การนำความรู้เทคนิคอล มาใช้ในการซื้อขายหุ้น การมีราคาขายทิ้ง หรือ Stop Loss ในทุกครั้งที่เตรียมตัวจะซื้อหุ้น เป็นเรื่องจำเป็น ที่จะขาดไม่ได้เลย แต่วิธีการกำหนด ว่า ราคาไหน ควรจะใช้เป็น Stop Loss กลับกลายเป็นปัญหาคาใจ ของใครหลายๆ คน ..
ทำไม จะไม่เป็นปัญหา พอบอกว่า จะซื้อ 20 บาท Stop 19 บาท ... แล้วก็ซื้อไป 20 บาท ตอนเช้า พอเปิดบ่ายมา ราคาไหลลงมา ที่ 19 บาท เหมือนจะลองใจกันเลย ว่า ... "เอายังไง ... ตั้งใจแล้วแล้วนี่ จะ Stop ขายทิ้งไหมล่ะ ... หุหุ ...!!! "
แล้วพอตั้งขาย ตลาดก็ให้สิทธิ์ นั้นทันที .... Match 19.0 แล้วราคา ก็ขยับ 19.0 .... 19.10 ..... 19.20 ... 19.30 ... 19.40 ... ขึ้นไป ปิดตลาดที่ 19.80 .... เป็นไง ช้ำใจไหมล่ะ ....
แล้วคำถาม สุดฮิต ก็ถาโถม เข้ามา .... ทำไม ล่ะ ... ทำไม ...เป็นเยี่ยงนี้
"... พี่ปุยครับ ... เวลาตั้ง Stop Loss แล้วราคามันลงมาที่ Stop เราต้องรอให้จบวันดูราคาปิดก่อน หรือ ขายเลย ล่ะครับ ... "
ถ้าเจอคำถามแบบนี้ เป็นเมื่อก่อนตอบอธิบายกัน ยาวเหยียดเลย ต้องดู Volume Buy/Sell ยังไง ตั้ง Buffer แนว Stop Loss ไว้กี่ช่อง ... ตอนนี้เหรอ ตอบง่ายครับ ...หยิบ หนังสือ โต้คลื่นหุ้น...เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า มาเปิดหน้า 64 อ่านเลย ครับ ..อธิบายไว้ละเอียดเชียว (ฮ่าๆๆ ... ขายของตลอด)
แต่ใครจะรู้ล่ะว่า ที่จริงแล้ว วิธีการวาง Stop Loss แบบเทคนิคอล มันไม่ได้มีแบบเดียว มีอย่างน้อยที่ผมใช้ หรือเคยใช้ บ่อยๆ ก็ยังมี ตั้ง 8 แบบ
ตั้ง 8 แบบ เชียวรึ .... น่าสนใจละสิ ... มีอะไร บ้าง มาฟังกันแบบสรุปก่อนนะ จะได้รู้ Concept ของแต่ละแบบ
แบบแรก : Initial Stop หรือ Breakout Pyramid
เป็นวิธีการ ง่ายๆ ที่ใช้กับ การวาง Stop Loss ในเวลาที่ราคาหุ้น มีการ Break Out แนวรับหรือแนวต้าน หรือ เวลาที่ราคาหุ้น Break Out ออกจากการพักตัว วิ่งข้ามราคา High Price เราก็วาง Stop Loss ที่แนวราคาที่เป็นจุดกลับตัวของราคาล่าสุดก่อนการ Break out ก็ง่ายๆ แค่นี้เอง ... เนอะๆ!!!
แบบสอง : X-Bars Stop
แบบนี้ก็ตามชื่อเลย คือ ใช้จุด Low Price ของแท่งราคา ที่ถัดจากแท่งราคา ต่ำลงไป กว่าเดิมอีกกี่แท่ง ถ้าเอาต่ำกว่าลงไป 1 แท่งก็เรียกว่า 1-Bar Stop ถ้าเอาต่ำกว่าลงไป 2 แท่งก็เรียกว่า 2-Bar Stop หรือจะเอา 3 แท่ง เป็น 3-Bar Stop หรือใน หนังสือ โต้คลื่นหุ้น...เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า (อยู่ในคลื่น 16) จะเรียก 3-Bar Stop ว่า Safety Belt ลองไปอ่านกันดูนะครับ
แบบสาม : MA Stop
วิธีนี้เก็เป็นการใช้ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Line) ใช้เป็นแนวราคาในการ Stop
ใช้เส้น MA ก็ดีนั้น เส้นมันก็ขยับตามราคา ไปเรื่อยๆ ก็ง่ายดี ไม่ต้องกังวลมาก ราคาถอยลงมาหลุด เส้น MA ที่เราเลือกใช้เมื่อไหร่ ก็ขายทิ้ง
แต่ก็มีปัญหา อีกว่า แล้วใช้เส้นค่าเฉลี่ย เท่าไหร่ ดี .... อืม มันก็มีตั้งหลายแบบ บางคนก็ใช่ SMA (Simple Moving Average) ที่ 10 , 25 , 50 , 100 ก็มี หรือบางคน จะใช้ เส้น 5, 15, 35, 90 แบบที่ผม อธิบายไว้ใน หนังสือ โต้คลื่นหุ้น...เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า ที่เรียกว่า EMA Knights ก็ได้ หรือ ใครจะใช้ เส้นค่าเฉลี่ยแบบพิเศษ ที่เรียกว่า Alligator ซึ่งถูกคิดค้นโดย Dr. Bill Williams ในหนังสือ Trading Chaos ก็ได้ ไม่ว่ากันอยู่แล้ว
แบบที่สี่ : Resistant / Support Line
แบบนี้เกิดมาจากหลักการที่ว่า " เมื่อแนวรับ/แนวต้าน ถูกราคาทะลุผ่านได้ แนวรับจะกลายเป็นแนวต้าน หรือแนวต้านจะกลายเป็นแนวรับ "
ราคา Break out แนวต้านขึ้นไปได้แล้ว ไม่ควรจะถอยย้อนกลับลงมาใต้แนวต้านนั้น เราจึงใช้แนวต้านที่ราคาทะลุผ่านไปได้เป็น Stop Loss
การเลือกใช้ Stop Loss ให้เหมาะสมกับ สินค้าที่เทรด เหมาะสมกับสไตล์ของตนเอง หรือเหมาะกับ Trade Setup ของตนเอง จึงต้องเลือกใช้ให้เป็น ซึ่งความรู้ในการใช้ Stop Loss แต่ละแบบ ก็สามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เอาได้ จะใน Google หรือ YouTube หรือถ้าใครอยากจะรู้ อยากจะเรียน ก็บอกได้ว่า ผมสอนวิธีการใช้ Stop Loss ทั้งหมดนี้ อยู่ใน อบรม เทคนิคอล ที่จัดที่ Stock2morrow.com ใน 3 คอร์สหลัก