#ลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐาน

การประเมินมูลค่าหุ้น (บทเรียนที่ 5)

โดย InvestDiary
เผยแพร่:
264 views

<<< Session 5 Betas >>>
เพิ่มเติม: https://goo.gl/PXgtH4

 

ติดตามอ่านการประเมินมูลค่าหุ้นตอนแรก ได้ที่ https://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=829 

ติดตามอ่านการประเมินมูลค่าหุ้นตอนสอง ได้ที่ https://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=834 

ติดตามอ่านการประเมินมูลค่าหุ้นตอนสาม ได้ที่ https://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=857  

ติดตามอ่านการประเมินมูลค่าหุ้นตอนสาม ได้ที่ https://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=864 

มี Risk free rate, Risk premium ก็พอเพียงแล้วสำหรับการหาผลตอบแทนที่คาดหวังของหุ้นที่มีความเสี่ยงในเกณฑ์ปกติ
 

แต่ถ้าความเสี่ยงของหุ้นนั้นไม่อยู่ในเกณฑ์ปกติ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าหุ้นตัวนั้นๆ เสี่ยงมากกว่าหรือน้อยกว่าปกติเท่าไหร่?


>>>> Beta คือ คำตอบ <<<<
.
.
การหาความเสี่ยงโดยการเปรียบเทียบนั้นทำได้หลาย model ทั้ง CAPM, APM, Debt cost based, Proxy measures, Balance sheet ratio, Accounting earning beta, Price variance model และอีกหลายๆอย่าง

 

ซึ่งโดยทั่วไปแล้วก็จะมี model ที่ยึดราคาหุ้นเป็นพื้นฐาน หรือ model ที่ยึดบัญชีของบริษัทเป็นพื้นฐาน แต่ทั้งหมดนั้นก็พยายามที่จะเปรียบเทียบความเสี่ยงนั้นเอง

 

CAPM
ในตำรา finance คือการหาความสัมพันธ์ของผลตอบแทนตลาดและผลตอบแทนของหุ้น จะได้ความชันของเส้นตรง ความชันนั้นคือ Beta

แต่วิธีนี้ไม่ค่อยดีและ error เฉลี่ยของวิธีนี้คือ 0.20 (แปลว่า บางครั้งจะได้ error สูงถึง 0.40 และต่ำสุดคือ 0.00 ทำให้เฉลี่ยเป็น 0.20)

เช่น Coca cola มี beta 1.10 ถ้ามี error เฉลี่ยที่ 0.20 แปลว่า beta ของจริงอาจจะต่ำถึง 0.70 (1.10 - 0.40) หรือ สูงถึง 1.50 (1.10 + 0.40) ก็ได้
.

หากจะคิด Beta มี 3 ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงมากกว่า


1. บริษัททำอะไร บริษัทอยู่อุตสาหกรรมแบบไหน เช่น ถ้าเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่จำเป็นต่อลูกค้า beta สูง


2. บริษัทมีโครงสร้างค่าใช้จ่ายอย่างไร เช่น Fix cost สูง beta สูง


3. บริษัทมีเงินกู้เท่าไหร่ ดอกเบี้ยจ่ายสูง beta สูง
.

.
ตัวอย่าง Bottom up beta


1. ธุรกิจเกี่ยวกับเหล็กและเคมี


2. หา beta เชิงความสัมพันธ์เฉลี่ยของอุตสาหกรรมเหล็กและเคมีจากตลาดหุ้น แต่เพราะหนี้สามารถมีผลกับ beta ได้ จึงควรคำนวนและหักลบหนี้ของบริษัทออกไป


3. หารายได้เฉลี่ยของทุกบริษัทในอุตสาหกรรม


4. หาหนี้สินของบริษัท ใช้ D/E ก็ได้


5. เมื่อหาทั้งหมดแล้วเข้าสมการก็จะได้ beta ของบริษัทนั้น


มีตัวอย่างการหาในคลิป อาจารย์พูดได้เข้าใจมาก
.
.
จริงๆแล้ว สิ่งที่พยายามทำคือการหา beta เฉลี่ยของทั้งอุตสาหกรรม


ข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกันการหาค่า beta เชิงความสัมพันธ์ คือ


1. ทำให้ได้ความแม่นยำมากกว่า


2. บริษัทที่ไม่มีข้อมูลเชิงสัมพันธ์ก็สามารถหา beta ได้


3. บริษัทที่ไม่ได้เป็นมหาชนก็สามารถหา beta ได้
.

 

สรุป


Beta คือการเปรียบเทียบความเสี่ยง แปลว่าหากไม่ใช้ beta ก็ต้องหาวิธีอื่นมาเปรียบเทียบ
เป็นสิ่งจำเป็นเพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้ discount rate คำนวนโดยความเสี่ยงที่เท่ากัน ทั้งที่จริงๆแล้วแต่ละบริษัทมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน

 

 

 


นักลงทุนรุ่นใหม่ เจ้าของ FB เพจ InvestDiary เน้นการลงทุนจากปัจจัยพื้นฐานของบริษัท และเชื่อว่าเป็นความรู้ที่ไม่มีวันตาย สามารถนำติดตัวไปใช้ได้ตลอดชีวิต 

https://www.facebook.com/investdiary/

Facebook

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง