#ลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐาน

เจาะลึกโมเดลธุรกิจ TM ปั้นแบรนด์สู้ศึกตลาดสุขภาพ

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
580 views

บริษัท เทคโนเมดิคัล จำกัด (มหาชน) บริษัทดำเนินธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยได้รับการแต่งตั้งเป็น Exclusive Distributor จากผู้ผลิตชั้นนำจากต่างประเทศทั้งหมด 26 ราย จาก 12 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สวีเดน เดนมาร์ก ฝรั่งเศส อิตาลี ตุรกี ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ญี่ปุ่น ไต้หวัน และมาเลเซีย รวมถึงประเทศไทย

โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ที่บริษัทจำหน่าย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 


(1) กลุ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์และวัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้ในห้องผ่าตัด 
(2) กลุ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์และวัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้ในหน่วยจ่ายกลางของโรงพยาบาล 
(3) กลุ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์และวัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้ในห้องปฏิบัติการและธนาคารเลือด 
(4) กลุ่มอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับการผ่าตัดหัวใจ และเครื่องมือผ่าตัดทั่วไป

รูปแบบธุรกิจโมเดล


- รูปแบบ B TO B ธุรกิจการแพทย์ที่มีเทคโนโลยีสูง ต้องการผู้ทีมีความรู้ความชำนาญในการแนะนำ
- เป็นทั้งผู้รับจ้างผลิต มีแบรนด์ของตัวเองและเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือแพทย์
- มีระบบบริการที่ได้รับการยอมรับจากโรงพยาบาลชั้นนำ

 

ส่วนที ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล วิเคราะห์ไว้ในรายการ


- TM เติบโตตามธุรกิจการแพทย์และธุรกิจโรงพยาบาล

- ยอดขายที่ผ่านมาอยู่ที่ 408 ล้าน ปีหนึ่งน่าจะกำไรประมาณ 600 ล้าน ถือว่าเป็นสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มโรงพยาบาลทั้งหมด 

- อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์มีค่อนข้างเยอะ สัดส่วนการตลาดของ TM เป็นเท่าไร อันนี้ไม่แน่ชัดเพราะมีคนทำธุรกิจแบบนี้เยอะมาก 

- กระแสเงินสดประมาณ 272 วัน คือประมาณ 9 เดือน แสดงว่าจะขายสินค้าได้สักชิ้นค่อนข้างนาน ดังนั้นสินค้าต้องมีมาร์จิ้นสูงมากถึงจะคุ้มค่า

- จริงๆ แล้วอุปกรณ์การแพทย์มีมาร์จิ้นสูงอยู่แล้ว แต่ข้อเสียคือจะขายสักชิ้นหนึ่งต้องใช้เวลานานมาก

- กำไรขั้นต้นสูงถึง 41% แต่ EBIT Margin แค่ 8% นั้นแสดงว่ามีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารไปประมาณ 30% ทำให้กำไรนั้นหายไป 

- ธุรกิจนี้คู่แข่งเยอะ ตรงนี้เราต้องเข้าใจ รายจ่ายที่เป็นค่าบริหารค่อนข้างสูง ดังนั้นบริษัทจำเป็นต้องบริหารค่าบริหารให้ดีกว่านี้ ต้องลดตรงนี้เพราะเป็นต้นทุนใหญ่ กำไรจะเพิ่มขึ้นได้ แต่ผมไม่แน่ใจโครงสร้างอุตสาหกรรมว่าการจะขายของสักชิ้นต้องมีอะไรบ้าง ต้องทำอย่างไรถึงจะขายได้

 

- โครงสร้างทางการเงินบอกว่าอุตสาหกรรมแข่งขันรุนแรงและไม่มีใครสร้างส่วนแบ่งการตลาดได้เยอะ

- ในแง่ของ Valuation ค่อนข้างตึงไปหน่อย

- Market Cap. 1.1 พันล้าน ถือว่าสูงไปนิด ถ้าบริษัทลดรายจ่ายได้ตรงนี้จะเพิ่มขึ้น

- นอกจากลดรายจ่ายแล้ส บริษัทต้องเปิดตลาดใหม่ หาไลน์สินค้าใหม่ เพื่อเพิ่มยอดขายด้วย 

- PE 32 เท่า เทียบกับอัตราการเติบโต Growth แล้วถือได้ว่าตึงตัวไปหน่อย Upside มีจำกัดแล้ว 



- อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่เกี่ยวโรงพยาบาลถือว่าน่าสนใจ อย่าง TM ก็เกี่ยวข้องด้วย มันเป็น Mega Trend แต่ประเด็นคือบริษัทจะ Dominate และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดได้อย่างไร

- บริษัทอยู่ใน Mega trend แต่เนื่องจากคู่แข่งเยอะ ดูจากการจ่ายปันผลก็ไม่มี คงไม่ใช่ซื้อเพราะจ่ายปันผลดี น่าจะเป็นหุ้น Growth (ในอนาคต) หรือ(ลุ้น)จะเป็นหุ้น Growth 

- ราคาปัจจุบันตึงไปหน่อย 

 

ส่วนที ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วิเคราะห์ไว้ในรายการ



- บริษัทเป็นซัพพลายเอ่อร์ให้กับพวกโรงพยาบาลเป็นอุปกรณ์สิ้นเปลื้องเป็นรายการไม่ใหญ่แต่เป็นพระเอก แล้วก็อีกส่วนคืออุปกรณ์ที่เป็นชิ้นใหญ่แต่น่าจะเป็นพระรองมากกว่า โรงพยาบาลซื้อเครื่องหนึ่งใช้ได้นานหลายปีเป็น 10 ปีขึ้นไปหรือ 20 ปีขึ้นอะไรแบบนั้น ในขณะที่ชิ้นเล็กๆหมุนเวียนเร็วแต่กำไรน้อย เราจึงจะเห็นว่า Net margin อยู่ที่ 5-8% 

 


-จริงๆธุรกิจนี้ผมมองเป็นธุรกิจบริการโลจิสติกส์มากกว่า รายละเอียดเยอะต้องค่อยติดต่อใกล้ชิดเพื่อดูแลลูกค้า คู่แข่งเยอะมาก นั้นจึงเป็นสาเหตุว่ารายใหญ่จริงๆ เขาไม่ค่อยมาตั้งบริษัททำธุรกิจนี้เพราะเรื่องเยอะ รายละเอียดมาก

- พูดง่ายๆ คือ บริษัทไม่มีความแข็งแกร่งทางการได้เปรียบ บริษัทจะเติบโตยากมาก เพราะถ้าปีไหนกำไรดีก็เป้นการชักชวนคู่แข่งเข้ามาแล้ว ใครให้ราคาดีสุด ถูกสุด โรงพยาบาลก็พร้อมไปใช้บริการอีกรายที่ราคาดีกว่าอะไรแบบนั้น 

- พวกเครื่องมือทางการแพทย์ชิ้นใหญ่ๆ โรงพยาบาลใหญ่ๆมีพาวเวอร์เยอะเขาติดต่อตรงกับผู้ผลิตเลย ดังนั้นบริษัทอาจจะได้แค่โรงพยาบาลเล็กๆ ...หรือเปล่า ? 

- ได้ยินว่าตอนนี้กำลังขายสินค้าที่เป็น Exclusive คือบริษัทจัดจำหน่ายเพียงรายได้ เช่น หุ่นยนต์ แต่ผมรู้สึกว่ามันก็ไม่มีนัยยะอะไรนะ เพราะขายได้ 20 ตัว ตัวละ 1 แสน มันก็ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรไม่เหมือนกับชิ้นใหญ่ๆ เช่น CT Scan ที่ขายได้เครื่องละ 10 ล้าน 20 ล้าน 

- จริงๆทั้งอุตสาหกรรมน่าจะเป็นหมืนล้าน แต่บริษัทกินส่วนแบ่งระดับร้อยล้าน มันยังมี gap ของการเติบโตได้แต่ไม่ง่ายเพราะคู่แข่งเยอะ นอกจากหาส่วนแบ่งใหม่แล้ว ยังต้องรักษาอีกด้วยเพราะกลัวคู่แข่งมาตี

- การสั่งซื้อออนไลน์ หรือว่าผ่านแอพ อะไรแบบนั้น ผมว่ามันดูเฉยๆนะเพราะใครๆเขาก็สั่งออนไลน์ และผู้ที่จะสั่งได้มันเป็นฝ่ายจัดซื้ออยู่แล้ว จริงๆ เขามีกระบวนการอยู่ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนไปสั่งออนไลน์ ก็สั่งออนไลน์ได้เลย

- สั่งออนไลน์อาจจะประหยัดขึ้น สมมุติปีละ 1 แสนบาท หรือ 1 ล้านบาท แต่มีข้อผิดพลาด เช่น เขาไม่มาส่งหรือไม่ได้รับคำสั่งซื้อ ก็ไม่รู้จะไปเอาผิดกับใคร แต่ถ้าซื้อผ่านตัวแทนขาย ผ่านเซลล์ เรายังโทรไปต่อว่าได้ อะไรแบบนั้น 

- เดียวนี้นักลงทุนดูภาพใหญ่มาก พอพูดถึงว่าบริษัททำ Health care โห้ มันต้องดูเติบโต แต่นักลงทุนจำเป็นต้องดูในรายละเอียด ว่าธุรกิจอะไร ทำอะไรบ้าง ซึ่งดูๆแล้วหลายๆบริษัทอาจจะไม่ใช่ อยู่ใน Health care จริง แต่อยู่ในธุรกิจที่ยากลำบากมาก เหมือนกับธุรกิจก่อสร้าง คนเขาบอกว่าดี แต่ดีเฉพาะพวกค้าวัสดุก่อสร้างนะ แต่คนรับเหมาอะไรแบบนั้นอาจจะไม่ดีก็ได้เพราะรายจ่ายเยอะ ทำแล้วขาดทุน ประมาณนั้น ต้องแยกให้ชัด ต้องลงลึกในรายละเอียด

 

ขอบคุณแหล่งข้อมูล : รายการ Business Model ช่อง Money Channel

 


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง