จากบทความที่แล้ว ถ้าเป็นนักลงทุนวีไอ ใช้เทคนิคช่วยเสริมได้มั๊ย? : https://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=869
บทความนี้มาขยายความเกี่ยวกับเรื่อง RSI กันต่อ ว่า RSI ใช้ทำอะไรได้บ้าง ?
RSI คืออะไร ?
RSI (Relative Strength Index) เป็นดัชนีความแกร่งเชิงสัมพันธ์ มาจากสูตร RSI = 100 - (100/(1+RS)) ; เมื่อ RS = Average Gain, Average Lost
เห็นสูตรแล้วอย่าเพิ่งงงกันไปก่อน ขออธิบายสูตรให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้
เมื่อคำนวณ RSI แล้วเราจะได้ค่าอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0 - 100
โดยผู้คิดค้นมีนามว่า J. Welles Wilder บอกว่า
ถ้า RSI อยู่ในช่วงระหว่าง 0 - 30 เรียกว่า Oversold (หรือขายเกินปกติ)
ถ้า RSI อยู่ในช่วงระหว่าง 70 - 100 เรียกว่า Overbought (หรือซื้อมากเกินปกติ)
พอเข้าใจกรอบบนกรอบล่างกันแล้ว แล้วช่วงค่าที่อยู่ตรงกลางระหว่าง 30 - 70 มาจากค่าพารามิเตอร์มาตรฐาน ปกติมักจะใช้ค่า RSI 14 Periods หรือ RSI(14) กัน
นั้นคือ เราจะดูค่าย้อนหลังไป 14 แท่งเทียน แล้วดูว่าแท่งสีแดงกับสีเขียว อะไรมีมากกว่ากัน แล้วถ้ามีมากกว่า มีจำนวนเยอะกว่าไหม
หรือเป็นการแข่งขันเปรียบเทียบกับระหว่างแต้มสีแดงกับแต้มสีเขียว นั้นเอง ทีมไหนมีมากกว่าก็ถือว่าชนะไป
แล้วถ้ามองย้อนหลังไป 14 แท่งรวด เจอแต่แท่งสีเขียวรวดเดียวหมดเลยล่ะ ? ก็พอเดากันไม่ยากว่า RSI ก็จะมีค่าวิ่งขึ้นไปที่ 100 นั้นเอง
ในทางกลับกัน ถ้าหุ้นเกิดตกหนัก ๆ เป็นแท่งแดงติดต่อกัน 14 แท่งรวดเลย แน่นอนว่า RSI ตกลงไปที่ 0 อย่างแน่นอน ถ้าเกิดแบบนี้จิงๆ คิดแล้วหนาวๆ ร้อนๆ เลย !
แต่ในตามความเป็นจริง ตลาดหุ้นมักจะมีวันที่สลับเขียนวันที่สลับแดงกันไป ถ้ามีเท่าๆกัน ค่า RSI จะมาอยู่ที่ประมาณ 50 เนื่องจากไม่มีการขึ้นลงอย่างมีนัยสำคัญ
เพื่อนๆ น่าจะพอเข้าใจ RSI กันมากขึ้นแล้ว
ถ้ารวมแต้วแท่งเขียวชนะ RSI จะวิ่งเข้าโซน Overbroght แต่ถ้ารวมแต้มแล้วแท่งสีแดงชนะ ค่า RSI จะทิ้งดิ่งลงไปที่ Oversold เช่นกัน
RSI มันสะท้อนบอกอะไรได้บ้าง ?
RSI บอกถึงกำลังของราคาหุ้นได้ ว่าถ้าหุ้นขึ้นเด้งแรงมากเพียงใด หรือ หากหุ้นตก ไหลลงแรงแค่ไหน
จึงเป็นเครื่องมือโมเมนตัมที่ได้รับความนิยมสูงอีกตัวหนึ่ง
RSI ทำได้แค่นี้เอง ?
จริงๆ แล้วยังมีอีกสำหรับนักลงทุนที่ต้องการดูหุ้นขั้นสูงขึ้นมาหน่อย RSI มันยังบอกถึงสภาวะ Bullish Divergence จะพิจารณาเมื่ออยู่ใน Oversold หรือในกรณีเดียวกับ Bearish Divergence เราจะพิจารณาก็ต่อเมื่ออยู่ใน Overbought เท่านั้น
คงมีคำถามค้างคาในว่า ถ้าเกิดไม่เข้าเขตเหล่านี้ล่ะ ไม่ต้องพิจารณาหรอกหรือ?
ปกติแล้ว RSI มักจะพิจารณาว่ามี divergence หรือไม่เท่านั้น แต่ก็สามารถจะใช้เครื่องมืออื่น ๆ มาช่วยประกอบการพิจารณาได้ด้วย เช่น MACD
เริ่มน่าสนใจแล้วกับ RSI ยังทำอะไรได้อีกบ้าง ?
นอกจากจะบอกเรื่องกำลังของราคาหุ้นแล้วยังบอกกำลังของเทรนด์และการดูความชัดแย้งในเชิงโมเมนตัมแล้ว ดังที่กล่าวไปแล้ว
RSI ยังสามารถนำไปใช้ประกอบในการพิจารณาวัฎจักรรอบของการขึ้นลงของราคา หรือ Cycle ได้อีกด้วย
โดยทั่วไปการขึ้นลงครั้งใหญ่ ๆ เรียกว่า 1 Cycle ซึ่งค่า RSI นี้เองจะช่วยทำให้นักลงทุนหาจังหวะและโอกาสเข้าซื้อได้ เมื่อมีการยืนยันว่าการลงรอบนั้นสิ้นสุดแล้ว หรือหาจังหวะขาย เมื่อเห็นว่าจบรอบ Cycle ของการขึ้นแล้ว
อย่างไรก็ดี ต้องอาศัยเรียนรู้ประสบการณ์จริงๆ ในตลาดหุ้น เพราะต้องใช้เวลาศึกษา จะให้อธิบายให้ง่ายๆ ผ่านตัวอักษรค่อนข้างลำบาก แต่ขอสรุปแบบให้เข้าใจง่ายๆ เพื่อที่จะได้นำไปต่อยอดกันต่อไปได้
เช่น การที่ราคาเป็นขาลงมาตลอดทาง แต่กลับตัวมาเป็นขาขึ้นได้ แสดงว่าต้องมีการดีดกลับของราคาอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนได้ว่าแต้มสีเขียวต้องชนะสีแดงอย่างถล่มทลาย จนสามารถพา RSI ไปแตะโซน Overbought ได้ นั่นจึงเป็นสัญญาณที่ดีอย่างหนึ่ง
แต่ถ้าหาก RSI ไต่ระดับเหนือ 50 แล้วราคามาจู่ๆ เจอแท่งแดงถล่มเทขายหุ้นทิ้งมาแตะ Oversold ราคาที่ยอดดอยสูงสุดก่อนที่จะลง อาจกลายเป็นยอดดอยได้ ต้องระมัดระวังไว้ให้ดีด้วย
"ฝากไว้ให้คิดต่อ หนีดอย และคอยซื้อเมื่อจบรอบ RSI ช่วยคุณได้"
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือ 100 คำตอบต้องรุ้ดูหุ้นเทคนิค (เขียนโดยโค้ชพี่ป๊อป นิติพงษ์ หิรัญพงษ์, กับคุณประกาศิต ทิตาราม)
>>>ติวมือใหม่ เข้าใจเทคนิคอล (ภาคค่ำ)<<<
วันสัมมนา : อ.-พฤ ที่ 21-23 ก.พ. ,28 กพ. 1-2 มี.ค., 7-9 มี.ค.60 (9 วัน)
เวลา : 18.00-21.00 น.
สถานที่ : Silom Complex ชั้น 17
สนใจคลิก : https://www.stock2morrow.com/course/seminar_courses_list.php?id=305
วิทยากร : นิติพงษ์ หิรัญพงษ์ (โค้ชพี่ป๊อบ)
หัวหน้าทีมโค้ช Wave Riders
อดีตผู้บริหารไอที ที่ผันตัวเองมาเป็น Full-time trader บนแนวทางของ Technical Analysis