุญาต ใช้บุคลากรเยอะที่สำคัญต้องมีความชำนาญ ทำให้รายใหญ่มีแค่ 2 บริษัท ไม่มีคู่แข่งอื่นเข้ามาแข่งขันเพิ่มเติม
.
- บริษัทเป็นธุรกิจเงินสด คือขายตั๋วแล้วเก็บเงินได้เลย ไม่มีสินค้าคงคลัง ไม่มี Inventory
.
- ผมคิดว่าอนาคต ไม่น่าจะมีบริษัทเดินเรืออื่นเพื่อมาเปิดแข่งขันกันแล้ว
.
- เทรนของคนรุ่นใหม่ คือ เน้นความสะดวกสบาย ความเร็วในการเดินทาง ตรงจุดนี้ถือว่าน่าเป็นห่วงอยู่เหมือนกัน
ดูจาก Ratio สำคัญอย่าง P/BV แสดงให้เห็นว่านักลงทุนไม่ได้ให้ค่าพรีเมียมกับธุรกิจสักเท่าไรนัก
(ขอบคุณภาพจาก set.or.th)
- ที่ผ่านมาบริษัทไม่โต ซึ่งมันก็สะท้อนลงไปในราคาหุ้น P/BV ก็ 1.2 เท่า ไม่ห่างจากมูลค่าทางบัญชีมากนัก
.
- ตัวเมกะเทรนเริ่มเปลี่ยน พฤติกรรมของคนเริ่มเปลี่ยน ตรงนี้น่าสนใจว่าบริษัทจะเปลี่ยนตัวเองอย่างไร
.
- ถ้าบริษัทอยากจะเร่งรายได้ จะต้องเปิดเส้นทางใหม่ๆ แต่มันก็จะมีรายจ่ายเพิ่ม สร้างท่าเรือ มีกองเรือเพิ่มมากขึ้น มีบุคลลากรมากขึ้น ตรงนี้เป็นการเติบโตทางอนาคต
.
- ธุรกิจค่อนข้างอิ่มตัวค่อนไปทางลง (Stable to Decline)
.
- ถ้า ROE ไม่ได้เพิ่มขึ้น หรือบริษัทไม่มีปัจจัยอะไรใหม่ๆ ผมว่าราคาก็ไม่สามารถเพิ่มได้ไปมากกว่านี้อีกแล้ว
.
- ธุรกิจนี้ เป็นธุรกิจที่เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการรายได้ค่อนข้างคงที่ ไม่ผันผวนมาก แต่สิ่งที่ต้องคิดอยู่เสมอว่า เทรนของอนาคต พฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยน
ส่วนที ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วิเคราะห์ไว้ในรายการ
"ถ้าถามว่าเป็นหุ้นประเภทไหน ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน" ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
(ขอบคุณภาพจาก รายการ Business Model)
- ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่อัตราการบรรทุกสำคัญที่สุด หมายถึงต้นทุนการเดินเรือเท่าเดิม แต่เราจะทำอย่างไรให้ลูกค้าเข้ามานั่งของเราให้มากที่สุด เหมือนธุรกิจเครื่องบิน เราต้องรู้ว่าจุดคุ้มทุนอยู่ที่กี่คน/รอบ แล้วบริษัทจะทำอย่างไรที่จะเพิ่มอัตราของผู้โดยสารให้มากที่สุด
.
- แต่ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่มีคนเข้ามาแข่งขัน จะเริ่มเป็นปัญหาแล้ว มีการแย่งส่วนแบ่ง
.
- ที่สำคัญ คือ การเดินทางไปสมุย มันไม่ได้นั่งเรือไปอย่างเดียว เราสามารถนั่งเครื่องบินไปได้ด้วย ต้นทุนก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก สะดวกสบายกว่า ราคาไม่ต่างกัน แถมประหยัดเวลาไปได้เยอะ
.
- ผมยังรู้สึกสงสัยว่า คนนิยมนั่งเครื่องบินมากกว่าเพราะคนรุ่นใหม่เขาต้องการความสะดวกสบาย ประหยัดเวลา มันจะกระทบกับธุรกิจมากแค่ไหน มันเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคเลย ผมว่ามันน่ากลัวมากนะ
.
- ทุกวันนี้ ตั๋วเครื่องบินมันต่ำลงเรื่อยๆ มันจะเป็นปัญหากับธุรกิจเดินเรือแล้วนะ
.
- ประวัติศาสตร์บอกเราเสมอว่า ถ้าอยากให้รายได้ของตัวเองเพิ่มโดยที่ไม่ต้องลงทุน นั้นก็คือรอให้คุ่แข่งเจ๊งไปซะก่อน
.
- ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น อย่างของอเมริกามีเจ้าตลาดอยู่ 2 -3 เจ้า แข่งขันกันสูงมาก ถ้ามีบริษัทไหนล้มไปซะก่อน อีก 2 เจ้าที่เหลือ ก็จะกินส่วนแบ่งของเจ้าที่สาม แย่งกัน
.
- ธุรกิจเดินเรือก็เหมือนกัน ถ้าอยากเพิ่มอัพไซด์ของรายได้ ก็คือ รอให้อีกเจ้ามีปัญหาแล้วแย่งส่วนแบ่งของเขามา หรือไม่ก็ซื้ออีกบริษัทมาเลย
.
- ถ้าธุรกิจจะโตได้นั้น อาจจะต้องเปิดเส้นทางใหม่ ดัดแปลงเรือให้เป็นเรือสำราญรับนักท่องเที่ยวอะไรแบบนั้น แต่นี้จะเป็นการลงทุนเพิ่ม แต่ถ้าไม่ต้องการลงทุนเพิ่มก็คือรอคู่แข่งให้เจ๊ง แต่มันก็เป็นเรื่องยากที่จะเกิดขึ้นอีก
.
- ถ้าถามว่าเป็นหุ้นประเภทไหน ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน มันก็คงเหมือนธุรกิจหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น อะไรแบบนั้นมากกว่า
ราคาหุ้นย้อนหลังของหุ้น RP
(ขอบคุณภาพจาก Bisnews Profesisonal)
--------------------------------------------------
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : รายการ Business Model รายการ Money Channel : RP ราชาท่าเรือของภาคใต้