เจาะโมเดลธุรกิจ ADVANC กับ ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล และดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในรายการ Business Model ครับ ผมสรุปสาระสำคัญมาให้อ่านกันจากการฟังรายการย้อนหลัง
ADVANC กำลังเปลี่ยนธุรกิจจากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ไปเป็นให้บริการข้อมูล Data และ Internet เพื่อให้สอดคล้องกับยุคดิจิตอล
(ที่มาภาพ : รายการ Business Model ช่อง Money Channel)
ลักษณะธุรกิจ
ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคม โดยรวมถึงธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และธุรกิจดิจิทัล คอนเทนต์
ส่วนที ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล วิเคราะห์ไว้ในรายการ
"รายจ่ายของ ADVANC หมื่นกว่าล้าน แต่คิดสัดส่วน SG&A คือ 7 พันกว่าล้าน ถือว่าสูงมาก" ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล
(ที่มาภาพ : รายการ Business Model ช่อง Money Channel)
- ในธุรกิจโทรคมนาคม มี Barrier to Entry สูงมาก ไม่ใช่ใครจะเข้ามาในธุรกิจกันง่ายๆ คือ ต้องใช้เงินทุนสูงมาก ต้องมีใบอนุญาต ต้องมีฐานลูกค้า ต้องดำเนินงานมาอย่างยาวนานเพื่อให้ธุรกิจมีชื่อเสียง มีความน่าเชื่อถือ คนถึงจะใช้บริการ
- แต่ธุรกิจนี้ค่อนข้างจะอิ่มตัวแล้ว อย่าง ADVANC รายได้ของเขาประมาณ 3 หมื่นล้าน ก็อยู่ราวๆนี้ไม่ได้หนีไปมากจากผลประกอบการในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น ADVANC ต้องหาอุตสาหกรรมใหม่เพื่อให้เป็น S Curve ใหม่
- ADVANC เริ่มรุกธุรกิจอินเตอร์เน็ตบ้านมากขึ้น เริ่มทำธุรกิจดาต้ามากขึ้น นำดาต้ามาขาย อะไรแบบนั้น
- แต่การแข่งขันในอุตสาหกรรมค่อนข้างรุนแรง แข่งราคากันสูงมาก มีโปรโมชั่นบ่อย
- อย่าง ADVANC มีค่าใช้จ่ายในการทำโปรโมชั่นปีละ 7 พันล้าน (SG&A) จากรายจ่ายหมื่นกว่าล้านถือว่าเป็นสัดส่วนสูงมาก มันจะกินกำไรที่ ADVANC ควรจะทำได้
- ถ้ามีค่ายใดค่ายหนึ่ง ออกโปรโมชั่นที่แรง ค่ายอื่นๆจะต้องทำตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจะส่งผลทำให้กำไรลดลง
- แต่เราต้องยอมรับว่า ADVANC เขาเป็นเบอร์ 1 มีมาร์เก็ตแชร์ 45% เกือบครึ่งหนึ่งของทั้งอุตสาหกรรม ส่วนอีก 2 ค่ายที่เหลือก็แบ่งๆกันไป
- เมื่อก่อนรายได้ต่อเลขหมายสูงมาก แต่ตอนนี้เหลือแค่ 250 บาทต่อเลขหมาย ถือว่าลดลงอย่างรวดเร็ว แต่เลขหมายคนใช้ก็เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2 เลขหมายต่อคน แสดงว่าภาวะอุตสาหกรรมโทรศัพท์ค่อนข้างอิ่มตัวแล้ว
- ADVANC เป็นบริษัทที่มีโครงสร้างทางการเงินแข็งแกร่งมาก EBITDA ของเขาอยู่ที่ 7 หมื่นล้าน กำไรเยอะมากเพื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งที่เหลือ
- จุดด้อยของเขาอยู่ที่ Pricing Power คือไม่มีความจงรักภักดีต่อแบรน ถ้าค่ายไหนออกโปรแรง คนก็พร้อมที่จะย้ายค่ายไปๆมาๆถ้าค่ายไหนคุ้มกว่า ถูกกว่า
- การวิเคราะห์ ADVANC ต้องวิเคราะห์ทั้งหมด 3 มิติ คือ
1.1 มิติของ Consumer ของผู้บริโภค คนจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสาร
1.2 มิติของ Regulator คือ กสทช. การออกกฏเกณธ์ของ กสทช ว่าจะเป็นอย่างไร
1.3 มิติของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี
- บริษัทมีรายได้ต่อเลขหมาย สูงกว่าอีก 2 ค่ายที่เหลือ
- บริษัทมีรายได้จากธุรกิจบรอดแบรนด์ 4% แต่บริษัทมีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนรายได้ให้สูงกว่านี้
- ที่น่าสนใจ คือ ถ้าบริษัทสามารถลดโปรโมชั่น ลดรายจ่ายจากกิจกรรมทางการตลาดได้ รายได้จะพุ่งขึ้นอีกเยอะมาก
- ผมมองว่า ADVANC เป้นหุ้นที่เน้นปันผล มากกว่าที่มองว่าเป็นหุ้น Growth
ส่วนที ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วิเคราะห์ไว้ในรายการ
"จุดเปลี่ยนของกลุ่มสื่อสาร อยู่ที่การประมูลคลื่น คือ ราคาสูง ต้นทุนสูง แถม กสทช. ยังบอกว่าห้ามเราคิดราคาแพงอีก" ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
(ที่มาภาพ : รายการ Business Model ช่อง Money Channel)
- จริงๆผมคิดว่าเมืองไทย เป็นประเทษที่ Operator น่าจะเป็นธุรกิจที่มีกำไรที่ดีมาก แต่นั้นคือภาพของก่อนการประมูลคลื่น
- สถานการณ์ของการสื่อสารเปลี่ยนแปลง เมื่อก่อน AIS แข่งแกร่งใหญ่มาก รองลงมาเป็น DTAC รองลงมา แล้วก็ TRUE เป็นเบอร์สาม การเงินค่อนข้างอ่อนแอ
คือ ทุกๆคนไม่ค่อยอยากจะแข่งกัน ธุรกิจเลยไม่แข่งขันกัน ต่างคนต่างอยู่ กำไรดีมาก ไม่มีโปรโมชั่นรุนแรง พอภาพมันเปลี่ยนไป มีการประมูลคลื่น และ TRUE ก็ปรับตัวเองเข้ามาแข่งขันกับ DTAC ได้ เลยมีการสู้รบกัน แข่งขันทางด้านราคา ทำให้โครงสร้างทางต้นทุนของบริษัทเปลี่ยนไป
- ผมมองว่าจุดเปลี่ยนอยู่ตรงประมูลคลื่น คือ แข่งกันหนักมาก ราคาสูงมากๆ ทำให้ใบอนุญาตสูง เป้นการ Set Standard ว่าการประมูลครั้งต่อไปจะต้องสูงกว่านี้อีก
- ถามว่าอุตสาหกรรมนี้ ตอนนี้ยังอยู่ได้ไหม ผมว่ายังอยู่ได้นะ กำไรก็ดี ROE อะไรก็ดี ปันผลก็สูง แต่ผมกังวลอยู่จุดหนึ่งว่า ถ้าประมูลครั้งต่อไป มันยังสูงอยู่อีก แล้วเราจะทำกำไรได้อย่างไรในเมื่อต้นทุนสูง หมายความว่า รายจ่ายเรามีแล้วแน่นอน
แต่บริษัทที่ได้ใบอนุญาตไปจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะสามารถสร้างกำไรออกมา Generate cover รายจ่ายได้ทั้งหมด ตรงนี้ยังเป็นคำถามอยู่ ต้นทุนสูง แต่รายได้ยังไม่แน่นอน..
- แถม กสทช ยังมีกฏว่า ห้ามคิดราคาแพงอีก แต่ถึงแม้ว่า กสทช จะไม่ได้ออกกฏแต่ด้วยภาวะอุตสาหกรรมมันก็มีการแข่งขันโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว
- ตอนนี้เฉลี่ย 2 เบอร์ต่อ 1 คน จะเพิ่มเป็น 3 เบอร์ต่อ 1 คนไหม ผมว่าเป็นไปได้ยาก
- ถ้าเทียบกับทั้ง 3 บริษัท ผมว่า ADVANC ได้เปรียบกว่ามาก เพราะว่าเขาใหญ่ พอใหญ่แล้วจะมี Economy of scale หมายความว่า คุณจะให้บริการสมบูรณ์แบบทั้งประเทศได้นั้น คุณจะต้องลงทุนใกล้เคียงกันถึงแม้ว่าลูกค่ายจะมีน้อยกว่า คือ รายจ่ายมีเท่ากัน
แต่ผมกลับกินส่วนแบ่งถึง 45% 50% รายได้เยอะกว่าอีก 2 ค่ายที่เหลือ เขามีอำนาจเยอะกว่า มีลูกค่ายเยอะกว่า และจุดเด่นของบริษัทอยู่ที่การจ่ายปันผลได้เยอะ
- ผมว่าธุรกิจใหม่ของไฟเบอร์ของ ADVANC น่าสนใจมาก เพราะถ้าดูแล้ว คนจะใช้เยอะจริงๆ โหลดหนัง ดูหนัง เล่นเกมออนไลน์ เล่นอินเตอร์เน็ตบ้านจะให้มาใช้ 4G 3G อะไรก็ไม่สะดวก ต้องใช้ปริมาณเน็ตเยอะ ความแรงของอินเตอร์เน็ต ต้องใช้เน็ตบ้านเท่านั้น
- ผมรอดูการประมูลครั้งต่อไป ว่าจะเป็นอย่างไร ผมกำลังจับตามองอยู่ ..
- แบรนด์ของ AIS นี้มีชื่อเสียงนะ พอลูกค้าเห็นของ AIS เป็นที่รู้จัก ไว้ใจได้ในระดับหนึ่งว่าครอบคลุมทั่วประเทศ
- เรื่องของเทคโนโลยี มันก็เปลี่ยนแปลงเร็วนะ บางทีเราอาจจะดูเหมือนว่า มันดีมากแล้ว มันเร็วแล้ว ตอบโจทย์เราแล้ว ต่อไปมันอาจจะมีดีกว่านี้ก็ได้ มันเป็นเรื่องที่คาดเดายาก
- ผู้ให้บริการที่มีลูกค่ายเยอะ มันได้เปรียบกว่า ทำกิจกรรมทางการตลาดได้มากกว่า เช่น มีหนังให้ดูฟรี เน็ตฟรี เล่นฟรี อ่านฟรี มีโปรโมชั่น ซึ่งในขณะที่ลูกค่ายน้อยทำไม่ได้เพราะมันกระทบกับต้นทุน พอบริษัทใหญ่ที่มีลูกค่ายเยอะ มันก็ยิ่งได้เปรียบ ยิ่งทิ้งห่างคู่แข่ง และนั้นก็จะเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ดูดีมากยิ่งขึ้น
ราคาหุ้น ADVANC ในช่วงที่ผ่านมา
----------------------------
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : รายการ Business Model ทางช่อง Money Channel