#ลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐาน

พร้อมเพย์ ... ใครได้ ใครเสีย กระทบกับกลุ่มแบงค์อย่างไร

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
94 views

ในที่สุดบริการพร้อมเพย์ (PromptPay) ก็ได้ฤกษ์เปิดใช้บริการไปแล้วในวันที่ 27 มกราคม 2560 คิดว่าหลายๆคนได้ใช้บริการลองรับโอนเงินเรียบร้อยแล้ว สำหรับบางคนอาจจะเอาไว้สำหรับขอคืนภาษี นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของแผนงาน National e-Payment อย่างเป็นทางการ ก่อนจะต่อยอดไปสู่โครงการอื่นๆในอนาคต 


สำหรับบทความนี้ จะมาดูกันว่าบริการพร้อมเพย์ ใครได้ ใครเสีย และกระทบกับค่าธรรมเนียมกลุ่มแบงค์อย่างไรบ้างเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มแบงค์ครับ

พร้อมเพย์ คืออะไร ?


พร้อมเพย์ คือ บริการรับและโอนเงินแบบใหม่ ช่วยให้การรับเงินโอนและโอนเงินเป็นเรื่องง่าย เพียงใช้เลขประจำตัวประชาชน หรือ เบอร์โทรศัพท์มือถือ แทนเลขที่บัญชีธนาคาร ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง โมบายแบงก์กิ้ง เครื่องเอทีเอ็ม เป็นต้น

 

ที่มา : ธนาคารกสิกรไทย

 

ที่มา : เฟซบุ๊ก ศคง. 1213

ใครได้ ...?


- รัฐบาลต้องการผลักดันให้สังคมไทยเป็นสังคมไร้เงินสด


- ประชาชนผู้ใช้บริการสามารถรับ-โอนเงิน ได้โดยทำผ่านระบบออนไลน์ และไม่เสียค่าธรรมเนียม


- ปัจจุบัน มีผู้ใช้บริการพร้อมเพย์มากถึง 18 ล้านคน คิดเป็น 48% ของผู้มีงานทำ


- ประชาชนสามารถประหยัดเงินได้ 30% โดยเฉลี่ย


- ส่งผลบวกทางเศรษฐกิจประมาณ 1.9 พันล้านต่อปี อย่างไรก็ตามในช่วงปีแรกๆอาจจะไม่ถึงตามที่ประเมินไว้เพราะอยู่ในช่วงทดลองระบบ และมีการลงทุนปรับปรุงกระบวนการต่างๆ


- ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าภายในปี 2569 คนไทยจะหันมาใช้บริการพร้อมเพย์ประมาณ 50%  (จากเดิม 30% ในปี 2560)


- ในขณะที่คนไทยจะหันมาใช้เงินสดลดลงจาก 70% เหลือเพียง 50%

ถ้าโอนเงินไม่เกิน 5000 บาท จะไม่เสียค่าธรรมเนียม ถือว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากเลยทีเดียว


ใครเสีย ...?


- กลุ่มธนาคารที่สูญเสียค่าธรรมเนียมจากธุรกรรม


- ระบบความปลอดภัย ยังเป็นคำถามสำหรับผู้ใช้บริการ


- ในปี 2560 ค่าธรรมเนียมของธนาคารจะอยู่ประมาณ 3.1 พันล้าน เมื่อหักจากบริการพร้อมเพย์แล้ว คิดจากสมมุติฐานว่าผู้บริโภคมีการใช้พร้อมเพย์อยู่ที่ 60% 


- แต่เดิมถ้าไม่คิดถึงบริการพร้อมเพย์ รายได้จากค่าธรรมเนียมคิดเป็น 12% จากธุรกรรมการโอนเงินทั้งหมด และคิดเป็น 2.4% ถ้าดูจากรายได้ทั้งหมด


- ธนาคารพาณิชย์ต้องปรับตัวเช่น อาจจะลดต้นทุน ลดสาขา ลดตู้ ATM ลดจำนวนบุคลากร และพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่เดิมให้มีทักษะมากยิ่งขึ้น รวมถึงออกผลิตภัณฑ์บริการทางเงินใหม่ๆที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

------------------

สรุปแล้ว การให้บริการพร้อมเพย์จะทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์ คือ มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำลงในการทำธุรกิจรับ-โอนเงิน สามารถเซฟเงินในกระเป๋าได้ประมาณ 30% ต่อปีโดยเฉลี่ย และส่งผลบวกกับเศรษฐกิจประมาณ 1.9 พันล้านบาทต่อปี

อย่างไรก็ตาม กลุ่มแบงค์ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงกับค่าธรรมเนียม แต่ก็เล็กน้อยมากเพราะมีสัดส่วนที่ 2.4% โดยดูจากรายได้ทั้งหมด ส่วนตัวคิดว่าถึงแม้รายได้จากค่าธรรมเนียมลดลงแต่ธนาคารจะต้องมีการออกบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆอย่างแน่นอนครับ สำหรับคนลงทุนกลุ่มนี้ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดครับ

 

ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (http://portal.settrade.com/brokerpage/IPO/Research/upload/2000000313145/2820.pdf)


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง