การประเมินมูลค่าหุ้น บทเรียนที่ 6
โดย: ศาสตราจารย์ อัสวาธ์ ดาโมดารัน (Aswath Damodaran) เจ้าของหนังสือเกี่ยวกับหุ้น ที่ทรงคุณค่าเป็นตำนานมากมาย
<<< Session 6 Cost of debt and capital >>>
เพิ่มเติม: https://goo.gl/axI6Q7
ติดตามอ่านการประเมินมูลค่าหุ้นตอนแรก ได้ที่ https://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=829
ติดตามอ่านการประเมินมูลค่าหุ้นตอนสอง ได้ที่ https://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=834
ติดตามอ่านการประเมินมูลค่าหุ้นตอนสาม ได้ที่ https://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=857
ติดตามอ่านการประเมินมูลค่าหุ้นตอนสี่ ได้ที่ https://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=864
ติดตามอ่านการประเมินมูลค่าหุ้นตอนห้า ได้ที่ http://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=928
.
Risk free rate, Equity risk premium, Beta สามารถหาผลตอบแทนที่คาดหวังได้สำหรับนักลงทุน หรือก็คือต้นทุนของบริษัทในการเพิ่มทุน แต่นี่เป็นเพียงวิธีหนึ่งในการหาเงินทุนของบริษัท
จริงๆแล้วมีอีกวิธีในการหาเงินทุน นั้นก็คือการยืมเงิน
.
.
หนี้สินคืออะไร?
1. มีสัญญา
2. ต้องเสียภาษี
3. ถ้าไม่จ่ายจะเกิดเรื่องไม่ดี
ในงบการเงิน เงินกู้ระยะสั้น เงินกู้ระยะยาว หุ้นกู้ ทั้งหมดคือหนี้สินก็คือตรงทั้ง 3 ข้อ
แต่มีรายการนอกงบการเงินที่เข้าข่ายหนี้สิน เช่น สัญญาเช่าระยะยาว
.
.
ต้นทุนหนี้สินคืออะไร? อัตราที่ต้องจ่ายจากการยืม ณ ปัจจุบัน ประกอบไปด้วย
1. risk free rate ตัวเดียวกับที่ใช้หาต้นทุนในการเพิ่มทุน
2. default spread คือเพิ่มขึ้นมาจาก risk free rate ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงบริษัท ยิ่งเสี่ยงมากยิ่งมีค่า spread มาก
default spread หาได้โดยการดูจาก rating agency เช่น moody, s&p ว่าบริษัท rating เช่น BBB ควรจะมีค่าเท่าไหร่ แต่ถ้าไม่มี rating จาก agency ให้หา rating เองได้โดยการดู interest coverage ratio (ยิ่งสูงยิ่งดี)
interest coverage ratio คือ อัตราส่วนรายได้จากการดำเนินงาน (รายได้ก่อนหักค่าเสื่อม ดอกเบี้ย และจ่ายหนี้) ต่อค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย
จากนั้นให้เทียบกับบริษัทที่มี rating ว่ามี rating เท่าไหร่สำหรับแต่ละ interest coverage ratio
เมื่อไ้ด้ rating ก็จะได้ default spread
แต่หากบริษัทอยู่ในประเทศที่มีความเสี่ยงไม่เท่ากับประเทศที่เราจะคำนวน จะต้องปรับ default spread ตามความเสี่ยงในแต่ละประเทศนั้นๆด้วย
.
.
เมื่อได้ต้นทุนของการเพิ่มทุน (cost of equity) และต้นทุนการยืมเงิน (cost of debt) จึงจะหาต้นทุนทางการเงินทั้งหมดได้ (cost of capital)
การหาต้นทุนทางการเงินทั้งหมดจะต้องหาน้ำหนักของต้นทุนการเพิ่มทุนและต้นทุนการยืมเงินโดยใช้ราคาตลาดปัจจุบันเป็นหลัก
แต่จริงๆแล้วมีการหาเงินทุนของบริษัทนอกเหนือจาก 2 อย่างที่กล่าวมา
เช่นหุ้นกู้แปลงสภาพหรือหุ้นบริมสิทธืก็จะต้องใช้วิธีที่ต่างออกไปอีก
.
.
สรุป
การหาต้นทุนเงินทุนทั้งหมดของบริษัทนั้นต้องหา ต้นทุนจากการเพิ่มทุนและต้นทุนจากการยืมเงิน
จากนั้นต้องใส่น้ำหนักของทั้งสองอย่างด้วยราคาตลาด ณ ปัจจุบัน (wacc)
เมื่อได้ต้นทุนทางการเงินทั้งหมดของบริษัท จึงจะหา discount cashflow ของทั้งบริษัทได้
แต่แน่นอนว่าหากจะหา discount cashflow เฉพาะส่วนของผู้ถือหุ้น ก็สามารถใช้เพียงต้นทุนในการเพิ่มทุนได้