เก็บยังไงให้พอเกษียณ มีคนหลายคนชอบบอกกับผมว่าคุยกับผมเรื่องเกษียณทีไรเครียดทุกที มันก็น่าจะเครียดหละครับ
ก็เห็นตัวเลขเงินที่เค้าต้องมีเมื่อถึงวันเกษียณเยอะซะขนาดนั้น แต่ผมว่าเครียดวันนี้ดีกว่าไปเครียดเมื่อถึงวันจะเกษียณนะครับ วันนั้นเครียดไปก็แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว
เงินเพื่อเกษียณฝรั่งเค้าเรียกเงินก้อนนี้ว่า Serious Money ที่มันซีเรียสก็เพราะว่ามันไม่มีไม่ได้อ่ะสิ
เพราะยังไงๆคุณก็ต้องเกษียณจะเกษียณแบบตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม และคุณเห็นด้วยกับผมไหมว่าเงินก้อนนี้เตรียมก็ต้องใช้ ไม่เตรียมก็ต้องใช้
แล้วถ้าเลือกได้คุณจะเตรียมหรือไม่เตรียมหละครับ ถ้าคำตอบของคุณเป็นว่าควรจะเตรียมอย่างนั้นเรามาเตรียมกันเลยนะครับ
อย่างแรกเราต้องมาดูก่อนว่าตอนนี้คุณมีอะไรไว้แล้วบ้าง ที่เป็นทรัพย์สินที่คุณจะเก็บไว้เพื่อเกษียณ
เช่น RMF ที่คุณซื้อไว้แล้ว กองทุนหุ้น หรือหุ้นสามัญหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริษัทคุณมี
คุณต้องมาคาดการณ์ว่ามันจะโตเป็นเท่าไรเมื่อถึงวันที่คุณจะเกษียณลองเข้าไปใช้เวปนี้คำนวณกันครับ
http://wdcgroup.co.th/?page_id=171
อ่าว...แล้วถ้ายังไม่มีอะไรเลยหละจะทำไง ก็เริ่มออม เริ่มลงทุนไงครับ ไม่เริ่มทำจะมีเหรอจริงไหม
เครื่องมือที่ใช้ในการออมหรือลงทุนเพื่อเกษียณแบบสมัครใจ ปัจจุบันบ้านเราก็ถือว่ายังไม่เยอะ แต่ก็พอใช้ได้นะครับหากรู้จักใช้อย่าง RMF กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ดีมากๆ
ที่นอกจากจะเป็นเครื่องมือให้คุณสร้างวินัยในการออมเพื่อเกษียณแล้วคุณยังได้สิทธิในการลดหย่อนภาษีอีกสำหรับคนที่ต้องเสียภาษีรายได้
กองทุนรวม ถ้าคุณไม่ได้มีความจำเป็นจะต้องใช้สิทธิลดหย่อนภาษีหรือคุณใช้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย RMFเต็มสิทธิ 15% ของรายได้แล้ว กองทุนรวมทั่วไปก็เป็นเครื่องมือการเก็บเงินเพื่อเกษียณที่น่าสนใจนะครับ กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนที่หลากหลายให้คุณเลือกใช้ตามระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนคาดหวังที่คุณต้องการ
ทั้งกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ที่ลงทุนในพันธบัตรหรือสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ หรือกองทุนตราสารทุนที่ลงทุนในหุ้นสามัญ หรือกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอย่างอสังหาริมทรัพย์ หรือทองคำ
กรมธรรม์ประกันชีวิต ที่นอกจากจะได้สร้างวินัยในการออมระยะยาว ที่ได้ผลตอบแทนที่แน่นอนแล้ว ยังได้ประโยชน์ในเรื่องความคุ้มครองชีวิต และได้สิทธิในการหักลดหย่อนภาษีด้วย
กรมธรรม์ควบการลงทุนหรือ Unit Linked ซึ่งข้อดีเหมือนกรมธรรม์แบบสะสมทรัพย์ทั่วไป แต่มีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนมากกว่ากรมธรรม์สะสมทรัพย์ เพราะเบี้ยประกันหลังหักค่าใช้จ่ายเค้าเอาไปลงทุนในกองทุนรวมซึ่งทำให้คุณได้ทั้งความคุ้มครองและการลงทุนในเวลาเดียวกัน
แล้วจะออมเท่าไหร่ ลงทุนเท่าไหร่หละ
มันก็ขึ้นกับว่าคุณเหลือเงินมาออม มาลงทุนเท่าไหร่ครับ ถ้าออมได้น้อย ลงทุนได้น้อย อาจต้องลงทุนนานขึ้น ไม่งั้นคงมีเงินไม่พอเกษียณ แต่ยังไงก็ตามไม่ว่าจะคุณจะลงทุนได้มาก ได้น้อย ก็ขอให้ลงเถอะครับ ยิ่งคุณเริ่มลงทุนเร็วแค่ไหน คุณก็ยิ่งได้ประโยชน์จากพลังของอัตราดอกเบี้ยทบต้นมากขึ้นครับ
เช่นถ้าคุณมีเป้าหมายจำนวนเงินเพื่อเกษียณ 20,000,000 บาท หากคุณลงทุนในกองทุนรวมหุ้นได้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 10% (กองทุนหุ้นบ้านเราที่ผ่านมาที่ได้ผลตอบแทนระยะยาว เฉลี่ยปีละมากกว่า 10% มีเป็นสิบๆ กองเลยนะครับ)
ถ้าคุณมีเวลาลงทุน 30 ปี คุณต้องลงทุนเดือนละ 8,775 บาท
ถ้าคุณมีเวลาลงทุน 25 ปี คุณต้องลงทุนเดือนละ 14,949 บาท
ถ้าคุณมีเวลาลงทุน 20 ปี คุณต้องลงทุนเดือนละ 26,120 บาท
ถ้าคุณมีเวลาลงทุน 15 ปี คุณต้องลงทุนเดือนละ 47,855 บาท
ถ้าคุณมีเวลาลงทุน 10 ปี คุณต้องลงทุนเดือนละ 96,828 บาท
คุณเห็นอะไรไหมครับ ยิ่งลงทุนช้าเงินที่คุณต้องลงทุนต้องใช้เยอะขึ้นขนาดไหน ว่าแล้วเริ่มพรุ่งนี้เลยนะครับ ไปเปิดบัญชีหักเงินเข้าซื้อกองทุนรายเดือนกันเลย จะได้เป็นคนแก่เจ้าสำราญ ไม่ใช่คนแก่น่ารำคาญกัน
เครดิต : Financial Times by Mongkol มงคล ลุสัมฤทธิ์ Wealth Designer
หลักสูตร : ฟรีแลนซ์ บริหารเงินอย่างไร ให้อยู่ได้ตลอดชีพ
Free Workshop งาน Money Expo
>>> ใครอยากเรียนรู้การลงทุน แบบครบเครื่อง ตั้งแต่
วางแผนการเงิน - ดูหุ้นพิ้นฐาน - ใช้กราฟเทคนิค และการเลือกโรบอทมาช่วยในการลงทุน <<<
.
1 วันเต็ม stock2morrow เราจัดความรู้ พร้อม workshopไปให้แฟนๆ
งาน Money Expo แบบครบจบในวันเดียว
.
ส่วนใครอยากอ่านหนังสือ เราก็นำทั้งหนังสือใหม่ และหนังสือยอดฮิต
ภายในเครือไปให้จับจองกันได้ในงานนะครับ
ที่บูธ P59 ชาเลนเจอร์3
.
จองที่นั่งร่วม workshop ได้ที่ https://goo.gl/i8llse