#ลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐาน

ปีเตอร์ ลินซ์ ทำอย่างไรให้เหนือกว่าวอลสตรีท (ตอนที่3)

โดย stock2morrow
เผยแพร่:
110 views

ติดอ่านตอนแรกได้ที่ http://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=787

ติดตามอ่านตอนสองได้ที่ http://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=788

ทีมงาน : การเติบโตของกองทุนแมกเจลแลนในปี 80 เหมือนเป็นลำดับเหตุการณ์อะไรบางอย่างนะครับ ? 


ปีเตอร์ ลินซ์ : ใช่ครับ ในปี 1982 มันยังเป็นกองทุนที่ไม่ใหญ่มากนะ แต่ช่วงปี 1980-1980 ตลาดหุ้นมันก็เริ่มฟอร์มตัวเป็นกระทิง น่าเสียดายตรงที่ว่ายังไม่มีใครรู้ หุ้นมันก็เริ่มวิ่งขึ้นไป นักลงทุนส่วนใหญ่ก็ได้แต่มองดูแล้วก็คิดว่ามันน่าจะลงในอีกไม่ช้า มันก็วิ่งขึ้นเรื่อยๆครับ ผมจำได้ว่าช่วงเดือนเมษายน ปี 1983 ขนาดของกองทุนใหญ่ขึ้นแตะระดับพันล้าน

ผมจำได้ครับเพราะผมรู้สึกว่าเลขศูนย์ต่อท้ายนี้มันมีเยอะมากเหมือนเป็นรหัสลับเวทมนต์อะไรซักอย่าง .. นักลงทุนรายย่อยเริ่มเข้ามาตลาดหุ้นมากขึ้นเรื่อยๆ แต่รายย่อยเหล่านั้นเขาก็ใช้เงินน้อยๆนะ ไม่ได้เยอะระดับ 2-3 ล้านเหรียญ แต่เนื่องจากว่ามีคนเข้ามาเป็นหมื่น สองหมื่นคน เงินมันก็เลยดูใหญ่ 

ทีมงาน : คุณก็เลยกลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงไปด้วยเลย


ปีเตอร์ ลินซ์ : ใช่ครับ ผมเป็นคนที่ไม่ค่อยดูโทรทัศน์มากนัก แต่ภรรยาของผมเขาดูอยู่บ่อยครับ คนข้างบ้านเริ่มเข้ามาพูดคุยกับครอบครัวเรามากขึ้น ถามว่าสามีของคุณทำงานอยู่ในกองทุนแมกเจลแลนที่มีชื่อเสียง

น่าจะแนะนำการลงทุนให้พวกเขาด้วย ในอดีต นิตยสารหรือว่ารายการโทรทัศน์ก็ไม่ค่อยพูดเกี่ยวกับเรื่องกองทุนมากนัก ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์วอลสตรีทเจอร์นัล บาร์รอน หรือแม้แต่นิวยอร์คทาร์มก็มักจะพูดถึงหุ้นอยู่บ่อยๆ แต่ไม่ได้พูดเกี่ยวกับกองทุนรวม

ปัจจุบันนี้ในวอลสตรีทเจอร์นัลมีนักข่าวที่รายงานเรื่องอุตสาหกรรมกองทุนรวมแบบเกาะติดและเต็มเวลา ยุคสมัยมันต่างกันมากจริงๆ หรือแม้แต่ในนิตยสารฟอร์บหรือฟอร์จูน ก็มีคอลัมน์กองทุนรวมด้วยเช่นกัน



ทีมงาน : เพราะอะไรถึงเป็นแบบนั้นครับ


ปีเตอร์ ลินซ์ : ผมคิดว่าเมื่อก่อนคนฝากความหวังไว้กับพวกกองทุนบำนาญมากจนเกินไปครับ พวกเขาตั้งหน้าตั้งตาทำงานแล้วหักเงินส่วนหนึ่งเพื่อเข้ากองทุนบำนาญหวังเอาไว้ว่าตอนพวกเขาเกษียณ เงินเหล่านั้นจะกลับมาเลี้ยงพวกเขา อาจจะ 50% จากที่เขาเคยได้ แต่เดียวนี้ไม่ใช้แบบนั้น

คนนิยมทำงานบริษัทเอกชนมากขึ้นซึ่งบริษัทเอกชนไม่มีการให้บำเหน็ดบำนาญกับพนักงาน ทำให้คนต้องมีการวางแผนการเงินมากขึ้น มีความ"ปลอดภัยทางการเงินมากขึ้น" แต่ใช่ว่าทุกคนจะมีความรู้ทางการลงทุน อุตสาหกรรมกองทุนรวมจึงตอบโจทย์

ทีมงาน : นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งให้คุณประสบความสำเร็จใช่ไหมครับ คือ พวกสื่อ หนังสือพิมพ์เริ่มมีการเปรียบเทียบแต่ละกองทุนรวมอย่างระมัดระวัง


ปีเตอร์ ลินซ์ : ใช่ครับ การแข่งขันจะนำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น ในการบริหารกองทุนรวม เมื่อตลาดหุ้นโดยรวมเป็นขาลง หุ้นทุกตัวก็ต้องลงตาม แต่ผู้จัดการกองทุนที่มีประสบการณ์จะมองหาว่า หุ้นตัวไหนเป็นหุ้นที่มีโอกาส

ในขณะเดียวกันเมื่อตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น หุ้นที่คุณหามันจะวิ่งทำเงินให้กับผู้ถือหน่วยได้มากเท่าไร จุดตัดสิน คือ คุณทำเงินได้กี่เปอร์เซนต์จากตลาดหุ้นในแต่ละปี การกล่าวชมจากผู้ถือหน่วย หรือการพูดปากต่อปากในด้านดี ในมุมของผู้บริหารกองทุนถือว่าประสบความสำเร็จแล้วครับ

ทีมงาน : ถ้าผมใส่เงิน 1 พันเหรียญให้กับกองทุนแมกเจนแลยในวันที่คุณบริหาร สุดท้ายแล้วตอนที่คุณลาออก ผมจะมีเงินอยู่เท่าไรครับ 


ปีเตอร์ ลินซ์ : สิ่งที่คุณพูด มันก็มีเหตุการณ์จริงเหมือนกันนะ .. ถ้าคุณใส่เงินมาหนึ่งพันดอล์ล่าร์ในวันที่ 31 พฤษภาคม 1977 เมื่อสิ้นปี 1990 คุณจะมีเงินประมาณ 28,000 เหรียญ ครับ ในระยะเวลา 13 ปี

ทีมงาน : เรามาพูดถึงสิ่งที่เปลี่ยนแปลงในช่วงปี 1986 - 1987 กันบ้างครับ


ปีเตอร์ ลินซ์ : เท่าที่ผมจำได้ ตอนนั้นมันก็เป็นงานธรรมดาที่ไม่ได้มีหน้ามีตาในสังคมมากนักเท่ากับปัจจุบันนี้ครับ ถ้าผมบอกคุณว่า ผมทำงานในธุรกิจบริหารเงินลงทุน เขาก็จะตอบว่า "โอ้ว มันน่าสนใจมากนะ ...

คุณคิดยังไงเกี่ยวกับทีมบาสเก็ตบอลเซลติก" ผมหมายถึง เขาจะเปลี่ยนหัวข้อสนทนาไปเลย หรือไม่ก็จะบอกว่า "เยี่ยมยอดมาก ลูกของคุณไปโรงเรียนแล้วหรือยัง" อะไรประมาณนั้น แต่ถ้าผมบอกไปว่า ผมเป็นผู้คุมนักโทษในเรือนจำ พวกเขาก็จะบอกว่า "เป็นอาชีพที่น่าสนใจจริงๆ นักโทษแต่ละคนดุร้ายมากมาย พวกเขาทำอะไรผิด

ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาจะทำอะไรระหว่างอยู่ในคุก" แล้วก็จะตามมาด้วยหัวข้อสนทนาเกี่ยวกับอาชีพนั้น แต่คงไม่ใช่กับอุตสาหกรรมกองทุนรวมบรรยากาศในยุค 60 - 70 จะเป็นแบบนั้น

ตอนตลาดหุ้นเริ่มกลับมาร้อนแรงอีกครั้ง ถ้าผมบอกว่า "ผมเป็นผู้จัดการกองทุน" พวกเขาจะแสดงความตื่นเต้นแล้วบอกว่ามันน่าสนใจมาก มีหุ้นตัวไหนที่คุณซื้อแล้วบ้าง ผมจะได้ซื้อตาม แต่พอตลาดขึ้นไปทำจุดสูงสุดในช่วงปี 80 ผมไปที่งานปาร์ตี้อีกครั้ง ทุกคนต่างก็พูดคุยเกี่ยวกับหุ้น

มีคนถามผมว่าผมทำอะไร ผมเป็นผู้จัดการกองทุนรวม พวกเขาก็จะบอกว่าหุ้นตัวไหนบ้างที่ผมควรซื้อ (หัวเราะ) มันเป็นประสบการณ์ที่แปลกประหลาดมาก ผมก็จำชื่อหุ้นเหล่านั้น พอสิ้นเดือนก็เปิดไปดูตารางสรุปราคาหุ้น ปรากฏว่าหุ้นเหล่านั้นมันก็วิ่งขึ้นมาจริงๆ จากประสบการณ์ของผม ตลาดหุ้นมันเป็นเรื่องของวัฐจักร 

วอเร็น บัฟเฟตต์พูดเอาไว้ว่า "What the wise do in the beginning, fools do in the end.(คนฉลาดจะเป็นคนเริ่มต้น คนโง่จะเป็นคนจบมันในท้ายที่สุด)" ตลาดหุ้นจะเริ่มต้นจากความหดหู่ ไม่มีใครพูดถึงเรื่องหุ้น ทุกคนเกลียดมัน พอตลาดหุ้นเริ่มขึ้น ก็จะมีคนมาถามว่ามีหุ้นตัวไหนที่พวกเขาควรซื้อ

แต่พอตลาดกำลังจะจบรอบ คนทุกคนก็มาแนะนำผมว่าหุ้นตัวไหนที่ผมควรซื้อ สุดท้ายมันก็จะจบลงตรงคำว่าตลาดถล่มลงมาอย่างหนักเหมือนในปี 1987

 

-------------- จบตอน 3 --------------

แปลและเรียบเรียงโดย  SiTh LoRd PaCk

 

ปุกาศๆ... ถึงเพื่อนๆเหล่าหนอนหนังสือ วันที่รอคอยมาถึงแล้ว

งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ 

13-24 ตุลาคม ศูนย์ประชุมสิริกิติ์

งานนี้ไม่ได้มีแค่ส่วนลด 15-35% แต่มีของแถมเพียบ!

เจอกันที่บูธ stock2morrow หมายเลข K16 

 


ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

FacebookInstagramYoutubeLine

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง