ทุกวันนี้ DW เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากขึ้นในหมู่ชาวเรานักเก็งกำไรนะครับ
หากเรามีทักษะในการคาดการทิศทางได้ดีในระดับหนึ่ง
มีการวางแผนการเทรดอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว และ
มีวินัยในการทำตามแผน ในระดับที่ดีพอสมควรแล้ว
DW นี่จะตอบโจทย์ ช่วยเป็นตัวเร่งผลตอบแทนของพอร์ทผ่าน LEVERAGE ได้สูงในระดับ 2.5 - 5 เท่าตัวเลยนะครับ
ใครที่ฟังแล้วเริ่มสนใจขึ้นมาแล้ว ลองตามมาดูกันครับ
วันนี้ "เทคนิค DW" มาเสนอหัวข้อ
รูปภาพจาก SET
" ก่อนซื้อ DW สักตัว ต้องเตรียมอะไรบ้าง "
1. แน่นอนเลยครับอย่างแรก คือ ต้องเตรียมเงินให้พร้อมในพอร์ทหุ้นก่อนซิครับ แหม่ !!
2. เลือกหุ้นที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นที่อยู่ในกระแส หุ้นวอลุ่มเข้า หุ้นที่กราฟทรงดี เบรคไฮ พักตัว ก็ว่ากันไป หรือ จะแอบไปรู้ข่าวดี แกะงบมา ลุ้นสตอรี่ใหม่ๆมาขับเคลื่อนตัวหุ้น เราก็เอามาเก็บไว้เป็นแพลนในการเลือกหุ้นที่เราสนใจได้ทั้งนั้นเลยครับ
3. พอเราได้หุ้นตัวที่เราสนใจมาแล้ว และ ทีนี้เราไปเปิดโปรแกรม LINE เลยครับ
จากนั้นไปกด เพิ่มเพื่อน และแอดไอดีนี้ให้ไวเลยครับ
@SCAN_DW
4. เรากดเข้าไปหา "เทคนิค DW" เลยครับ
สมมติเราสนใจหุ้นตัวไหน เราพิมพ์ชื่อหุ้นตัวนั้นลงไปได้เลย
จากนั้นระบบอัตโนมัติของ เทคนิค DW จะส่งตาราง PRICE MAP ที่บอกความเคลื่อนไหวของหุ้นแม่ เทียบกับตัว DW มาให้เรา
5. หน้าตาของตาราง PRICE MAP จะเป็นเหมือนในรูปในอัลบั้มเลยครับ
โดยหัวข้อที่เราต้องสนใจหลักๆเลย
สำหรับนักเก็งกำไรก็คือค่า EFFECTIVE GEARING / SENSITIVITY / IMPLIED VOLATILITY นั่นเองครับ
6. EFFECTIVE GEARING
ความหมายของค่านี้ก็คือ หุ้นแม่ขึ้น 1% ตัว DW จะขึ้นตามไปกี่ %
จากตัวอย่างนี้ ถ้าหุ้น PTT ขึ้น 1.00%
PTT08C1610A จะขึ้นไป 3.70%
แปลได้ว่า DW ตัวนี้มี อัตราเร่ง LEVERAGE ที่ 3.70 เท่า นั่นเองครับ
นักเก็งกำไรจะชอบมากถ้าตัวเลขนี้ อยู่ในระดับ 3-4 เท่า ดังนั้นเราก็อย่าลืมเช็คค่านี้กันทุกครั้งด้วยหละ
7. SENSITIVITY
ความหมายของค่านี้ คือ หุ้นแม่ขึ้น 1 ช่อง DW จะขึ้นตามที่ช่อง
ถ้าค่า SENS = 1 พอดี
หุ้นแม่ขึ้น 1 ช่อง ตัว DW ก็จะขยับตาม 1 ช่องเป้ะเลย
ถ้าค่า SENS <1 สมมติว่าเป็น 0.5
หุ้นแม่ขึ้น 1 ช่อง ตัว DW จะขึ้น 0.5 ช่อง
นั่นเท่ากับว่าหุ่้นแม่ต้องขึ้น 2 ช่อง DW ก็จะขึ้นตามไปด้วย 1 ช่องนั่นเอง
ถ้าค่า SENS >1 สมมติว่าเป็น 2.0
หุ้นแม่ขึ้น 1 ช่อง ตัว DW จะขึ้น 2 ช่อง
แบบนี้ นักเก็งกำไรสายชอบความแรงจะชอบมากครับ
จากตัวอย่างในรูปเรา SENSITIVITY เท่ากับ 1 พอดี แบบนี้ตรงตัวเลยครับ แม่ขึ้น 1ช่อง DWตามไป 1 ช่องด้วยเลย
8. IMPLIED VOLATILITY
ค่านี้จะบอกถึงความถูกแพงของ DW
โดยเปรียบเทียบกับ DW ที่มีหุ้นอ้างอิงเดียวกัน.. แต่มีวันหมดอายุ, ราคาใช้สิทธิ, และอัตราใช้สิทธิต่างกัน..
ถ้าเราคิดจะถือ DW นานหน่อย จะรันเทรนด์ไปพร้อมหุ้นแม่ เราก็ควรเลือก DW ที่มีค่านี้น้อยๆ เราจะได้สามารถถือ DW ได้นานโดยไม่เสีย Time decay เยอะเกินไปนั่นเอง
* ค่าน้อย หรือ เยอะเกิดจากการเปรียบเทียบ DW ของทุกค่ายที่ออกมา ยิ่งค่ายไหนมีค่านี้น้อย ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดีนั่นเอง
โดยเราสามารถเช็คค่านี้ของค่ายที่มีสภาพคล่องของ DW ในระดับที่ดีโดยการ
พิมพ์ COMPARE + ชื่อหุ้น
เช่น COMPARE PTT เราก็จะได้ตารางเปรียบเทียบของแต่ละค่ายออกมา สำหรับวางแผนเลือกนั่นเอง
9. พอเราได้ตัวเลือกของ DW มาแล้ว เราก็มากำหนดจุดเข้า ให้พร้อมว่าเราจะเข้าแบบไหน
เข้าตอนหุ้นเบรคไฮ หรือเข้าตอนพักตัว
จากนั้นก็มาประกบกับตาราง PRICE MAP เพื่อดูว่า ณ ราคาของหุ้นแม่ที่เราจะเข้า เทียบกับราคา DW แล้ว ราคาของ DW ที่เราควรเข้าควรจะอยู่ที่เท่าไร
รวมถึงเตรียมตัวหาจุดออกด้วยวิธีการเช่นเดียวกับจุดเข้านั่นเองครับ
รูปภาพจาก SET
10. ติดตามสถานะ DW ของเรา
ถ้าเราเป็นสายเก็งกำไร ก็ดูว่าถึงจุดที่ต้องขายหรือยัง
ถ้าหากเราจะเอา DW มาถึงรันเทรนด์ควบคู่ไปกับหุ้นแม่ เราก็เปิดตาราง PRICE MAP เช็คทุกวันว่าเราจะมีการปรับแผนตามไปในแต่ละวันหรือไม่ เพราะตัว PRICE MAP เองก็จะอัพเดทราคาให้ 1 อาทิตย์ล่วงหน้าอยู่แล้วครับ
ที่เหลือเราก็แค่ทำตามแผนที่วางเอาไว้เท่านั้นเอง
11. ติดตาม ติดตาม ติดตาม
ถ้าเผอิญไม่ว่างพอดี ก็โทรฝากมาร์ช่วยดูด้วยอีกแรงได้เลย ลุย ลุย ลุย
12. ผิดทางอย่าลืมหาทางหนี ด้วยนะครับ
DW มีอัตราเร่งช่วยเร่งให้พอร์ทโตได้ไว
แต่ถ้าหากผิดทางแล้วปล่อยเอาไว้นานเกินไป ก็จะเป็นการทำร้ายพอร์ท ทำร้ายตัวเองเหมือนกันนะครับ
13. ถ้าถูกทางนี่ก็ เฮ กันหนักมาก
ทีแรกอยากมาเล่นเก็งกำไร แต่พอถูกทาง จะปรับแผนไปในทิศทางรันเทรนด์ เราก็มาเช็คดูว่า อายุคงเหลือ DW เอื้อให้ทำได้มั้ย
แต่ถึงยังไง กำไร ก็คงไม่ทำร้ายใครหรอกครับ ดูแลตัวเองกันได้สบายอยู่แล้ว
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : เพจ เทคนิค DW